เข้าสู้สัปดาห์ที่สามของเดือนกันยายนกันแล้ว ซึ่งเดือนนี้พฤติกรรมในตลาดลงทุนก็เป็นไปตามสิ่งที่เดือนกันยายนมักจะเป็น นั่นคือการเป็นเดือนที่ตลาดลงทุนมีปริมาณซื้อขายน้อย แต่สิ่งที่ทำให้สัปดาห์นี้น่าสนใจมากกว่าสัปดาห์อื่นๆ ของเดือนกันยายนคือการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (FOMC) ของสหรัฐอเมริกา ที่ทำให้ทุกคนต้องกลับมาลุ้นกันอีกครั้งว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ จะเริ่มปรับลดวงเงินในโครงการซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) แล้วหรือไม่
ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม เดือนกันยายนก็เป็นเดือนที่ดัชนีหลักของสหรัฐฯ ล้วนแล้วแต่อยู่ในแนวโน้มขาลง เอสแอนด์พี 500 ปรับตัวลดลง 0.6% ดาวโจนส์ปรับตัวลดลง 0.1% และดัชนีเทคโนโลยีแนสแด็กปรับตัวลดลง 0.5%
หลังจากใช้มาตรการ QE มานานสิบแปดเดือน ธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือว่าเฟดได้ระบุว่าพร้อมที่จะลดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและพิจารณาปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ความเป็นไปได้ในการดำเนินนโยบายทางการเงินทั้งสองกลายเป็นเรื่องราวที่ถูกสร้างให้ใหญ่โตมากขึ้นเรื่อยๆ หลังจากที่ธนาคารกลางและรัฐบาลสหรัฐฯ แจกเงินง่ายๆ มาเป็นระยะเวลายาวนาน จึงไม่แปลกใจที่การประกาศแต่ละครั้งอาจดูตื่นเต้นมากพอที่จะสร้างคลื่นลูกใหญ่ในตลาดการเงินได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเดือนกันยายนที่แสนจะซบเซา
จากความเป็นไปได้ทั้งหมดนั้น หลายบริษัทจึงได้แจ้งให้กับผู้ถือหุ้นได้เตรียมตัวเตรียมใจรับรายงานผลประกอบการที่อาจจะมีกำไรลดลง ซึ่งในสัปดาห์นี้จะเป็นคิวรายงานผลประกอบการของบริษัทผู้ผลิตวัสดุสำหรับก่อสร้างอย่างเช่น พีพีจี อินดัสทรี่ (NYSE:PPG) และเชอร์วิน วิลเลียม (NYSE:SHW) นักลงทุนต้องไม่ลืมว่าเรายังคงอยู่ในพายุซัพพลายเชนขาดแคลน และการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 แม้ว่ากลุ่มวัสดุก่อสร้างจะเป็นกลุ่มหุ้นเล็กๆ บนดัชนีเอสแอนด์พี 500 แต่พวกเขากลับมีความเชื่อมโยงทางธุรกิจกับอีกสิบกลุ่มที่กินสัดส่วนอย่างมีนัยสำคัญบนเอสแอนด๊พี 500
เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา หุ้นกลุ่มวัสดุก่อสร้างและอุตสาหกรรมปรับตัวลดลง 2.1% และ 1.1% ตามลำดับ เมื่อพิจารณาภาพรวมของสัปดาห์ที่แล้ว ยิ่งเห็นว่าหุ้นกลุ่มวัสดุก่อสร้างปรับตัวลดลง 3.2% ในขณะที่กลุ่มอุตสาหกรรมปรับตัวลดลง 1.6% และยิ่งถ้าได้พิจารณากราฟแบบรายเดือนจะเห็นว่ากลุ่มวัสดุก่อสร้างร่วงลงมาแล้ว 4.4% และกลุ่มอุตสาหกรรมปรับตัวลดลงมา 3.5% จากผลงานในรอบสามเดือนล่าสุด หุ้นทั้งสองกลุ่มสร้างขาลง 0.9% และ 0.6% มีเพียงหุ้นกลุ่มพลังงานเท่านั้นที่ปิดติดลบเป็นเพื่อน
แต่สิ่งที่ทำให้ดัชนีเอสแอนด์พี 500 ปรับตัวลดลงไม่ได้มีแต่เฉพาะผลงานของหุ้นทั้งสามกลุ่มนี้เท่านั้น แต่ขาลง 0.9% เกิดขึ้นจากสัญญาซื้อขายในตลาดออปชั่นและฟิวเจอร์สรายไตรมาสหมดอายุสัญญา ซึ่งขาลงครั้งนี้มากพอที่จะส่งเอสแอนด์พี 500 ลงไปวิ่งต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ย 50 วันได้เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนมิถุนายน
เหตุการณ์นี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับเอสแอนด์พี 500 เท่านั้น แต่ดัชนีอื่นๆ อย่างเช่นแนสแด็ก 100 ก็ปรับตัวลดลงด้วยเช่นกัน ทั้งๆ ที่ปกติแล้วดัชนีตัวนี้มักจะชอบวิ่งส่วนทางกับเอสแอนด์พี 500 และดัชนีดาวโจนส์ เมื่อวันศุกร์ที่แล้วแนสแด็ก 100 สร้างขาลงมากถึง 1.2% ถือเป็นขาลงมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม โชคยังดีที่ขาลงดังกล่าวยังไม่หลุดแนวรับที่เส้นค่าเฉลี่ย 50 วัน
นอกจากการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ รายงานผลประกอบการของบริษัทยักษ์ใหญ่ก็สมควรแก่การเหลียวมองจากนักลงทุน วันนี้จะมีการรายงานผลประกอบการของบริษัท เลนนาร์ (NYSE:LEN) ส่วนวันพรุ่งนี้จะมีรายงานของบริษ้ทเฟ็ดเอ็กซ์ (NYSE:FDX) และอาโดบี (NASDAQ:ADBE) นักวิเคราะห์คาดว่าการรายงานผลประกอบการของอาโดบีไม่มีอะไรน่าเป็นห่วง การกลับมาทำงานที่ออฟฟิศได้ตามปกติจะยิ่งทำให้ความต้องการผลิตภัณฑ์จากอาโดบีมีมากขึ้น ในทางกลับกัน การรายงานผลประกอบการของเฟ็ดเอ็กซ์น่าเป็นห่วงมากกว่า เพราะการขนส่งยังต้องเผชิญความเสี่ยงที่จะล่าช้าจากการระบาดโควิด
ความกังวลดังกล่าวได้สะท้อนออกมาผ่านราคาหุ้นของเฟ็ดเอ็กซ์ ที่ปรับตัวลดลงตั้งแต่ก่อนการรายงานผลประกอบการ การที่เส้นค่าเฉลี่ย 50 วันตัดเส้นค่าเฉลี่ย 200 วันลงมา แสดงให้เห็นว่ากราฟหุ้นของเฟ็ดเอ็กซ์อาจจะผ่านจุดสูงสุดไปแล้วจริงๆ
นอกจากสามบริษัทที่เราได้กล่าวถึงไป ในวันพฤหัสบดีจะมีรายงานผลประกอบการของบริษัทคอสโก (NASDAQ:COST) ไนกี้ (NYSE:NKE) ร้านอาหารดาร์เดน (NYSE:DRI) และเดล (NYSE:DELL) เราไม่แน่ใจว่าต่อให้บริษัททั้งหมดจะรายงานผลประกอบการออกมาดี จะสามารถช่วยพาดัชนีหลักกลับขึ้นมาได้หรือไม่ แต่ที่มั่นใจก็คือถ้าออกมาเป็นลบ มีโอกาสที่ตลาดหุ้นจะปรับตัวลดลงได้มากกว่า
การประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ ในวันพุธนี้ สิ่งที่นักลงทุนอยากทราบคือนายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานเฟดจะทำให้นักลงทุนคลายความกังวลลงได้อย่างไรหากว่ายังไม่ยอมประกาศวันเวลาที่จะลด QE อย่างชัดเจน? เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา เจอโรม พาวเวล์ พูดถึงความเป็นไปได้ในการลด QE ผ่านเว็บแคสสั้นๆ ว่า “ขึ้นอยู่กับความสามารถในการฟื้นตัวจากวิกฤตโรคระบาด”
กราฟอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปีปรับตัวลดลงเป็นวันที่สามติดต่อกันในวันศุกร์ที่ผ่านมาตามดัชนีเอสแอนด์พี 500
สถานการณ์ของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรฯ อายุ 10 ปีนับวันก็ยิ่งน่าสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ สัปดาห์ที่แล้วกราฟสามารถขึ้นไปทดสอบบริเวณด้านบนของกรอบสามเหลี่ยมได้ และเราใกล้ที่จะได้เห็นการระเบิดของการพักฐานครั้งนี้แล้ว
ขาขึ้นของอัตราผลตอบแทนฯ ส่งให้ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเป็นวันที่สองติดต่อกัน
อย่างไรก็ตาม ขาขึ้นของดัชนีดอลลาร์สหรัฐต้องเผชิญกับแนวต้านที่เป็นบริเวณเดียวกับที่ที่กราฟกำลังสร้างไหล่ขวา ของรูปแบบหัวไหล่ (Head & Shoulder) หากกราฟสามารถขึ้นยืนเหนือ 93.47 จุดได้ การสร้างรูปแบบหัวไหล่จะกลายเป็นโมฆะทันที
เช่นเคย เมื่อดอลลาร์แข็งค่า ทองคำก็ต้องอ่อนตัว ขาลงครั้งนี้เป็นขาลงสามวันติดต่อกันแล้ว
แนวรับที่ราคาทองคำติดอยู่ในตอนนี้ถือเป็นจุดที่น่าสนใจอย่างยิ่ง เพราะเป็นบริเวณไหล่ขวาของรูปแบบหัวไหล่ด้านหงาย (Inverted Head & Shoulder) ถ้าแนวรับนี้รั้งไม่อยู่ เตรียมเห็นราคาทองคำที่แนวรับ $1,700 ได้เลย
ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลงหลังจากมีข่าวว่าบริษัทผู้ผลิตน้ำมันที่บริเวณกัลฟ์โคสท์เริ่มจะกลับมาผลิตน้ำมันได้อีกครั้ง หลังจากต้องผ่านพายุเฮอริเคนไอดาและนิโคลัส
ขาลงเมื่อวันศุกร์ดูเหมือนจะเป็นการสร้างรูปแบบดาวตก (Evening Star) ที่เสร็จแล้ว แต่เพราะการวิ่งขึ้นมาจนหลุดกรอบขาลงใหญ่ขึ้นมาได้ จึงยังมีความเป็นไปได้ที่ราคาจะเปลี่ยนเป้นขาขึ้นมากกว่าลง ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับว่าแนวรับ $70 ต่อบาร์เรลจะสามารถหยุงราคาเอาไว้ได้หรือไม่
ข่าวเศรษฐกิจสำคัญประจำสัปดาห์นี้ (เวลาทั้งหมดคำนวณเป็น EDT)
วันจันทร์
21:30 (ออสเตรเลีย) รายงานการประชุมของธนาคารกลาง
วันอังคาร
08:30 (สหรัฐฯ) รายงานตัวเลขการอนุญาตก่อสร้าง: คาดว่าจะลดลงจาก 1.630M เป็น 1.600M
23:00 (ญี่ปุ่น) การประชุมของธนาคารกลาง: คาดว่าจะคงที่ -0.10%
วันพุธ
10:00 (สหรัฐฯ) รายงานตัวเลขยอดขายที่อยู่อาศัยมือสอง: คาดว่าจะลดลงจาก 5.99M เป็น 5.88M
10:30 (สหรัฐฯ) รายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลัง: ตัวเลขครั้งก่อนออกมาลดลง -6.422M
14:00 (สหรัฐฯ) การประชุมของธนาคารกลาง: คาดว่าจะคงอัตราดอกเบี้ยเอาไว้ที่ 0.25%
วันพฤหัสบดี
03:30 (สวิตเซอร์แลนด์) การประชุมของธนาคารกลาง: คาดว่าจะคงอัตราดอกเบี้ยเอาไว้ที่ -0.75%
04:30 (สหราชอาณาจักร) ดัชนี PMI ภาคการผลิต: คาดว่าจะลดลงจาก 60.3 จุดเป็น 59.0 จุด
07:00 (สหราชอาณาจักร) การประชุมของธนาคารกลาง: คาดว่าจะคงอัตราดอกเบี้ยเอาไว้ที่ 0.10%
08:30 (สหรัฐฯ) รายงานตัวเลขจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรก: คาดว่าจะลดลงจาก 332K เป็น 320K
08:30 (แคนาดา) รายงานตัวเลขยอดค้าปลีกพื้นฐาน: คาดว่าจะลดลงจาก 4.2% เป็น -1.7%
วันศุกร์
04:00 (เยอรมัน) ดัชนีความเชื่อมั่นในภาคธุรกิจจาก Ifo: คาดว่าจะลดลงจาก 99.4 จุดเป็น 98.9 จุด
10:00 (สหรัฐฯ) รายงานตัวเลขยอดขายที่อยู่อาศัยใหม่: คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก 708K เป็น 713K