บทวิเคราะห์ราคาทองคำ ภาคเช้า ราคาทิ้งตัวหลังดอลลาร์แข็งค่า

เผยแพร่ 19/07/2564 09:30
XAU/USD
-
USD/THB
-
GC
-

สรุปราคาทองคําวันศุกร์ที่ผ่านมาปิดปรับตัวลดลง 17.60 ดอลลาร์ต่อออนซ์ แม้ในช่วงเช้าของตลาดเอเชีย ราคาทองคําจะดีดตัวขึ้นทดสอบระดับสูงสุดบริเวณ 1,832 ดอลลาร์ต่อออนซ์ แต่ราคาทองคําไม่สามารถรักษาช่วงบวกไว้ได้ โดยเผชิญกับแรงขายทํากําไรอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ราคาทองคํายังได้รับแรงกดดันเพิ่มการเปิดเผย ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่ออกมาดีเกินคาด โดยเฉพาะยอดค้าปลีกของสหรัฐที่เพิ่มขึ้น 0.6% ในเดือนมิ.ย. โดยได้แรงหนุนจากอุปสงค์ที่แข็งแกร่งของผู้บริโภค สวนทางกับ ที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะลดลง 0.4% สถานการณ์ดังกล่าวหนุนดัชนีดอลลาร์ให้แข็งค่าขึ้น 0.16% แตะที่ 92.712 ในวันศุกร์ พร้อมปิดตลาดในสัปดาห์ที่ผ่านมาด้วยการ แข็งค่าขึ้น 0.60% ซึ่งส่งผลกดดันให้ราคาทองคําร่วงลงแรงพร้อมสร้างระดับต่ําสุดใหม่จากวันก่อนหน้าจนกระตุ้นแรงขายเพิ่มเติม นั่นทําให้ราคาทองคําร่วงลงต่อทดสอบ ระดับต่ําสุดในระหว่างวันบริเวณ 1,808.90 ดอลลาร์ต่อออนซ์ อย่างไรก็ดี ราคาทองคํายังสามารถปิดตลาดในแดนบวกเป็นสัปดาห์ที่ 4 ติดต่อกัน ด้านกองทุน SPDR ถือครองทองลดลง -5.82 ตันในวันศุกร์ สู่ระดับ 1,028.55 ตัน สะท้อนกระแสเงินทุนในเดือนก.ค.ที่เริ่มไหลออกจากกองทุน ETF ทองคําอีกครั้งหลังจากเกิดกระแสเงินทุน ไหลเข้า 2 เดือนติดต่อกัน สําหรับวันนี้ติดตามการเปิดเผยดัชนีตลาดที่อยู่อาศัยของสหรัฐจาก NAHB

หลังจากราคาทิ้งตัวลง แต่ก็มีแรงช้อนซื้อจนราคาฟื้นตัวขึ้น หากราคาสามารถยืนเหนือโซน 1,804-1,800 ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้ ระยะสั้นอาจทําให้เกิดแรงซื้อดันราคาขึ้นอีกครั้ง โดยประเมินแนวต้านบริเวณที่ 1,834- 1,839 ดอลลาร์ต่อออนซ์ แต่หากราคาไม่สามารถยืนเหนือโซนแนวต้านดังกล่าวได้อาจจะเห็นราคาแกว่งตัวออก ด้านข้างเพื่อสะสมแรงซื้ออีกครั้ง

คําแนะนํา หากราคาทองคําสามารถรักษาระดับยืน เหนือบริเวณ 1,804-1,800 ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้อย่าง แข็งแกร่ง สามารถรอขายทํากําไรบางส่วนหากไม่ผ่าน บริเวณแนวต้าน 1,834-1,839 ดอลลาร์ต่อออนซ์ แต่ถ้าฝ่า ไปได้ให้รอขายบริเวณแนวต้านถัดไป

(-) สหรัฐเผยยอดค้าปลีกเพิ่มขึ้นในเดือนมิ.ย. สวนทางคาดการณ์ กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ยอดค้าปลีกเพิ่มขึ้น 0.6% ในเดือนมิ.ย. สวนทางนักวิเคราะห์ที่คาดว่าลดลง 0.4% หลังจากดิ่งลง 1.7% ในเดือนพ.ค. ยอดค้าปลีกดีดตัวขึ้นในเดือนมิ.ย. โดยได้แรงหนุนจากอุปสงค์ที่แข็งแกร่งของ ผู้บริโภค ส่วนยอดค้าปลีกพื้นฐาน ซึ่งไม่รวมยอดขายรถยนต์ น้ํามัน วัสดุก่อสร้าง และอาหาร เพิ่มขึ้น 1.1% ในเดือนมิ.ย. หลังจากลดลง 1.4% ในเดือนพ.ค.

(-) ดอลล์แข็งค่า ขานรับยอดค้าปลีกสหรัฐแข็งแกร่งเกินคาด ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรา นิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (16 ก.ค.) โดยได้รับแรงหนุนจากการเปิดเผยข้อมูลยอดค้าปลีกของสหรัฐที่แข็งแกร่งเกินคาด ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความ เคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน เพิ่มขึ้น 0.07% แตะที่ 92.6904 เมื่อคืนนี้ ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงิน เป็นที่ระดับ 110.07 เยน จากระดับ 109.81 เยน และแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิสที่ระดับ 0.9195 ฟรังก์ จากระดับ 0.9180 ฟรังก์ แต่ดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดาที่ระดับ 1.2605 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.2608 ดอลลาร์แคนาดา ยูโรแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ ระดับ 1.1809 ดอลลาร์ จากระดับ 1.1806 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์อ่อนค่าลงแตะที่ระดับ 1.3768 ดอลลาร์ จากระดับ 1.3810 ดอลลาร์ และดอลลาร์ ออสเตรเลียอ่อนค่าลงสู่ระดับ 0.7400 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.7418 ดอลลาร์สหรัฐ

(+/-) สหรัฐเผยสต็อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจเพิ่มขึ้น 0.5% สอดคล้องคาดการณ์ กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า สต็อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจ เพิ่มขึ้น 0.5% ในเดือนพ.ค. เมื่อเทียบรายเดือน สอดคล้องกับการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ หลังจากเพิ่มขึ้น 0.1% ในเดือนเม.ย.

ดูกราฟราคาทองคำ SPOT XAU/USD

https://th.investing.com/currencies/xau-usd

กระทู้พูดคุยเกี่ยวกับราคาทองคำ SPOT

https://th.investing.com/currencies/xau-usd-commentary

บทความนี้จัดทำขึ้นโดย YLG Bullion International

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ 02-687-9888 กด 1 หรือเว็บไซต์ ylgbullion.co.th

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย