บทวิเคราะห์ราคาทองคำ ภาคค่ำ โควิดกลับมาอีกครั้ง กระตุ้นแรงซื้อทองคำ

เผยแพร่ 16/07/2564 17:25
XAU/USD
-
GC
-

สรุป เจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจําเทศมณฑลลอสแองเจลิส ประเทศสหรัฐอเมริกา ประกาศเตรียมบังคับให้ประชาชนทุกคนสวมหน้ากากอนามัยในสถานที่ สาธารณะเมื่ออยู่ภายในอาคารอีกครั้ง แม้จะได้รับการฉีดวัคซีนแล้วก็ตาม โดยคําสั่งจะเริ่มมีผลบังคับใช้ในเวลา 23:59 น. ตามเวลาท้องถิ่นของวันเสาร์ เนื่องจากยอดผู้ติดเชื้อโควิต-19 ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง กระทรวงสาธารณสุขประจําเทศมณฑลลอสแองเจลิสระบุว่า "เราพบผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้น 7 เท่า นับตั้งแต่กลับมาเปิดเศรษฐกิจอีกครั้งเมื่อวันที่ 15 มิ.ย." พร้อมเสริมว่า การแพร่ระบาดของโรคโควิต-19 ในชุมชนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจากระดับปานกลางสู่ ระดับสูง สะท้อนเศรษฐกิจสหรัฐอาจเผชิญอุปสรรคในการฟื้นตัวหลังจากนี้ เป็นปัจจัยกระตุ้นแรงซื้อทองคําเมื่อราคาอ่อนตัวลง สําหรับวันนี้ติดตามการเปิดเผย ยอดค้าปลีก, ตัวเลขสต็อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจ และคาดการณ์ความเชื่อมั่นผู้บริโภค จาก UoM แนะนําเข้าซื้อหากราคาทองคําไม่หลุดแนวรับ 1,820-1,812 ดอลลาร์ต่อออนซ์ โดยหากราคาทองคําทรงตัวเหนือแนวรับได้ราคาทองคําจะพยายามปรับตัวขึ้นทดสอบแนวต้านโซน 1,834-1,839 ดอลลาร์ต่อออนซ์

คําแนะนํา ระยะสั้นหากมีแรงดีดกลับ ราคาพยายามจะขึ้นไป ทดสอบแนวต้านระดับ 1,834-1,839 ดอลลาร์ต่อออนซ์ แต่หากไม่ สามารถยืนเหนือแนวต้านได้ อาจจะเกิดแรงขายสลับออกมาอีก ครั้ง ทั้งนี้ ประเมินแนวรับในโซน 1,820-1,812 ดอลลาร์ต่อออนซ์

(+) ลอสแองเจลิสเตรียมสั่งปชช.สวมหน้ากากอนามัยอีกครั้งเสาร์นี้ หลังผู้ติดเชื้อโควิดพุ่ง เจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจําเทศมณฑลลอสแองเจ ลิสประกาศเตรียมบังคับให้ประชาชนทุกคนสวมหน้ากากอนามัยในสถานที่สาธารณะเมื่ออยู่ภายในอาคารอีกครั้ง แม้จะได้รับการฉีดวัคซีนแล้วก็ตาม เนื่องจากยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รายงานระบุว่า คําสั่งบังคับสวมหน้ากากอนามัยจะเริ่มมีผลบังคับใช้ในเวลา 23:59 น. ตามเวลา ท้องถิ่นของวันเสาร์ โดยความเคลื่อนไหวดังกล่าวมีขึ้นหลังจากที่แคลิฟอร์เนียกลับมาเปิดเศรษฐกิจอีกครั้งโดยสมบูรณ์เมื่อวันที่ 15 มิ.ย. พร้อมการยกเลิก มาตรการควบคุมโรคเกือบทั้งหมดได้เพียง 1 เดือน ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าว บุคคลที่ได้รับการฉีดวัคซีนครบถ้วนแล้วจะไม่จําเป็นต้องสวมหน้ากากอนามัย ในสถานที่สาธารณะส่วนใหญ่ กระทรวงสาธารณสุขประจําเทศมณฑลลอสแองเจลิสระบุว่า “เราพบผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้น 7 เท่า นับตั้งแต่กลับมาเปิด เศรษฐกิจอีกครั้งเมื่อวันที่ 15 มิ.ย.” พร้อมเสริมว่า การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในชุมชนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจากระดับปานกลางสู่ระดับสูง เมื่อวันที่ 15 มิ.ย. เทศมณฑลลอสแองเจลิสรายงานพบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 210 ราย ซึ่งแตะระดับสูงที่สุดนับตั้งแต่กลางเดือนมี.ค. รวมยอดสะสมที่ 1,537 ราย ขณะที่อัตราการตรวจหาเชื้อที่เป็นบวกเพิ่มขึ้นจากระดับ 0.5% ในเดือนก่อนหน้า แตะ 3.7% ในวันพฤหัสบดี ขณะเดียวกันเทศมณฑลลอสแองเจลิสราย งานพบผู้ติดเชื้อรายใหม่มากกว่า 1,000 รายติดต่อกันเป็นเวลา 7 วัน ท่ามกลางการแพร่ระบาดของไวรัสสายพันธุ์เดลตา

(+) ธปท. ชี้ไทยยังใช้นโยบายดอกเบี้ยต่ําอีกระยะ เหตุศก.ฟื้นตัวช้ากว่าตปท. นายดอน นาครทรรพ ผู้อํานวยการอาวุโส ฝ่ายเสถียรภาพระบบ การเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวในงานสัมมนาออนไลน์ "THAILAND ECONOMIC MONITOR เส้นทางสู่การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ" ที่จัด โดยธนาคารโลก (World Bank) ว่า เศรษฐกิจประเทศไทยช่วงนี้เหมือนถูกเคราะห์ซ้ํากรรมซัด กําลังจะเริ่มฟื้นตัว แต่ก็ต้องมาเจอสถานการณ์ระบาดของ โรคโควิด-19 ระลอกใหม่ และยังมีข่าวร้ายเรื่องการจัดหาวัคซีนป้องกันโควิด-19 ส่วนกรณีที่หลายประเทศมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายตามการฟื้น ตัวของเศรษฐกิจนั้น นายดอน ระบุว่า ในส่วนของประเทศไทยคงต้องใช้เวลาอีกระยะ เพราะเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวช้ากว่าต่างประเทศมาก ดังนั้นอัตรา ดอกเบี้ยนโยบายของไทยจึงจําเป็นต้องอยู่ในระดับต่ําไปอีกนาน โดยในช่วง 1-2 ปีนี้ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยจะเป็นรูปตัวเค (K) กล่าวคือ อุตสาหกรรมหนึ่งจะฟื้นตัวได้เร็ว แต่อีกกลุ่มหนึ่งจะฟื้นตัวได้ช้า ดังนั้นหน้าที่รัฐบาลคือการพยุงให้อุตสาหกรรมขาล่างฟื้นตัวได้ดีขึ้น นายดอน ประเมินว่า เศรษฐกิจไทยหลังปี 2566 จะฟื้นตัวได้ปีละประมาณ 5% จากปีนี้ที่คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัว 1.8% และปี 2565 ที่ 3.9% โดยการฟื้นตัวของ เศรษฐกิจไทยจะยังไม่เข้าสู่แนวโน้มเดิมจนกว่าจะถึงปี 2570 ดังนั้นยอมรับว่าปัญหาโควิด - 19 ส่งผลระยะยาวต่อเศรษฐกิจไทยอย่างมาก ส่วนภาวะเงิน บาทที่อ่อนค่าในขณะนี้ ถือเป็นข้อดีหนึ่งของเศรษฐกิจไทยในสถานการณ์ปัจจุบัน เพราะการที่ภาคการท่องเที่ยวได้รับผลกระทบรุนแรงจากโควิด-19 ส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดติดลบ หรือใกล้ระดับ 0 จึงทําให้ไม่มีแรงกดดันจากเงินบาทที่แข็งค่าไม่มี เพราะหากเงินบาทยังแข็งค่าต่อเนื่อง เศรษฐกิจไทย คงไม่สามารถรับไหว

ดูกราฟราคาทองคำ SPOT XAU/USD

https://th.investing.com/currencies/xau-usd

กระทู้พูดคุยเกี่ยวกับราคาทองคำ SPOT

https://th.investing.com/currencies/xau-usd-commentary

บทความนี้จัดทำขึ้นโดย YLG Bullion International

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ 02-687-9888 กด 1 หรือเว็บไซต์ ylgbullion.co.th

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย