🔥 ฟีเจอร์การคัดเลือกหุ้นระดับพรีเมียมโดย AI จาก InvestingPro ตอนนี้ลดสูงสุดถึง 50% รับส่วนลด

บทวิเคราะห์ราคาทองคำ ภาคเช้า ราคาทองคําได้รับแรงกดดันจากดัชนีดอลลาร์

เผยแพร่ 13/07/2564 09:33
XAU/USD
-
GC
-

สรุปราคาทองคําที่ผ่านมาปิดปรับตัวลดลง 2.0 ดอลลาร์ต่อออนซ์ โดยราคาทองคําได้รับแรงกดดันจากดัชนีดอลลาร์ ที่แข็งค่าขึ้น 0.10% แตะที่ 92.223 ท่ามกลาง ความวิตกเกี่ยวกับการระบาดของ COMID-19 ซึ่งกระตุ้นให้นักลงทุนกลับเข้าซื้อสกุลเงินปลอดภัยอีกครั้ง ปัจจัยดังกล่าวกดดันให้ราคาทองคําร่วงลงทดสอบระดับต่ําสุด ในระหว่างวันบริเวณ 1,791.68 ดอลลาร์ต่อออนซ์ อย่างไรก็ดี ราคาทองคําฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งหลังจากนั้น โดยได้รับแรงหนุนจากแรงซื้อ Buy the dip ขณะที่นักลงทุน บางส่วนเข้าซื้อทองคําในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย จากความวิตกเกี่ยวกับเส้นทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกจากการระบาดของ COVID-19 รวมไปถึงความตึงเครียด ระหว่างจีนและสหรัฐ หลังจากล่าสุดรัฐบาลประธานาธิบดีโจ ไบเดน ประกาศยืนยันตามนโยบายเดิมของรัฐบาลชุดก่อนปฏิเสธการกล่าวอ้างกรรมสิทธิ์ของจีนเหนือพื้นที่ ทับซ้อนในทะเลจีนใต้ ประกอบสถานการณ์ดังกล่าวหนุนให้ราคาทองคําฟื้นตัวขึ้นมาปิดตลาดเหนือ 1,800 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ด้านกองทุน SPDR ถือครองทองลดลง - 2.91 ต้น สําหรับวันนี้ แนะนําจับตาการเปิดเผยตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อ ทั้งนี้ ตัวเลขที่ออกมาดีและแย่เกินคาด จะกระทบต่อการ คาดการณ์การดําเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ซึ่งอาจส่งผลให้ราคาทองคําเคลื่อนไหวผันผวนได้

การลงทุนอาจต้องเก็งกําไรในลักษณะรอจังหวะ โดยหากราคาทองคําไม่สามารถยืนเหนือต้าน 1,812-1,818 ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้ มีแนวโน้มที่ราคาจะอ่อนตัวลงทดสอบโซน 1,795-1,791 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หากสามารถยืนเหนือโซนแนวรับดังกล่าวได้ จะเกิดแรงซื้อเพิ่มขึ้น โดยแนวต้านระยะสั ้นถัดไปจะอยู่บริเวณ 1,818-1,831 ดอลลาร์ต่อออนซ์

คําแนะนํา เน้นทํากําไรระยะสั้นจากการแกว่งตัว ราคาทองคํายังมีกําลังซื้อที่ไม่มากนัก แนะนําติดตามการ เคลื่อนไหวของราคาโซน 1,812-1,818 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หากยังไม่สามารถยืนได้อย่างแข็งแกร่ง การลงทุนในช่วงนี้ จึงเน้นไปที่การทํากําไรในกรอบ

(-) ดอลล์แข็งค่า นลท.ซื้อสกุลเงินปลอดภัยเหตุวิตกผลกระทบโควิด ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรต เงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (12 ก.ค.) เนื่องจากนักลงทุนเข้าซื้อดอลลาร์ในฐานะสกุลเงินปลอดภัย ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบจากการแพร่ ระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่วนเงินปอนด์อ่อนค่าลงหลังมีรายงานว่า นายบอริส จอห์นสัน นายกรัฐมนตรีอังกฤษ เตรียมประกาศยกเลิกมาตรการล็อกดาวน์ แม้ว่าจํานวนผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ยังคงพุ่งขึ้นก็ตาม ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลใน ตะกร้าเงิน เพิ่มขึ้น 0.13% แตะที่ 92.2596 เมื่อคืนนี้ ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.9154 ฟรังก์ จากระดับ 0.9142 ฟรังก์ และแข็ง ค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ที่ระดับ 1.2465 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.2455 ดอลลาร์แคนาดา แต่เมื่อเทียบกับเงินเยน ดอลลาร์อ่อนค่าลงแตะที่ ระดับ 110.33 เยน จากระดับ 110.71 เยน ยูโรอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.1857 ดอลลาร์ จากระดับ 1.1876 ดอลลาร์ ขณะที่เงิน ปอนด์อ่อนค่าลงแตะที่ระดับ 1.3874 ดอลลาร์ จากระดับ 1.3889 ดอลลาร์

(-) ดาวโจนส์ปิดบวก 126.02 จุด รับความหวังผลประกอบการสดใส-จับตาพาวเวลแถลง ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (12 ก.ค.) โดยดัชนีหลักทั้ง 3 ดัชนีปิดทํานิวไฮ ขานรับการคาดการณ์ที่ว่าผลประกอบการไตรมาส 2 ของบริษัทจดทะเบียนจะออกมาแข็งแกร่ง โดยนักลงทุนเข้า ซื้อหุ้นกลุ่มธนาคารอย่างคึกคัก ก่อนที่ธนาคารรายใหญ่ซึ่งรวมถึงเจพีมอร์แกนและโกลด์แมน แซคส์ จะเปิดเผยผลประกอบการในสัปดาห์นี้ ขณะเดียวกัน นักลงทุนจับตาตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐ รวมทั้งถ้อยแถลงของนายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในสัปดาห์นี้ด้วย ดัชนีเฉลี่ย อุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 34,996.18 จุด เพิ่มขึ้น 126.02 จุด หรือ +0.36% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 4,384.63 จุด เพิ่มขึ้น 15.08 จุด หรือ +0.35% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 14,733.24 จุด เพิ่มขึ้น 31.32 จุด หรือ +0.21%

(+/-) เฟดเผยผลสํารวจชี้ผู้บริโภคคาดเงินเฟ้อพุ่งแตะ 4.8% ช่วง 12 เดือนข้างหน้า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขานิวยอร์กเปิดเผยผลสํารวจใน วันนี้ ระบุว่า ผู้บริโภคสหรัฐคาดการณ์ว่าเงินเฟ้อจะพุ่งขึ้นในช่วง 12 เดือนข้างหน้า แม้ว่าเจ้าหน้าที่เฟดหลายรายกล่าวก่อนหน้านี้ว่าเงินเฟ้อที่พุ่งขึ้นในระยะ นี้เป็นปัจจัยเพียงชั่วคราว ทั้งนี้ ผลสํารวจระบุว่า ผู้บริโภคคาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะพุ่งแตะระดับ 4.8% ในช่วง 12 เดือนข้างหน้า โดยสูงขึ้น 0.8% เมื่อเทียบ กับผลสํารวจในเดือนพ.ค. และเป็นระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์นับตั้งแต่เริ่มมีการรวบรวมข้อมูลดังกล่าวในปี 2556

ดูกราฟราคาทองคำ SPOT XAU/USD

https://th.investing.com/currencies/xau-usd

กระทู้พูดคุยเกี่ยวกับราคาทองคำ SPOT

https://th.investing.com/currencies/xau-usd-commentary

บทความนี้จัดทำขึ้นโดย YLG Bullion International

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ 02-687-9888 กด 1 หรือเว็บไซต์ ylgbullion.co.th

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย