บทวิเคราะห์ราคาทองคำ ภาคบ่าย โควิด-19 คุกคามเศรษฐกิจ เฟดอาจไม่เร่งขึ้นดอกเบี้ย

เผยแพร่ 12/07/2564 14:21
อัพเดท 09/07/2566 17:32
XAU/USD
-
GC
-
US10YT=X
-

สรุป ราคาทองคํา ช่วงเช้าแกว่งตัวในกรอบ 1,801.70-1,810.57 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ยังคงเห็นแรงขายทํากําไรระยะสั้นจากแรงขายทางเทคนิค หลังราคายังไม่ สามารถทะลุผ่านระดับสูงสุดของสัปดาห์ที่แล้วบริเวณ 1,818 ตอลลาร์ต่อออนซ์ ส่วนปัจจัยพื้นฐานที่กตตันราคาทองคําระยะสั้นมาจากการฟื้นของบอนด์ยีลด์ สหรัฐอายุ 10 ปี ขึ้นมาแถว 1.35% ในเช้าวันจันทร์ หลังจากสัปดาห์ที่แล้วร่วงลงแรงแตะ 1.25% ซึ่งกดดันราคาทองคําระยะสั้น แต่คาดว่าการฟื้นของบอนด์ ยีลด์สหรัฐอาจอยู่ในระดับจํากัด ท่ามกลางการคาดการณ์ของนักลงทุนในตลาดว่า เฟดอาจไม่เร่งขึ้นดอกเบี้ยและลด QE เพื่อพยุงเศรษฐกิจสหรัฐไว้ เนื่องจาก ไวรัสโควิต-19กลายพันธุ์ได้คุกคามเศรษฐกิจ ขณะที่ นางเจเน็ต เยลเลน รัฐมนตรีกระทรวงการคลังสหรัฐ เปิดเผยภายหลังการประชุม G20 ที่เมืองเวนิซ ประเทศอิตาลี ห่วงไวรัสกลายพันธุ์กระทบการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ดังนั้นจึงคาดว่าราคาทองคําอาจย่อตัวลงในระดับจํากัด และศาตมีแรงซ้อนซื้อกลับเข้า มาเป็นระยะ ด้านแนวโน้ม Gold Spot ประเมินว่า หากราคาไม่สร้างระดับสูงสุดใหม่จากสัปดาห์ก่อนหน้าบริเวณแนวต้าน 1,818 ตอลลาร์ต่อออนซ์ ทําให้ใน ระยะสั้นอาจมีแรงขายกดดันให้ราคาอ่อนตัวลง แต่หากไม่หลุดแนวรับโซน 1,795-1,783 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ราคามีโอกาสดีดตัวขึ้นช่วงสั้นอีกครั้ง แนะนํากล ยุทธ์การลงทุน ถ้าเกิดการอ่อนตัวลงมา แนะนําเปิดสถานะซื้อหากราคาทองคําไม่หลุต 1,795-1,783 ดอลลาร์ต่อออนซ์ อย่างไรก็ตามลดพอร์ตการลงทุนหาก ราคาหลุด 1,783 ตอลลาร์ต่อออนซ์ และหากถือสถานะซื้ออยู่อาจพิจารณาปีตสถานะทํากําไรบริเวณ 1,818 ดอลลาร์ต่อออนซ์ แต่หากผ่านได้สามารถถือต่อ

คําแนะนํา หากตลอดวันราคาทองคํายังไม่สามารถฝ่า แนวต้านบริเวณ 1,818 ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้ ดังนั้นให้ ระมัดระวัง เพราะมีโอกาสที่ราคาทองคําจะปรับย่อลงมา บริเวณแนวรับ 1,795-1,783 ดอลลาร์ต่อออนซ์

ข่าวสารประกอบการลงทุน

(+/-) ECB เตรียมปรับเปลี่ยนสัญญาณชี้นํานโยบายการเงินในการประชุมครั้งหน้า นางคริสติน ลาการ์ด ประธานธนาคารกลางยุโรป (ECB) ให้สัมภาษณ์กับบลูมเบิร์กทีวีว่า ทาง ECB จะปรับเปลี่ยนสัญญาณชี้นํานโยบายการเงินในการประชุมครั้งหน้า เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงกลยุทธ์ใหม่ และความมุ่งมั่นของ ECB ในการกระตุ้นเงินเฟ้อ ความเคลื่อนไหวดังกล่าวมีขึ้น หลัง ECB ประกาศปรับเป้าหมายเงินเฟ้อเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา พร้อมกับเปิดเผยบทบาทใหม่ของทางธนาคารในการร่วมมือแก้ไขปัญหาโลกร้อน ซึ่งถือเป็นการยกเครื่องนโยบายครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ 23 ปีของการก่อตั้ง ECB ทั้งนี้ ECB เปิดเผยว่า ทางธนาคารจะเปลี่ยนแปลงเป้าหมายเงินเฟ้อจากเดิมที่กําหนดให้ “อยู่ใกล้ แต่ไม่เกินระดับ 2%" โดย ปรับเป็น "อยู่ที่ระดับ 2%" แต่ ECB จะใช้ความยืดหยุ่น โดยจะอนุญาตให้เงินเฟ้อ หรือดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) สามารถดีดตัวขึ้นสูงกว่า 2% หากมี ความจําเป็น ECB ระบุว่า เป้าหมายเงินเฟ้อเดิมที่ระบุให้เงินเฟ้อ "อยู่ใกล้ แต่ไม่เกินระดับ 2%" ได้สร้างความรู้สึกที่ว่า ECB มีความกังวลต่อการที่ เงินเฟ้ออยู่สูงกว่าเป้าหมาย มากกว่ากังวลต่อการที่เงินเฟ้ออยู่ต่ํากว่าเป้าหมาย ทําให้ ECB ได้ข้อสรุปในวันนี้ว่า การขยายตัวของราคาทั้งอยู่เหนือ และอยู่ต่ํากว่าเป้าหมาย ล้วนเป็นสิ่งที่ไม่พึงประสงค์ อย่างไรก็ดี ECB ชี้แจงว่า ภายใต้บางสถานการณ์ที่จําเป็นต้องได้รับการสนับสนุนจากนโยบาย การเงินอย่างเข้มข้นและอย่างต่อเนื่อง เงินเฟ้อสามารถดีดตัวขึ้นชั่วคราวเหนือระดับเป้าหมาย ถ้อยแถลงของประธาน ECB หมายความว่า ECB ไม่ น่าจะคุมเข้มนโยบายการเงินก่อนกําหนด และหนุนความคาดหวังว่าเงินจะเฟ้อจะปรับตัวสูงขึ้นในอนาคต หลังอยู่ต่ํากว่าเป้าหมายของ ECB เป็น ระยะเวลาส่วนใหญ่ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา สัญญาณชี้นํานโยบายการเงินปัจจุบันของ ECB ระบุว่า ECB จะซื้อพันธบัตรให้นานเท่าที่จําเป็น และ รักษาระดับดอกเบี้ยให้อยู่ในระดับปัจจุบันซึ่งต่ําสุดเป็นประวัติการณ์ จนกว่าจะเห็นว่าแนวโน้มเงินเฟ้อเริ่มไต่ขึ้นสู่ระดับเป้าหมาย

(+/-) ตลาดจับตาพาวเวลแถลงสภาคองเกรสสหรัฐสัปดาห์นี้ นักลงทุนในตลาดการเงินทั่วโลกจับตานายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคาร กลางสหรัฐ (เฟด) ซึ่งมีกําหนดกล่าวแถลงการณ์รอบครึ่งปีว่าด้วยนโยบายการเงินและภาวะเศรษฐกิจสหรัฐต่อสภาคองเกรสในสัปดาห์นี้ เพื่อหา สัญญาณบ่งชี้ภาวะเศรษฐกิจ, อัตราเงินเฟ้อ, ทิศทางอัตราดอกเบี้ยสหรัฐ รวมทั้งผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่มีต่อเศรษฐกิจ สหรัฐ ทั้งนี้ นายพาวเวลจะกล่าวถ้อยแถลงต่อคณะกรรมาธิการการธนาคารประจําวุฒิสภาในวันที่ 14 ก.ค. และแถลงต่อคณะกรรมาธิการบริการ การเงินประจําสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 15 ก.ค. ตามธรรมเนียมปฏิบัติ ประธานเฟดมีกําหนดกล่าวแถลงการณ์ต่อสภาคองเกรสปีละ 2 ครั้ง โดย ครั้งแรกในเดือนก.พ. และอีกครั้งในเดือนก.ค.

ดูกราฟราคาทองคำ SPOT XAU/USD

https://th.investing.com/currencies/xau-usd

กระทู้พูดคุยเกี่ยวกับราคาทองคำ SPOT

https://th.investing.com/currencies/xau-usd-commentary

บทความนี้จัดทำขึ้นโดย YLG Bullion International

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ 02-687-9888 กด 1 หรือเว็บไซต์ ylgbullion.co.th

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย