ตลาด Bitcoin มีเจ้ามือหรือไม่ ? ทำไมราคาถึงขยับเหมือนกับในตำราของเจ้าที่เขียนขึ้นมา 100 ปีก่อนแบบเป๊ะๆ ?
กราฟข้างซ้าย = ราคา Bitcoin ในช่วง 5 เดือนที่ผ่านมา
กราฟข้างขวา = ทฤษฎี Wyckoff Distribution ตำราที่เขียนขึ้นมา 100 ปีก่อน เพื่อบอกให้เหล่าแมงเม่าระวังการเอาเปรียบของเจ้ามือ
ทั้ง 2 กราฟนั้นเหมือนกันเป๊ะๆอย่างกับแกะ มันเป็นไปได้อย่างไร ?
----------------------------------
Richard Demille Wyckoff บิดาแห่งหลักการวิเคราะห์ทางเทคนิค (Technical Analysis)
Wyckoff เกิดในปี 1873 และได้เข้าทำงานในบริษัทหลักทรัพย์และอยู่ในตลาดหุ้นมาเป็นเวลานาน ในช่วงเวลานั้นเขาได้เห็นกลุ่มนักลงทุนรายย่อยที่ถูกนักลงทุนรายใหญ่เอาเปรียบซ้ำแล้วซ้ำเล่า
นานวันเข้าทาง Wyckoff ทนไม่ดูความโหดร้ายนี้ไม่ไหว เขาจึงได้เขียนหนังสือ “The Real Rules of the Game” หรือ "กฎแห่งความจริงของเกมส์การเงิน" ขึ้นมาเพื่อถ่ายทอดแนวความคิดของเขาให้นักลงทุนรายย่อยคนอื่นๆนำไปใช้ จะได้ไม่ถูกเอาเปรียบ
ทฤษฎีวัฏจักรราคา Wyckoff Price Cycle
เราอาจจะได้ยินคำเหล่านี้บ่อยๆว่า "#เจ้ากำลังเก็บของ" กับ "#เจ้ากำลังปล่อยของ" ซึ่งทั้ง 2 อย่างนี้ก็สอดคล้องกับทฤษฎีของ Wyckoff ที่บอกว่า ในตลาดที่มีกลุ่มนักลงทุนรายใหญ่อยู่ในตลาด หากพวกเขามีเม็ดเงินใหญ่พอที่จะขับเคลื่อนตลาดขึ้นลงได้
นักลงทุนรายใหญ่จะคอยคุมตลาดให้แบ่งออกเป็น 2 ช่วงเวลา เพื่อประสิทธิภาพในการทำกำไรจากรายย่อยให้ได้มากที่สุด
1️. ระยะสะสม (Accumulation Wyckoff Events)
คล้ายกับระยะ "เจ้ากำลังเก็บของ" ที่หลายคนอาจคุ้นชิน จังหวะนี้จะเป็นจังหวะที่นักลงทุนรายใหญ่กำลังพยายามสะสมหุ้น (หรือสินทรัพย์ต่าง) ให้ได้มากที่สุดโดยพยายามไม่ให้กระทบกระเทือนกับราคาตลาด หรือไม่อยากให้ราคาพุ่งสูงขึ้น
ในช่วงของระยะนี้ความเคลื่อนไหวของราคาจะเป็นขาลงซึมๆคล้ายกับรูปตัว U (กราฟแนบในคอมเม้นท์)
โดยจังหวะของราคานั้นจะต้องมีจุดที่ขึ้นและลงให้ต่ำและสูงมากพอที่จะทำให้ความรู้สึกในตลาดเป็น #ตลาดขาลง เพื่อทำให้นักลงทุนรายย่อยเข้ามาขายหุ้นในตลาด และทางนักลงทุนรายใหญ่ก็จะคอยเก็บสะสมหุ้นเหล่านี้ เพื่อที่จะนำไปใช้ในเวลาต่อไป
2️. ระยะแจกจ่าย (Distribution Wyckoff Events)
คล้ายกับระยะ "เจ้ากำลังปล่อยของ" ที่หลายคนอาจคุ้นชิน จังหวะนี้จะเป็นจังหวะที่นักลงทุนรายใหญ่ที่ได้สะสมหุ้นมามากพอแล้ว ต้องการที่จะขายของกลับไปให้นักลงทุนรายย่อยให้ได้มากที่สุด โดยพยายามไม่ให้กระทบกระเทือนกับราคาตลาด หรือไม่อยากให้ราคาดิ่งลงต่ำเกินไป
ในช่วงของระยะนี้ความเคลื่อนไหวของราคาจะเป็นขาขึ้นด้วยความมั่นใจ ก่อนราคาจะดิ่งกลับลงมา คล้ายกับรูปตัว U กลับหัว (กราฟขวาในรูปหลัก)
โดยจังหวะของราคานั้นจะต้องมีจุดที่ขึ้นและลงให้ต่ำและสูงมากพอที่จะทำให้ความรู้สึกในตลาดเป็น #ตลาดขาขึ้น เพื่อทำให้นักลงทุนรายย่อยเข้ามาซื้อหุ้นในตลาด และทางนักลงทุนรายใหญ่ก็จะคอยขายหุ้นที่เก็บสะสมมาเหล่านี้กลับไปให้รายย่อย
เมื่อเรานำราคา Bitcoin ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมามากราฟคู่กับ Wyckoff Distribution เราก็จะเห็นได้ว่ามันกลับเหมือนกันแบบเส้นต่อเส้นเป๊ะๆ !
หากทฤษฎีนี้ถูกต้องแปลว่าในเวลานี้ทางฝั่งนักลงทุนรายใหญ่ได้ขายของในตลาดกลับมาสู่มือรายย่อยเรียบร้อยแล้ว (หรือไม่ก็กำลังอยู่ใน Process ของการทำ)
เมื่อไหร่ที่การดำเนินการ #ระยะแจกจ่าย สิ้นสุดลง ตลาดก็อาจจะกลับไปเข้าสู่ #ระยะสะสม อีกครั้ง แต่สิ่งที่ยากที่สุดคือเราไม่สามารถเดาได้เลยว่าจะใช้เวลานานแค่ไหน ?
หากทฤษฎีนี้เป็นจริงกับตลาด Bitcoin หมายความว่าตลาด Bitcoin นั้นถูกคุมโดนเจ้าอยู่ใช่ไหม ?
ถึงแม้ราคากราฟราคาของ Bitcoin กับ Wyckoff Distribution จะตรงกันแบบเส้นต่อเส้นเป๊ะๆ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าตลาด Bitcoin นั้นกำลังถูกกำหนดโดยคนๆเดียว หรือกลุ่มคนใหญ่ๆกลุ่มเดียวเสมอไป แต่ก็เป็นสัญญาณที่ชัดเจนว่ากำลังมี #นักลงทุนรายใหญ่ที่จ้องจะทำเอาเปรียบรายย่อยอยู่
สิ่งนึงที่ไม่เคยเปลี่ยนมาตลอด 100 ปี หรือ 1,000 ปี ก็คือความรู้สึกและพฤติกรรมของมนุษย์ ที่เป็นเหตุที่ทำให้หลักการวิเคราะห์ทางเทคนิคเมื่อ 100 ปีก่อนยังคงใช้ได้มาถึงทุกวันนี้
หากประกอบกับข้อมูลที่ตลาด Bitcoin มีผู้เล่นรายใหญ่หรือ Whale อยู่หลายตัว จึงมีความเป็นไปได้สูงที่เหล่านักลงทุนรายใหญ่เหล่านี้ที่ต่างมีประสพการณ์ในเกมส์การเงินนี้มาก่อนรายย่อยมานาน จะพยายามใช้ทฤษฎี Wyckoff Distribution มาพยายามร่วมกันมาทำกำไรจากนักลงทุนรายย่อย
และยิ่งมีคนศึกษาทฤษฎีนี้มากขึ้นเท่าไหร่ ความเคลื่อนไหวของราคาก็จะยิ่งเป็นไปตามหลักของ Technical Analysis เหล่านี้มากขึ้น
ทำให้เวลาที่เราลงทุนในตลาดที่มีนักลงทุนรายใหญ่ที่คอยซื้อขายแบบ Active ขนาดนี้ เราจึงต้อง #พยายามศึกษาสัญญาณทางเทคนิค ไว้ให้มากๆประกอบไปด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับสินทรัพย์อย่าง Bitcoin ที่วัดมูลค่าที่แท้จริงยากมาก ทำให้ราคาผันผวนไปตามความรู้สึกของผู้เล่นในตลาดส่วนใหญ่จริงๆ
ติดตามข่าวสารการลงทุนที่น่าสนใจไปกับ Facebook fanpage ทันโลกกับTraderKP
บทความนี้เผยแพร่ครั้งแรกที่ Facebook fanpage ทันโลกกับTraderKP