เมื่อวันพุธที่ผ่านมา เราได้ทราบกันไปแล้วว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) ยังต้องการเห็นเศรษฐกิจเติบโตขึ้นจนถึงในระดับที่พวกเขาพอใจก่อนที่จะเริ่มแตะเบรกมาตรการอัดฉีดเงินช่วยเหลือ การรายงานตัวเลข GDP ในไตรมาสแรกของสหรัฐฯ เมื่อวานนี้สามารถขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็น 6.4% จากตัวเลขเดิมในไตรมาสก่อนหน้าที่ 4.3% ถึงกระนั้นการแข็งค่าของดอลลาร์สหรัฐถือว่าทำได้ไม่น่าประทับใจ จริงอยู่ว่าดอลลาร์อาจแข็งค่ากว่าเมื่อเทียบกับและ แต่เมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่นแล้วกลับไม่สามารถแข็งค่าสู้ได้ดีเท่าที่ควร การที่เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นคือสัญญาณบ่งบอกว่าความเชื่อมั่นที่นักลงทุนมีต่อเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกานั้นมีจำกัด ถ้าเฟดยังไม่คิดที่จะเปลี่ยนนโยบายการเงิน นักลงทุนก็ไม่คิดว่าต้องลงทุนกับเศรษฐกิจสหรัฐฯ ไปมากกว่านี้
วันนี้ถึงคิวการรายงานตัวเลข GDP ไตรมาสที่หนึ่งของประเทศในกลุ่มยูโรโซน ผู้เชี่ยวชาญคาดว่าจะได้เห็นภาพการถดถอยทางเศรษฐกิจอีกครั้งเพราะมีความเป็นไปได้ที่ตัวเลข GDP อาจหดตัวเป็นไตรมาสที่สองติดต่อกัน สวนทางกับ GDP สหรัฐฯ ที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นมาแล้วในสามไตรมาสล่าสุด แม้ว่าภาพเศรษฐกิจถดถอยซ้ำซ้อนจะน่าเป็นห่วง แต่นักลงทุนบางส่วนอาจตัดสินใจมองข้ามความเจ็ดปวดนี้ได้เนื่องจากรายงานตัวเลขทางเศรษฐกิจเมื่อไม่นานมานี้เริ่มส่งสัญญาณการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจภายในสหภาพยุโรป อ้างอิงจากตัวเลขเศรษฐกิจที่วัดบรรยากาศความเชื่อมั่นในภาคธุรกิจและเศรษฐกิจในเดือนเมษายนพบว่าผู้ประกอบการมีความมั่นใจมากขึ้น การที่กราฟ EUR/USD ย่อตัวลงเพียงเล็กน้อยเมื่อวานนี้หมายความว่านักลงทุนไม่กลัวการรายงานตัวเลข GDP ของสหภาพยุโรปในวันนี้
สกุลเงินปอนด์แข็งค่าขึ้นเป็นวันที่ห้าติดต่อกันเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ สหราชอาณาจักรแทบจะไม่มีรายงานตัวเลขทางเศรษฐกิจที่สำคัญเลยในสัปดาห์นี้ซึ่งอาจจะเป็นข่าวดีก็ได้ แม้ระดับราคา 1.40 จะเป็นแนวต้านสำคัญ แต่กราฟก็อาจจะยังไม่สามารถขึ้นยืนเหนือได้ก่อนก้าวเข้าสู่เดือนพฤษภาคม นักลงทุนที่คิดจะเทรด สามารถข้ามไปรอในสัปดาห์หน้าได้เลยเพราะจะมีทั้งการประกาศนโยบายทางการเงินจากธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) และการรายงานตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตร (NFP) ของสหรัฐอเมริกาประจำเดือนเมษายน
กราฟ ยังคงมุ่งหน้าสร้างจุดต่ำสุดใหม่อย่างต่อเนื่อง ล่าสุดสามารถลงไปทำจุดต่ำสุดในรอบสามปีได้เพราะราคาและตัวเลขค่าจ้างรายสัปดาห์โดยเฉลี่ยปรับตัวขึ้น หากจะกล่าวว่าธนาคารกลางแคนาดา (BoC) คือผู้ที่เริ่มต้นสร้างขาลงครั้งนี้ก็คงจะไม่ผิดนัก ที่สำคัญก็คือการตัดสินใจครั้งนี้ของ BoC เป็นการสร้างความหวังให้กับตลาดว่าจะได้เห็นการลดวงเงินเข้าซื้อสินทรัพย์จากรัฐบาลแคนาดาในทุกๆ ครั้งที่มีการประชุมนับจากนี้ ขาลงของกราฟ USD/CAD ในตอนนี้ถือว่าแข็งแกร่งมาก ถ้าไม่มีปัจจัยรุนแรงอะไรหรือสร้างเซอร์ไพรส์เข้ามากระทบตลาด ก็คงไม่มีทางเปลี่ยนแนวโน้มของ USD/CAD ได้โดยง่าย
สกุลเงินและไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าร่วมปาร์ตี้ขาขึ้นครั้งนี้เนื่องจากไม่สามารถแข็งค่าข่มดอลลาร์สหรัฐอย่างที่สกุลเงินอื่นๆ ขาขึ้นของดอลลาร์นิวซีแลนด์ยังไม่แรงพอแม้ตัวเลขการนำเข้าส่งออกในเดือนมีนาคมจะเพิ่มขึ้น ดอลลาร์ออสเตรเลียในช่วงตลาดลงทุนฝั่งสหรัฐฯ เปิดยังอ่อนค่าเพราะตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ลดลง แต่ก็พึ่งจะสามารถฟื้นตัวได้เมื่อเช้านี้เพราะรายงานตัวเลขดัชนี PMI ภาคการผลิต แม้ตัวเลขในภาคการผลิตเองจะหดตัว แต่ตัวเลข PMI ที่ไม่เกี่ยวข้องกับภาคการผลิตกลับขยายตัวและสามารถชดเชยซึ่งกันและกันได้