หากคุณเป็นคนที่ติดตามข่าวเศรษฐกิจและการลงทุนอยู่แล้ว ในช่วงนี้ก็จะเห็นว่าดอลลาร์สหรัฐกำลังกลับมาเป็นแนวโน้มขาลงอีกครั้ง สำนักข่าวทั่วไปก็ให้เหตุผลว่าการอ่อนค่าของดอลลาร์สหรัฐในช่วงนี้เกิดขึ้นเพราะผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ปรับตัวลดลง
การปรับตัวลดลงของกราฟผลตอบแทนฯ เป็นเหตุผลหนึ่งแต่ยังไม่ใช่ทั้งหมด นอกจากประเด็นนี้แล้วดอลลาร์สหรัฐได้รับแรงกดดันมาจากนักลงทุนในตลาดที่ตั้งข้อสงสัยว่าทำไมธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือเฟด (FED) ยังไม่ตัดสินใจที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเสียทีทั้งๆ ที่ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับตัวขึ้นมาสูงขนาดนี้
พวกเขามองข้ามความเป็นไปได้ที่อาจเกิดปัญหาเงินเฟ้อและยังยืนยันเสียงแข็งว่าจะไม่ขึ้นอัตราดอกเบี้ยจนกว่าอัตราการจ้างงานจะกลับขึ้นมาอยู่ในช่วงก่อนเกิดโควิดทั้งๆ ที่หลักฐานการขยายตัวของเงินเฟ้อก็ได้ปรากฎให้เห็นอีกครั้งเมื่อสัปดาห์ก่อน ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ที่เป็นตัวบอกของอัตราเงินเฟ้อแบบเดือนต่อเดือนเพิ่มขึ้นเป็น 0.6% ส่วนแบบปีต่อปีนั้นขยายตัวขึ้นเป็น 2.6% ถือเป็นการขยายตัวแบบก้าวกระโดดนับตั้งแต่ปี 2008
นักวิเคราะห์บางส่วนได้ตั้งข้อสังเกตว่าสาเหตุที่ดอลลาร์อ่อนค่าลงเป็นเพราะนักลงทุนบางส่วนเริ่มปิดคำสั่งซื้อขายเพื่อทำกำไรไปแล้ว นั่นจึงทำให้หุ้นในที่เคยทำผลงานได้ดีเมื่อเดือนมีนาคมเริ่มอ่อนกำลังลง ยกตัวอย่างเช่นสัปดาห์ที่แล้วหุ้นในกลุ่มสาธารณูปโภคทำขาขึ้นได้เพียง 3.7% กลุ่มวัสดุก่อสร้างทำได้ 3% กลุ่มเทคโนโลยีทำได้เพียง 1.1% และกลุ่มผู้ให้บริการด้านการสื่อสารปิดติดลบ 0.1%
อย่างไรก็ตามก็มีคนที่สนับสนุนวิสัยทัศน์ของเฟดที่ยังมองว่าเงินเฟ้อในตอนนี้ยังอยู่ในระดับที่สามารถควบคุมได้ เหตุผลประการแรก ดัชนี CPI ที่ประกาศออกมาได้นับรวมราคาน้ำมันเข้ามาร่วมด้วยซึ่งราคาน้ำมันในสหรัฐฯ ตอนนี้ปรับตัวสูงขึ้น 23% นั่นจึงเป็นเหตุผลที่นักลงทุนบางส่วนเลือกที่จะเชื่อดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (Core CPI) พื้นฐานมากกว่าเพราะไม่นับรวมราคาน้ำมันและอาหาร
ประการที่สอง การวัดความเร็วของอัตราเงินเฟ้อในตอนนี้มักจะเป็นการเปรียบเทียบช่วงเวลาในปัจจุบันเข้ากับช่วงจุดต่ำสุดเดือนมีนาคมปี 2020 ซึ่งถือเป็นช่วงที่โควิดระบาดพึ่งจะระบาดในสหรัฐอเมริกา ดังนั้นในช่วงที่เศรษฐกิจมีการหดตัวมากเมื่อนำมาเทียบกับช่วงเห็นการฟื้นตัวในตอนนี้ เราจึงเห็นการขยายตัวของตัวเลขทางเศรษฐกิจในหลายๆ ประเภท แม้แต่การวิเคราะห์ทางเทคนิคก็ยังบอกได้ยากว่าดอลลาร์สหรัฐจะวิ่งไปในทิศทางไหน
การร่วงลงมาจากจุดสูงสุดล่าสุดที่ 93.43 จุดหรือคิดเป็นขาลงมากกว่า 5% ทำให้กราฟดัชนีดอลลาร์สหรัฐจบขาขึ้นตามรูปแบบลิ่มลู่ขึ้น (Rising Wedge) ตามทฤษฎีแล้ว รูปแบบลิ่มลู่ขึ้นเกิดการจากการเห็นพ้องต้องกันของฝั่งขาขึ้นและลงว่าราคายังสมควรปรับตัวขึ้นต่อ แต่เมื่อเวลาผ่านไป ปรากฎว่าฝั่งขาขึ้นกลับมีกำลังอ่อนลงเรื่อยๆ พร้อมกับการเติบโตของอิทธิพลจากนักลงทุนขาลง จนในที่สุดขาขึ้นที่ยืนต่อไม่ไหวก็ถูกขาลงเข้ามาควบคุมและดันราคาลงไปได้สำเร็จ
แต่เพราะก่อนหน้านี้กราฟดัชนีดอลลาร์เคยจบลิ่งลู่ลง (Falling Wedge) ใหญ่ด้วยขาขึ้นในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ ดังนั้นเราจึงเชื่อว่าดอลลาร์สหรัฐยังมีโอกาสที่จะกลับขึ้นไปอีกครั้ง ตราบใดที่ราคายังไม่ปรับตัวลดลงต่ำกว่าจุดต่ำสุดในวันที่ 6 มกราคม จากตรงนี้เรามองว่าดัชนีดอลลาร์สหรัฐยังมีโอกาสขึ้นยืนเหนือจุดสูงสุดของวันที่ 31 มีนาคมได้
ความเชื่อส่วนบุคคลถือเป็นอีกเรื่องหนึ่งเมื่อพิจารณาจากภาพความเป็นจริง ในฐานะนักวิเคราะห์ ถึงส่วนตัวจะเชื่อว่ากราฟยังมีโอกาสปรับตัวขึ้นในระยะยาว แต่ในระยะสั้น จากขาลงที่เป็นอยู่ เรายังให้ภาษีกับฝั่งขาลงมากกว่าและมีโอกาสที่จะลงไปเกินกว่าที่นักลงทุนทั่วไปคาดคิดหรือจุดที่ตั้งขาดทุนเอาไว้ แต่คาดว่าจะไม่ลงไปถึงจุดต่ำสุดของวันที่ 6 มกราคม
กลยุทธ์การเทรด
เทรดเดอร์ที่ไม่ชอบความเสี่ยง: จะรอจนกว่ากราฟดัชนีดอลลาร์สหรัฐสร้างรูปแบบลิ่มใหม่ไม่ว่าจะเกิดขึ้นในขาขึ้นหรือขาลงก็ตาม
เทรดเดอร์ที่รับความเสี่ยงได้ปานกลาง: จะเข้าซื้อเมื่อราคาสามารถขึ้นยืนเหนือเส้นแนวต้าน (เส้นประสีแดง) หรือระดับราคา 91.39 จุดได้
เทรดเดอร์ที่รับความเสี่ยงได้สูง: จะวางคำสั่งขายในระยะสั้น โดยให้เหตุผลว่าขาลงครั้งนี้ถือว่าลงมาห่างจากจุดสูงสุดล่าสุดพอสมควร ที่สำคัญนักลงทุนกลุ่มนี้มักจะเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ พวกเขามีความสามารถในการยอมรับความเสี่ยงได้มากกว่า
ตัวอย่างการเทรด
- จุดเข้า: 91.50
- Stop-Loss: 91.75
- ความเสี่ยง: 25 จุด
- เป้าหมายในการทำกำไร:90.00
- ผลตอบแทน: 150 จุด
- อัตราความเสี่ยงต่อผลตอบแทน: 1:6