ขอขอบคุณภาพประกอบจาก:CQC
ทุกวันนี้ใครๆ ต่างก็พากันพูดถึงบิทคอยน์หรือไม่ก็คริปโตเคอเรนซี่ การทะยานขึ้นมายัง $56,000 ของบิทคอยน์ครั้งนี้ทำให้โลกหันมาสนใจสกุลเงินดิจิทัลกันมากขึ้น ทุกคนอาจจะคุ้นเคยกันดีกับสกุลเงินคริปโตฯ ที่มีการเหวี่ยงขึ้นลงกันทีละ 10%-20% แต่รู้หรือไม่ว่านอกจากเราจะมีสกุลเงินดิจิทัลแบบที่รู้จักกันอยู่แล้ว โลกของสกุลเงินดิจิทัลยังมีสกุลเงินที่มีมูลค่าคงที่เหมาะแก่การใช้เป็นที่ตรึงมูลค่าของเงินเราเอาไว้ สกุลเงินดิจิทัลแบบนั้นคนในวงการเรียกพวกมันว่า “สเตเบิ้ลคอยน์ (Stablecoin)”
สเตเบิ้ลคอยน์อธิบายสั้นๆ ก็คือเป็นประเภทหนึ่งของเหรียญคริปโตที่มูลค่าถูกตรึงไว้กับสินทรัพย์ที่มีความผันผวนต่ำ เช่น สกุลเงินจับต้องได้ที่เราใช้จ่ายกันทั่วไปหรือเงิน FIAT ทองคำ น้ำมัน พันธบัตรรัฐบาล ในปัจจุบันสเตเบิ้ลคอยน์หลักๆ ที่มีคนใช้งานกันมีอยู่สองเหรียญด้วยกันหนึ่งคือ “เตเตอร์” (Tether) (USDT) และ “ยูเอสดีคอยน์” (USD Coin) (USDC) แม้ว่าทั้งสองสกุลเงินจะมีการผูกมูลค่าในอัตราส่วน 1:1 เอาไว้กับดอลลาร์สหรัฐ แต่มูลค่าของมันกลับไม่ได้ผันผวนตามปัจจัยที่มากระทบตัวสกุลเงินเช่นการขึ้นลงของผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลฯ เป็นต้น
สถานการณ์ล่าสุดของสกุลเงินดิจิทัลยอดนิยม
หลังจากที่สัญญาซื้อขายบิทคอยน์ในตลาดล่วงหน้าปรับตัวขึ้นไปสร้างจุดสูงสุดที่ $58,610 ในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ กราฟบิทคอยน์ก็ได้ย่อตัวลงมายัง $50,000 ก่อนที่จะวิ่งกลับขึ้นไปอยู่ใกล้กับจุดสูงสุดเดิมอีกครั้งในวันที่พุธที่ 10 มีนาคม
กราฟซื้อขายบิทคอยน์ล่วงหน้ารายวันในรูปแสดงให้เห้นถึงช่วงเวลาที่กราฟกำลังพักฐานและวิ่งย้อนกลับขึ้นมายัง $56,000 ตอนนี้กราฟบิทคอยน์พร้อมแล้วสู่การมุ่งหน้าสู่สถานีถัดไปที่ $60,000
นอกจากบิทคอยน์แล้วยังมีอีกหนึ่งสกุลเงินดิจิทัลที่ได้รับการยอมรับจากตลาดซื้อขายสัญญาล่วงหน้านั่นก็คือสกุลเงินอีเธอเรียม (ETH)
จากรูปจะเห็นว่าการซื้อขายสกุลเงินอีเธอเรียมล่วงหน้าพึ่งจะถูกบรรจุเข้ามาในตลาดได้ไม่นาน แต่ความสนใจของนักลงทุนก็ทำให้สกุลเงินดิจิทัลนี้สามารถวิ่งขึ้นไปยังจุดสูงสุดที่ $2012 ได้ในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ ก่อนที่ราคาจะปรับตัวลดลงมาวิ่งอยู่ที่ $1,800 ในปัจจุบัน
ไม่ว่าจะภาครัฐของประเทศไหนต่างก็ไม่ปลึ้มกับสกุลเงินดิจิทัล
ไม่แปลกใจที่สกุลเงินดิจิทัลจะไม่เป็นที่ยอมรับจากเหล่าบรรดาผู้ออกกฎหมายไม่ว่าจะในยุโรปหรือสหรัฐอเมริกาที่ว่ากันว่าเป็นดินแดนแห่งเสรีภาพ เพราะแต่ไหนแต่ไรผู้สร้างของราชาสกุลเงินดิจิทัลอย่างบิทคอยน์ก็สร้างสกุลเงินนี้ขึ้นมาเพื่อลดทอนอำนาจรัฐในการควบคุมเงินอยู่แล้ว ผู้สร้างบิทคอยน์เล็งเห็นจุดอ่อนในการควบคุมเงินของธนาคารกลาง ดังนั้นหากสามารถกระจายอำนาจทางการเงิน การทำธุรกรรมและความไว้วางใจระหว่างกันและกันออกสู่ผู้คนได้ ธนาคารกลางก็ไม่มีความจำเป็นอีกต่อไป (ในความคิดของเขา)
ยิ่งราคาซื้อขายของสกุลเงินดิจิทัลปรับตัวสูงขึ้นมากเท่าไหร่ เราก็ยิ่งจะได้ยินข่าวจากทางภาครัฐที่ต้องการเข้ามาควบคุมมากยิ่งขึ้น ทั้งประธานธนาคารกลางแห่งสหภาพยุโรปนางสาวคริสตีน ลาการ์ดและรัฐมนตรีกระทรวงการคลังของสหรัฐฯ นางเจเน็ต เยลเลนต่างเห็นตรงกันว่าต้องมีกฏหมายออกมาควบคุมการใช้งานสกุลเงินดิจิทัล
เพื่อเป็นการสนับสนุนแนวทางของภาครัฐบริษัทชื่อดังของอเมริกาอย่างเทสลา (NASDAQ:TSLA) และสแควร์ (NYSE:SQ) จึงทำตามคำเตือนของภาครัฐอย่างเคร่งครัดด้วยการซื้อบิทคอยน์เอาไว้เป็นสินทรัพย์ป้องกันความเสี่ยงเสียเอง ที่สำคัญเทสลายังมีแผนที่จะอนุญาตให้ชำระเงินด้วยบิทคอยน์ได้ผ่านระบบทำธุรกรรมของบริษัท
มีคำโบราณคำหนึ่งกล่าวเอาไว้ว่า “หากต่อต้านไม่ได้ จงเข้าร่วม” นั่นคือสิ่งที่เหล่าผู้ออกกฎหมายฝั่งตะวันตกยังไม่ยอมรับ แต่สำหรับมหาอำนาจแห่งเอเชียอย่างประเทศจีนแล้ว พวกเขาเดินเกมได้เร็วกว่าประเทศฝั่งตะวันตกมาก สี จิ้นผิง ผู้นำของประเทศจีนจริงจังและใส่ใจเรื่องการทำสกุลเงินหยวนดิจิทัลมากถึงขนาดว่ามีการทดลองให้เงินเดือนแก่ข้าราชการเป็นสกุลเงินหยวนดิจิทัลแล้วส่วนหนึ่ง ส่วนที่เหลือให้เป็นเงินเดือนตามปกติ ในขณะที่จีนอยู่ในขั้นทดลองใช้แล้ว แต่สหรัฐฯ กับยุโรปยังอยู่ในขั้นตอนการพัฒนาดอลลาร์และยูโรดิจิทัลกันอยู่เลย
Tether ตรึงมูลค่าเอาไว้กับดอลลาร์สหรัฐจริงหรือ?
ในตอนที่เตเตอร์ถือกำเนิดขึ้นในปี 2014 สกุลเงินนี้ถือเป็นสกุลเงินแรกที่เรียกตัวเองว่าเป็นสเตเบิ้ลคอยน์และประกาศว่าทุกๆ 1 USDT มีค่าเทียบเท่ากับ 1 USD แม้จะเผชิญกับการตั้งข้อสงสัยหลายครั้งถึงจำนวนเงินที่เตเตอร์มีเอาไว้เป็นเงินสำรอง แต่จนถึงวันนี้เตเตอร์ก็ได้พิสูจน์ตัวเองมาแล้วในระดับหนึ่ง ล่าสุดเตเตอร์พึ่งประกาศผูกมูลค่าของตัวเองเอาไว้กับบริษัทปล่อยสินเชื่อ
ปัจจุบันสกุลเงินดิจิทัลเตเตอร์รั้งอันดับสี่ของสกุลเงินที่มีมูลค่าตลาดสูงที่สุดในโลกคริปโตเคอเรนซี่ เป็นรองสกุลเงินบิทคอยน์ อีเธอเรียมและไบแนนซ์คอยน์ บริษัทซึ่งเติบโตมาจากการเป็นตัวกลางการแลกเปลี่ยนสกุลเงินดิจิทัล
ที่มา: Investing.com
มูลค่าล่าสุดของเตเตอร์เมื่อวันที่ 10 มีนาคมมีมูลค่าตลาดอยู่ที่ $37,088 ล้านเหรียญสหรัฐหรือคิดเป็น 2.19% ของสินทรัพย์ในตลาดสกุลเงินดิจิทัลทั้งหมด
ที่มา: coinmarketcap
รูปด้านบนนี้แสดงให้เห็นว่าต่อให้เตเตอร์ไม่ได้มีการตรึงมูลค่ากับสกุลเงินดอลลาร์ แต่มูลค่าของเตเตอร์หนึ่งเหรียญก็ยังมีค่าเท่ากับหนึ่งดอลลาร์สหรัฐอยู่ดี
USD Coin กับดอลลาร์สหรัฐ
คู่แข่งโดยตรงของเตเตอร์คือยูเอสดีคอยน์หรือ USDC เป้นสกุลเงินที่ผูกติดมูลค่าเอาไว้กับดอลลาร์สหรัฐเช่นกัน มีการใช้งานที่หลากหลายบนแพลตฟอร์มของอีเธอเรียม USDC นั้นเป็นตัวในเดือนกันยายนปี 2018 รั้งอยู่ในอันดับที่ 13 เมื่อเทียบมูลค่าตลาดของสกุลเงินดิจิทัลทั้งหมด
ที่มา: Investing.com
ปัจจุบัน USDC มีมูลค่าตลาดรวมแล้วทั้งสิ้น $9,025 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็น 0.53% ของสินทรัพย์ในตลาดสกุลเงินดิจิทัลทั้งหมด
ที่มา: coinmarketcap
ปัจจุบันสกุลเงินทั้งสองต่างก็เป็นสเตเบิ้ลคอยน์ที่นักลงทุนคริปโตฯ ต่างรู้จักกันดี การใช้งานของทั้งสองเหรียญนั้นแม้จะแตกต่างกันออกไปตามกลุ่มเป้าหมาย แต่ทั้งคู่ต่างก็อ้างว่าผูกมูลค่าเอาไว้กับดอลลาร์สหรัฐเหมือนกัน แต่ไม่ผันผวนเหมือนสกุลเงินดิจิทัลทั่วไป
USDC Vs USDT ใครเป็นตัวเลือกที่ดีกว่ากัน?
หากจะตอบคำถามนี้ เราคงต้องย้อนถามคุณกลับก่อนว่าคุณมีความรู้ความเข้าใจในโลกสกุลเงินดิจิทัลมากน้อยแค่ไหน ยิ่งคุณมีความรู้มากเท่าไหร่ คุณยิ่งมีโอกาสเข้าใจและลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในการทำธุรกรรมผ่านโลกดิจิทัล
สำหรับทั้งสองสกุลเงินนั้นมีข้อดีและข้อเสียต่างกัน ด้วยความที่เตเตอร์เป็นสกุลเงินที่เกิดมาก่อน ดังนั้นเตเตอร์จึงมีสภาพคล่องที่สูงกว่ายูเอสดีคอยน์ แต่ในขณะเดียวกันหากมองในเรื่องความโปร่งใสแล้วยูเอสดีคอยน์กลับมีมากกว่าเตเตอร์
ทีนี้ก็ขึ้นอยู่กับผู้ใช้งานแล้วว่าจะเลือกให้ความสำคัญกับ “สภาพคล่อง” หรือ “ความโปร่งใส” มากกว่ากัน หากคุณเป็นนักลงทุนมือใหม่ คุณอาจเลือกความสบายใจแลกเปลี่ยนสกุลเงินกับ USDC แต่หากคุณเป็นคนที่มีประสบการณ์อยู่แล้ว จะแลกเป็น USDT หรือ USDC สำหรับคุณคงไม่แตกต่างกันมากนัก