คำถามสำคัญก็คือว่าการรายงานตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตร (NFP) ในวันนี้จะเป็นแรงหนุนหรือแรงลบต่อสกุลเงินดอลลาร์? ก่อนที่เจอโรม พาวเวลล์จะแถลงการณ์ บรรยากาศการลงทุนดูเหมือนว่าจะทำใจเอาไว้แล้วว่าอาจจะไม่ได้เห็นการเพิ่มขึ้นของการจ้างงานสามารถขึ้นมาจนอยู่ในระดับที่น่าตกใจ ตัวเลข NFP สองเดือนล่าสุดไม่ใช่ตัวเลขที่สวยงามเท่าไหร่ การจ้างงานในเดือนธันวาคมติดลบ 227,000 ตำแหน่งในขณะที่ตัวเลขของเดือนมกราคมเพิ่มขึ้นมาเพียง 49,000 ตำแหน่ง แม้ตลากลงทุนจะไม่คาดหวัง แต่นักเศรษฐศาสตร์คาดหวังว่าการจ้างงานในเดือนกุมภาพันธ์ควรจะกลับมาให้ได้อย่างน้อย 180,000 ตำแหน่ง
แม้ว่าภาคการผลิตของสหรัฐฯ ดูเหมือนว่าจะกลับมาแล้ว แต่ภาคการบริการยังถือว่าฟื้นตัวได้ช้า ดัชนี PMI ที่ไม่เกี่ยวข้องกับภาคการผลิตจาก ISM ในเดือนกุมภาพันธ์หดตัวลงจาก 58.7 เป็น 55.3 ในขณะที่ภาคการจ้างงานลดลงจาก 55.2 เป็น 52.7 ตัวเลขคาดการณ์การจ้างงานจาก ADP ก็เชื่อว่าการจ้างงานจะยังไม่ฟื้นดี ถึงจะมีเหตุผลช่วยหนุนว่าตัวเลขการจ้างงานของเดือนกุมภาพันธ์จะสามารถฟื้นตัวได้ แต่ก็มีอีกหลายเหตุผลที่ยังไม่เชื่อว่าการจ้างงานจะกลับมาเช่นกัน หากวันนี้ NFP ยังไม่แสดงให้เห็นถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจ ตลาดหุ้นสหรัฐฯ จะปรับตัวลงและนักลงทุนจะไม่ถือสกุลเงินที่มีความเสี่ยง พูดสั้นๆ ก็คือสถานการณ์เช่นนี้อาจช่วยหนุนดอลลาร์สหรัฐมากกว่า
เหตุผลที่ไม่สนับสนุนการเพิ่มขึ้นของตัวเลขจ้างงานนอกภาคการเกษตร
1. ดัชนี PMI ภาคการบริการในส่วนของการจ้างงานจาก ISM ลดลง
2. ตัวเลขคาดการณ์ NFP จาก ADP เพิ่มขึ้น 117,000 ตำแหน่งเทียบคาดการณ์ 195,000 ตำแหน่ง
3. ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคจากมหาลัยมิชิแกนปรับตัวลดลง
เหตุผลสนับสนุนการเพิ่มขึ้นของตัวเลขจ้างงานนอกภาคการเกษตร
1. จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกในรอบสี่สัปดาห์ล่าสุดลดลงต่อเนื่อง
2. จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรวมแล้วลดลงจาก 4.69 ล้านคนเป็น 4.295 ล้านคน
3. รายงานตัวเลขการปลดพนักงานออกจากตำแหน่งโดย Challenger ลดลง
4. ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคจากซีบีเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบสามเดือน
5. ดัชนี PMI ภาคการผลิตในส่วนของการจ้างงานจาก ISM เพิ่มขึ้นสูงสุดนับตั้งแต่เดือนมีนาคมปี 2019
ถือเป็นเรื่องสำคัญที่นักลงทุนต้องทำความเข้าใจว่าทำไมเจอโรม พาวเวลล์ยังดูเหมือนสบายๆ เมื่อพูดถึงการปรับตัวขึ้นของเงินเฟ้อและผลตอบแทนพันธบัตรฯ ส่วนหนึ่งของแถลงการณ์เมื่อคืนนี้เขากล่าวว่า
“พวกเรา (เฟด) หวังว่าเมื่อเศรษฐกิจกลับมาเปิดอย่างเต็มรูปแบบแล้ว เราจะได้เห็นเงินเฟ้อปรับเพิ่มขึ้นตามการเติบโตทางเศรษฐกิจ เพราะนั่นจะก่อให้เกิดความเชื่อมั่นในการจับจ่ายใช้สอยแม้ราคาสินค้าจะเพิ่มขึ้น ตลาดลงทุนควรมองประเด็นนี้เรื่องที่ดีมากกว่าที่จะมานั่งกังวล”
นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมเจอโรม พาวเวลล์ถึงยังไม่คิดที่จะเข้าไปยุ่งกับสถานการณ์ในตลาดผลตอบแทนฯ ตอนนี้
การแข็งค่าขึ้นของดอลลาร์ทำให้สกุลเงินเยนและสวิตฟรังก์ถูกเทขายมากที่สุดเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักอื่นๆ การลดลงของตัวเลขยอดค้าปลีกในยูโรโซนอย่างมีนัยสำคัญทำให้กราฟ EUR/USD ปรับตัวลดลงมาวิ่งต่ำกว่า 1.20 ดอลลาร์ออสเตรเลียไม่อ่อนค่าลงมากนักเพราะตัวเลขการค้าของออสเตรเลียออกมาดีกว่าที่คาดการณ์