📈 คุณจะเริ่มลงทุนอย่างจริงจังในปี 2025 ไหม? เริ่มต้นก้าวแรกพร้อมรับส่วนลด 50% สำหรับสมาชิก InvestingProรับส่วนลด

ทำความรู้จักพันธบัตร และสัมพันธ์กับเศรษฐกิจ ส่งผลต่อกันอย่างไร?

เผยแพร่ 04/03/2564 15:54
อัพเดท 09/07/2566 17:32
มาทำความรู้จักพันธบัตร และ Yield ที่มีการพูดถึงกันมากในช่วงนี้ แอดจะพยายามอธิบายให้เข้าใจง่ายที่สุด และสัมพันธ์กับเศรษฐกิจยังไงบ้างนะ
เรามารู้คำศัพท์ง่ายๆก่อนเข้าเรื่อง
1. พันธบัตร เป็นกระดาษออกโดยรัฐบาลหรือเอกชน เพื่อขอยืมเงิน และจะจ่ายดอกเบี้ยให้ตามระยะเวลาที่กำหนด
2. พันธบัตรมีทั้งของบริษัท และของรัฐบาล ในที่นี้เราจะพูดถึงรัฐบาลเป็นหลัก โดยพันธบัตรมีทั้งอายุสั้นและยาว ตั้งแต่ 1 เดือนจนถึง 30 ปี
3. พันธบัตร อายุเกิน 1 ปี เรียกว่า Treasury Bill พันธบัตรอายุ 2-10 ปีเรียก note และเกิน 10 ปี เรียก Bond เอาเป็นว่าไม่ต้องสนใจคำศัพท์ ขอเรียกพันธบัตรทุกชนิดว่า Bond ล่ะกันนะ และผลตอบแทนพันธบัตรเราจะเรียกว่า Yield
4. เวลาเราพูดถึง bond yield ขึ้นลง ให้คิดเหมือนหุ้น ถ้าราคาพันธบัตรซื้อขายกันที่ 100 บาท ปันผล 2 บาท คือ 2% ถ้ามีคนซื้อ bond เยอะๆ ราคาวิ่งไป 110 เราปันผล 2 บาท Yield เราก็จะลดลง นั่นคือ ถ้า ราคา bond ขึ้น Yield จะลด และถ้า Bond ลง Yield ก็จะขึ้นนั่นเอง
5. ปกติ เรามักจะชอบใช้ Bond Yield อายุ 10 ปี ในการใช้วัดความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจ และยังมักจะผูกติดกับ อัตราการกู้ซื้อบ้านอีกด้วย
6. เวลาเราพูดถึง พันธบัตรรัฐบาล ให้เรามองว่า นี่คือการลงทุนที่ปลอดภัยที่สุด เพราะจะมีผลต่อการโยกย้ายเงินในสภาพเศรษฐกิจต่างๆ
-------------------จบพื้นฐาน-------------
เรามาทำความเข้าใจเมื่อไหร่คนชอบ ไม่ชอบพันธบัตรกัน
- เวลาเราพูดถึงเรื่องเศรษฐกิจและความเชื่อมั่น เรามักจะใช้พันธบัตรอายุ 10 ปี เพราะมักจะใช้อ้างอิงในกิจกรรมการเงินอย่างเช่น กู้บ้าน กู้รถ
- เวลาเราพูดถึง Yield(10 ปี) ขึ้น นั่นคือราคา bond ลง = คนไม่ต้องการซื้อพันธบัตร คนไม่ต้องการซื้อทรัพย์สินที่ปลอดภัย เพราะมองว่าเศรษฐกิจดี เขาก็จะไปหาลงทุนทรัพย์สินอื่นที่เสี่ยงเพิ่มขึ้น เพื่อผลตอบแทนที่ดีกว่า ในทางกลับกันถ้าคนมองเศรษฐกิจไม่ดี ก็ต้องเข้าซื้อสินทรัพย์ปลอดภัย ราคาพันธบัตรจะขึ้น และ Yield จะลดลง
---------------
สิ่งที่เราต้องรู้ต่อไป คือ Yield Curve (ในรูป Topic เลย) มี 3 แบบ (ในตัวอย่างนี้ขอเรียก พันธบัตรอายุน้อยกว่า 2 ปีว่าพันธบัตรระยะสั้น และพันธบัตรระยะยาวคือ 10 ปีขึ้น ปกติ Yield curve มักจะใช้ 2ปี และ 10 ปีเทียบกัน)
1. สภาวะปกติ หรือที่เราเรียกว่า Normal Curve คือ ปกติ Bond อายุสั้นจะให้ผลตอบแทนต่ำ และ Bond อายุเยอะๆ (กู้นานๆอย่างเช่น 30 ปี) ปกติมักจะให้ดอกเบี้ยที่สูง เพราะผู้ให้กู้ก็จะเสียโอกาสในการลงทุนอื่นๆในช่วง 30 ปี หรืออาจจะเสี่ยงในการโดนเบี้ยวหนี้เป็นต้น เราจะ Plot กราฟได้ตามรูป คือยิ่ง Bond อายุสั้นยิ่งให้ดอกเบี้ยน้อย และอายุยิ่งมากยิ่งให้ดอกเบี้ยมากขึ้นเรื่อยๆ เหมือนเราฝากแบงก์ยิ่งฝากนาน ดอกเบี้ยยิ่งดี
2. สภาวะนักลงทุนเริ่มระวังตัว Flat curve นั่นคือ yield ระยะสั้นและยาวเท่ากัน เพราะคนมองว่า เศรษฐกิจเริ่มเสี่ยง ก็จะเริ่มกระจายไปซื้อทรัพย์สินที่ปลอดภัยมากขึ้น พันธบัตรระยะยาวจะเป็นที่ต้องการมาก ทำให้ราคา Bond ระยะยาววิ่งขึ้น Yield ก็จะลงจนกลายเป็นเท่ากับ Yield ระยะสั้น
3. สภาวะผิดปกติ ที่เราเรียกว่า Inverted Yield Curve คือ สภาวะที่ Yield ระยะสั้น ให้มากกว่าผลตอบแทนระยะยาว เพราะคนเชื่อว่าเศรษฐกิจจะไม่ดี และผลตอบแทนจะมีแนวโน้มลง คนก็จะไป fix ผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวทิ้งไว้ ทำให้ความต้องการซื้อพันธบัตรระยะสั้นน้อย และเงินไหลไปเข้าพันธบัตรระยะยาวเยอะมาก เยอะจน Yield ร่วงลงต่ำกว่าผลตอบแทนระยะสั้น แสดงถึงคนเริ่มหนีเข้าทรัพย์สินปลอดภัยมากขึ้นแบบสุดๆ เพราะกลัวเรื่องของเศรษฐกิจ
------------------------
Case Study
1. ในปัจจุบัน 2021 ก็จะเป็นลักษณะ Yield ระยะยาว > Yield ระยะสั้น เพราะคนเชื่อว่าเศรษฐกิจดี ดอกเบี้ยจะเริ่มเป็นขาขึ้น ดังนั้นคนจะไม่ชอบลงทุนพันธบัตรที่มีอายุยาวมากๆ ก็จะหันมาซื้อพันธบัตรระยะสั้นกัน (ทำให้ bond yield ระยะสั้นขึ้นน้อยมาก) เพราะเชื่อว่า ดอกเบี้ยกำลังจะขึ้น ถือสั้นๆจะได้เปรียบกว่า ดังนั้นพันธบัตร 10 ปีความต้องการเลยน้อย Yield ก็เลยขึ้น ก็แสดงว่าคนเชื่อมั่นในเศรษฐกิจ หุ้นก็เลยขึ้นมาเรื่อยๆ (แต่ที่หุ้นปรับฐานเพราะ Yield หุ้นกับพันธบัตรใกล้เคียง คนกลัวเงินจะไหลกลับไป Bond บ้าง )
2. ช่วง Trade war 2018-2019 จะเห็นว่า หลังจาก FED เริ่มดึงเงินออก และขึ้นดอกเบี้ยรัวๆ + Trade war อีก คนก็เชื่อว่าเศรษฐกิจจะไม่ดี หรือมีความเสี่ยงมากเกินไป เงินก็เลยถูกย้ายไปซื้อ ทรัพย์สินปลอดภัยนั่นคือพันธบัตรระยะยาวมากแบบผิดปกติ ทำให้ Yield 10 ปีร่วงแรงมาก จนให้ Yield น้อยกว่าพันธบัตรระยะสั้น 2 ปี
หวังว่าจะได้ประโยชน์นะครับ
บทความนี้จัดทำโดย Boyles Bigmove club

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย