เงินบาทปิดอ่อนค่าที่ 31.28 ต่อดอลลาร์ หลังซื้อขายในกรอบ 31.04-31.35 โดยเงินบาทสวนทางสกุลเงินส่วนใหญ่ในภูมิภาคซึ่งได้แรงหนุนจากเงินหยวนที่แข็งค่าขึ้น กดดูอัพเดต USD/THB ล่าสุด ขณะที่เงินบาทแตะระดับอ่อนค่าสุดในรอบ 1 เดือน ท่ามกลางความต้องการดอลลาร์ของภาคธุรกิจรวมถึงราคาทองคําที่ผันผวน ทั้งนี้นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิในตลาดหุ้นและพันธบัตรไทย 2.61 ร้ อยล้านบาท และ 1.07 หมื่นล้านบาทตามลําดับ
เงินดอลลาร์อ่อนค่าเทียบกับสกุลเงินสําคัญส่วนใหญ่ ขณะที่นักลงทุนเข้าซื้อสินทรัพย์เสี่ยง โดยความสัมพันธ์ผกผัน ระหว่างตลาดหุ้นและค่าเงินดอลลาร์ยังคงดําเนินต่อไป อย่างไรก็ตาม ยอดผู้ติดเชื้อ COVID-19 รายใหม่ทั่วโลกซึ่งพุ่งสูงขึ้นส่งผลให้ การซื้อขายเป็นไปอย่างระมัดระวัง ส่วนเจ้าหน้าทีธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด)หลายรายแสดงความ กังวลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ทางด้านอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวของสหรัฐฯปรับตัวลดลงเล็กน้อย
แลหน้า
เงินบาทสัปดาห์นี้มีแนวโน้มซื้อขายในกรอบ 31.05-31.45 ต่อ ดอลลาร์ ตลาดโลกจะติดตามผลการพัฒนาวัคซีนและยา รักษา COVID-19, การประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น(บีโอเจ) วันที่ 15 ก.ค.รวมถึงการประชุมธนาคารกลางยุโรป(อีซีบี) วันที่ 16 ก.ค. นอกจากนี้ นักลงทุนจะให้ความสนใจกับการประชุมสุดยอดผู้นําสหภาพยุโรปช่วงท้ายสัปดาห์ ซึ่งจะส่งผล ต่อค่าเงินยูโรเนื่องจากตลาดตั้งความหวังไว้ว่าจะมีความคืบหน้าอย่างเป็นรูปธรรม เกี่ยวกับกองทุนฟื้นฟู (EU Recovery Fund) วงเงิน 7.5 แสนล้านยูโรเพื่อช่วยเหลือ เศรษฐกิจของประเทศสมาชิกที่ได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุด จากการแพร่ระบาดของไวรัส ขณะที่การเข้าสู่ฤดูร้อนของซีกโลกตะวันตกอาจทําให้สภาพคล่องการซื้อขายในตลาด การเงินลดต่ำลง ส่งผลให้ความผันผวนสูงขึ้นได้
สำหรับปัจจัยภายในประเทศรายงานการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.)เมื่อวันที่ 24 มิ.ย.ระบุว่าเสถียรภาพระบบการเงินไทยเปราะบางเพิ่มขึ้นจากแนวโน้มเศรษฐกิจที่หดตัวมากกว่าคาด ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปที่มีแนวโน้มติดลบ กนง.เห็นว่าไม่ได้แสดงว่าไทยกําลังเผชิญกับความเสี่ยงด้านเงินฝืด ขณะที่กนง.เน้นย้ำว่า มาตรการทางการคลังที่ตรงจุดและทันท่วงที นโยบายการเงินที่ผ่อนคลาย รวมถึงมาตรการด้านสินเชื่อมีความจําเป็นต่อการสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ อีกทั้งประเมินว่า นโยบายการคลังยังมีขีดความสามารถรองรับการฟื้นฟูและ ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจได้ อนึ่ง เราคาดว่าทิศทางนโยบาย ของทีมเศรษฐกิจชุดใหม่ในระยะถัดไปจะมีความสําคัญต่อความเชื่อมั่นของตลาดท่ามกลางสภาวะแวดล้อมที่ท้าทายสูง
บทความนี้มาจากศูนย์วิจัยกรุงศรี สามารถอ่านบทวิเคราะห์ฉบับเต็มได้ที่ www.krungsri.com
อัพเดตอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาท | แปลงค่าเงิน