- สัปดาห์ที่ผ่านมา เศรษฐกิจโลกส่งสัญญาณฟื้นตัวดีขึ้น แต่การระบาดของ COVID-19 ระลอกที่ 2 ได้เริ่มทำให้หลายประเทศกลับมาใช้มาตรการ Lockdown อีกครั้ง
- ติดตามแนวโน้มเศรษฐกิจจีนและลุ้นบทสรุปประชุม EU Summit โดยตลาดอาจยังอยู่ในภาวะเปิดรับความเสี่ยงต่อ หากภาพเศรษฐกิจจีนดีขึ้นชัดเจน ไปพร้อมกับการอนุมัติ EU Recovery Fund เพื่อพยุงเศรษฐกิจยุโรป
- เงินดอลลาร์อาจเป็นที่ต้องการของตลาดน้อยลง ภายใต้ภาวะเปิดรับความเสี่ยงของตลาด ทว่าการระบาดของ COVID-19 ระลอกที่ 2 ในหลายประเทศยังคงเป็นปัจจัยเสี่ยงที่คอยหนุนให้เงินดอลลาร์ไม่อ่อนค่าลงไปมาก
- กรอบเงินบาทสัปดาห์หน้า 31.00-31.40 บาท/ดอลลาร์ ดูความเคลื่อนไหว USD/THB
- การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินธนาคารกลางยุโรป (ECB) ในวันพฤหัสฯ ตลาดมองว่า ECB จะ“คง”อัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Deposit Rate) ที่ระดับ -0.50%พร้อมระบุแนวโน้มการฟื้นตัวเศรษฐกิจที่ดีขึ้นและอาจมีการปรับประมาณการเศรษฐกกิจที่ดีขึ้นจากครั้งก่อน
- การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ในวันพุธ ตลาดคาดว่า BOJ จะ“คง”อัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Policy Balance Rate) ที่ระดับ -0.10%ทั้งนี้ BOJ อาจปรับลดคาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจญี่ปุ่นลงเล็กน้อย ตามภาพการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอย่างช้าๆ
- การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินธนาคารกลางอินโดนีเซีย (BI) ในวันพฤหัสฯ ตลาดคาดว่า BNM จะ“ลด”อัตราดอกเบี้ยนโยบาย (7D Reverse Repo) ลง 0.25% สู่ระดับ 4.00%และจะส่งสัญญาณใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากขึ้น เพื่อหนุนการฟื้นตัวเศรษฐกิจ
- ฝั่งสหรัฐฯ –ตลาดประเมินว่าเศรษฐกิจมีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้น โดยในภาคการผลิตสหรัฐฯยังคงฟื้นตัวต่อเนื่อง สะท้อนจากดัชนีภาคการผลิตในนิวยอร์ก (Empire Manufacturing Index) ที่จะเพิ่มขึ้นแตะระดับ 8.4จุด จาก -0.2จุด ในเดือนมิถุนายน ขณะเดียวกัน การบริโภคครัวเรือนก็มีทิศทางที่สดใส โดยยอดค้าปลีก (Retail Sales) เดือนกรกฎาคมจะโตได้ 5.0% จากเดือนก่อนหน้า ขณะเดียวกันความเชื่อมั่นผู้บริโภคก็เพิ่มขึ้นแตะระดับ 79จุด
- ฝั่งยุโรป – ตลาดมองว่าภาคการผลิตอุตสาหกรรมยุโรปมีทิศทางฟื้นตัวที่ดีขึ้น โดยยอดผลผลิตอุตสาหกรรม (Industrial Production) เดือนพฤษภาคมจะโตราว 10% จากเดือนก่อน หลังจากหดตัวกว่า 17% ในเดือนเมษายน
- ฝั่งเอเชีย – ตลาดคาดว่าเศรษฐกิจจีนในไตรมาสที่ 2 จะกลับมาขยายตัวได้ราว 2.5% จากปีก่อนหน้า ดีขึ้นจากที่หดตัวถึง 6.8% ในไตรมาสก่อน สะท้อนภาพเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวดีขึ้น ภายหลังการระบาดของ COVID-19 สงบลง ทั้งนี้เศรษฐกิจจีนกำลังเผชิญปัญหาน้ำท่วมครั้งรุนแรงที่อาจกดดันการฟื้นตัวเศรษฐกิจหลังวิกฤติ COVID-19 ได้
มุมมองนโยบายการเงิน
การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินธนาคารกลางเกาหลีใต้ (BOK) ในวันพฤหัสฯ ตลาดคาดว่า BOK จะ“คง”อัตราดอกเบี้ยนโยบาย (7D Repo) ที่ระดับ 0.50%และส่งสัญญาณใช้นโยบายการเงินอื่นๆ อาทิ การอัดฉีดสภาพคล่องเพื่อพยุงตลาดการเงินมากกว่าการลดดอกเบี้ย
มุมมองเศรษฐกิจทั่วโลก