🏃 คว้าข้อเสนอ Black Friday ก่อนใคร รับส่วนลดสูงสุด 55% สำหรับ InvestingPro ตอนนี้!รับส่วนลด

5 เหตุผลที่แม้ว่าไทยจะควบคุมไวรัสได้ดี แต่...เศรษฐกิจเรายังอาจหดตัวหนักสุดในเอเชีย

เผยแพร่ 13/07/2563 09:08

ประเทศไทยเราได้รับชื่อว่าเป็นหนึ่งในประเทศที่สามารถควบคุมการระบาดของไวรัสโควิดได้ดีที่สุดในโลก โดยประเทศไทยเรานั้นไม่ได้มีการระบาดระหว่างคนในประเทศเป็นเวลาเกินกว่า 40 วันมาแล้ว ในขณะที่ประเทศมหาอำนาจใหญ่ๆอื่นๆยังมีการระบาดกันอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะประเทศอย่างสหรัฐก็ยังไม่สามารถหาทางออกในการควบคุบไวรัสระบาดนี้ได้ ทำให้ประเทศไทยเรานั้นน่าจะเป็นหนึ่งในประเทศที่มีแนวโน้มเศรษฐกิจที่ดีใช่ไหม ?

แต่... ทำไมทางนักวิเคราะห์ Bloomberg ยังถึงยกให้ #เศรษฐกิจไทยอาจเป็นประเทศที่แย่ที่สุดในเอเชียในปีนี้ ถึงแม้เราจะสามารถควบคุมการระบาดของไวรัสโควิดได้เป็นอย่างดีก็ตาม ???

เหตุผลหลักๆมีดังนี้ครับ

1. #ธนาคารแห่งประเทศไทยมองว่าเศรษฐกิจเราจะหดตัวลง -8.1% ในปีนี้

ไม่ใช่แค่ทาง Bloomberg อย่างเดียวที่ไม่เชื่อมั่นในเศรษฐกิจของเรา แต่เมื่อ 2 อาทิตย์ก่อนแม้แต่ทางแบงก์ชาติของเราเองก็ยังมองว่าเศรษฐกิจไทย #จะหดตัวอย่างรุนแรงมากที่สุดในประวัติศาสตร์ โดย GDP ไทยจะ #หดตัวรุนแรงกว่าสมัยวิกฤติต้มยำกุ้ง เมื่อปี 2540 เสียอีก ที่ติดลบ -7.6% ในไปปีนั้น

โดยปกติแล้วทางแบงก์ชาติจะเป็นผู้ที่มองตัวเลขเศรษฐกิจไทยไปในทิศทางที่ดีกว่าที่ตลาดคาด โดยจะให้ตัวเลขการเติบโตสูงกว่านักวิเคราะห์อื่นๆอยู่เสมอ เพราะฉะนั้นการที่ทางแบงก์ชาติเองยังออกมามอง GDP ติดลบหนักขนาดนี้นั้นทำให้นักลงทุนต่างกังวลกันอย่างมาก

แม้แต่ทางนักวิเคราะห์ Bloomberg ยังมองว่า GDP ไทยปีนี้จะหดตัวที่ -6% (แต่ก็ยังแย่ที่สุดในเอเชีย) ก่อนที่จะดีดกลับขึ้นมาโต 4% ในปีหน้า

2. #การท่องเที่ยวที่หายไปเป็นแผลใหญ่ของเรา

ถึงแม้ว่าเราจะควบคุมการระบาดของไวรัสในประเทศได้เป็นอย่างนี้ ทุกวันนี้ประชาชนก็เริ่มกลับมาเดินห้าง จับจ่ายใช้สอยกันมากขึ้น รถก็เริ่มติดมากขึ้นทุกวัน แต่ปัญหาคือ #เงินที่ช่วยพยุงเศรษฐกิจเรามาตลอดนั้น 15% ของ GDP ไทยมาจาก #เงินของคนต่างชาติ ตราบใดที่เรายังไม่สามารถเปิดประเทศให้คนต่างชาติเข้ามาใช้จ่ายในบ้านเราได้นั้น การใช้จ่ายจากคนในประเทศนั้นไม่เพียงพอที่จะทำให้เศรษฐกิจเราโตได้อย่างแน่นอน

ตอนนี้ประเทศเราได้ปิดการเดินทางจากคนต่างชาติไปตั้งแต่ต้นเดือนพฤษภาคม ทำให้เราขาดรายได้ในส่วนนี้ไปเกินกว่า 2 เดือนแล้ว และคาดว่าทั้งปีนี้เราจะมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาได้เพียง 8 ล้านคน ซึ่งน้อยกว่าตัวเลขปกติที่เราเคยรับอยู่ที่ 40 ล้านคนต่อปีอยู่ถึง 5 เท่า

3. #การส่งออกของเรายังโดนกระทบ

ถึงแม้จะควบคุมไวรัสในประเทศได้แต่ประเทศไทยเราก็ยังเป็นฐานการส่งออกที่สำคัญ ตราบใดที่ความต้องการใช้ของต่างประเทศลดลงเพราะไวรัสในประเทศเขา #การสั่งของจากประเทศเราก็จะลดลง และเศรษฐกิจเราก็จะโดนผลกระทบจากรายได้ที่หายไปนี้ด้วย

ตัวเลขที่ส่งออกที่ประกาศออกมาใน 5 เดือนแรกของปีนี้ ถึงแม้จะหดตัวลงไปเพียงแค่ 2 เดือน ถือว่าประเทศไทยเรายังทำได้ดีอยู่ แต่โดยรวมแล้วน่าจะทำให้การส่งออกทั้งปีนั้นยังหดตัวลงอยู่

4. #ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นนั้นก็ไม่ได้ช่วยให้ส่งออกง่ายขึ้นเลย

ในขณะที่ความต้องการใช้จากต่างประเทศหดลง ค่าเงินบาทเองก็แข็งค่าขึ้นกว่า 6% ไปแล้วเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐนับตั้งแต่เกิดไวรัสระบาดขึ้น #ทำให้ส่งออกยากขึ้นไปอีก โดยค่าเงินบาทได้แข็งค่าขึ้นจาก 33 บาทต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐในเดือนเมษายน ลงมาเป็น 31 บาทต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐในเดือนมิถุนายน

ถึงแม้ว่าทางธนาคารแห่งประเทศไทยจะรีบลดอัตราดอกเบี้ยลงมาสู่ระดับที่ต่ำที่สุดเป็นประวัติการณ์แล้วที่ 0.5% ก็ตาม ซึ่งโดยปกติการลดดอกเบี้ยนั้นจะทำให้ค่าเงินอ่อนลง แต่ในครั้งนี้กลับยังไม่เป็นผลเพราะต่างประเทศเองก็ต่างลดดอกเบี้ยกันถ้วนหน้า ทำให้ค่าเงินบาทที่แข็งแกร่งขึ้นยิ่ง #ทำให้ราคาสินค้าไทยนั้นราคาแพงขึ้นเมื่อเทียบกับข้าวของจากชาติอื่นๆ และทำให้ส่งออกยากขึ้นไปอีก

5. #การใช้เคอร์ฟิวและการปิดกิจการต่างๆ ทำให้เศรษฐกิจหยุดชะงักไป

เรื่องการปิดเศรษฐกิจเพื่อแลกกับการควบคุมระบาด หรือ เสี่ยงระบาดเพื่อให้เศรษฐกิจนั้นเดินต่อไป ? ได้เป็นคำถามที่ถกเถียงมากันนานในหลายๆประเทศและก็ยังไม่มีคำตอบไหนเป็นคำตอบที่ถูกต้องอย่างชัดเจน โดยทุกๆอย่างนั้นขึ้นอยู่กับองค์ประกอบเศรษฐกิจของแต่ละประเทศเป็นหลักและยังขึ้นอยู่กับดวงของประเทศนั้นด้วย

ยกตัวอย่างเช่นประเทศ Sweden ที่แทบจะไม่ได้ทำการปิด Lock Down เลยเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านอย่าง Denmark ที่ทำการ Lock Down อย่างเคร่งครัดแบบเต็มกำลัง แต่อัตราการถดถอยของเศรษฐกิจของทั้งคู่นั้นกลับไม่ต่างกันมาก หรือแม้แต่ประเทศที่พยายาม Lock Down อย่างสหรัฐก่อนหน้านี้ก็ยังไม่สามารถควบคุมตัวเลขการระบาดได้

เพราะฉะนั้นเราคงไม่มีทางรู้เลยว่า #หากเราไม่ได้ปิดเมืองอย่างเข้มข้นในช่วงเดือนที่ผ่านมา ไทยเราจะเป็นอย่างไร ? และเราอาจจะยังมีตัวเลขผู้ติดเชื้อระบาดอยู่ก็ได้

อย่างไรก็ตามทาง Bloomberg มองว่าการประกาศใช้ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน การใช้เคอร์ฟิวและการปิดกิจการต่าง ๆ ทำให้การบริโภคจากประชาชนนั้นลดลงอย่างมากเป็นเวลาเกือบ 25% ของปีแล้ว เราคงต้องมาช่วยกันลุ้นว่าหลังรัฐบาลคลายมาตรการ Lock Down แล้ว ตอนนี้การใช้จ่ายของเราจะกลับมาคึกคักเหมือนเดิมกันหรือไม่

และนี่ก็คือสรุปเหตุผลต่างๆที่ทำให้ทาง Bloomberg มองว่าเศรษฐกิจไทยอาจจะเป็นประเทศที่แย่ที่สุดในเอเชียในปีนี้

#ทันโลกกับTraderKP

บทวิเคราะห์นี้เผยแพร่ครั้งแรกที่เพจ Oil Trading - ทันตลาดน้ำมันและเศรษฐกิจโลกกับ KP

♦ศูนย์วิจัยกรุงศรีปรับลดคาดการณ์ GDP ไทยสู่ระดับต่่าสุดเป็นประวัติการณ์ที่ -10.3%

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย