โดย Detchana.K
Investing.com - ศุนย์วิจัยกรุงศรีเผยบทวิเคราะห์ภาพรวมเศรษฐกิจประจำสัปดาห์ระบุว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจเดือนพฤษภาคมหดตัวสูงต่อเนื่อง ฉุด GDP ไตรมาส 2 ทรุดแรง โดยเฉพาะภาคท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบหนักจากการระบาดของโรค COVID-19 มาตรการควบคุมการระบาดที่เข้มงวด ส่งผลให้ไม่มีนักท่องเที่ยวต่างชาติในช่วงไตรมาส 2 (-100% YoY) ด้านมูลค่าส่งออกเดือน พฤษภาคมหดตัวเร่งขึ้น (-23.6%) และหากหักการส่งออกทองคำ มูลค่าส่งออกจะหดตัวสูงขึ้น (-29.0%) ตามอุปสงค์ของประเทศคู่ค้าที่อ่อนแอ ส่งผลต่อเนื่องมายังกิจกรรม เศรษฐกิจในประเทศ
โดยการลงทุนภาคเอกชนติดลบสูงขึ้นที่ -12.5% สอดคล้องกับดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมที่หดตัวแรงสุดในรอบเกือบ 9 ปี เช่นเดียวกับอัตราการใช้กำลังการผลิตที่อยู่ในระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2554 ส่วนการบริโภคภาคเอกชนยังหดตัวในอัตราสูง (-12.5%) จากความเชื่อมั่นที่อยู่ในระดับต่่ำและกำลัง ซื้อภาคครัวเรือนอ่อนแอ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากตลาดแรงงานที่เปราะบางมากขึ้น
วิจัยกรุงศรีประเมินเศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบจาก COVID-19 รุนแรงกว่าที่ เคยคาดไว้มาก โดยอาจทำให้ GDP ในไตรมาส 2 ติดลบถึง 17% YoY (เดิมคาด กว่า 8%) ปัจจุบันแม้ไม่พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ในไทยนานกว่า 1 เดือน แต่การระบาดทั่วโลกยังคงรุนแรงโดยเฉพาะกลุ่มประเทศฝั่งตะวันตก และยังมีการกลับมาระบาดรอบสองในหลายประเทศ การระงับการเดินทางระหว่างประเทศ จึงมีแนวโน้มยาวนานกว่าเดิมที่คาดไว้ ส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในปีนี้คาดว่าจะหดตัวถึง -83% (เดิมคาด -60%) แม้หลังจากนี้อาจมีการเปิดให้ท่องเที่ยวแบบจับคู่เดินทางก็ตาม (Travel Bubble)
กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ชะลอตัวและผลเชิงลบนอกจากจะส่งผลกระทบอย่างหนักต่อภาคท่องเที่ยวแล้ว ยังส่งผลเป็นทอดๆ ต่อไปยังหลายภาคส่วนรุนแรง กว่าคาด โดยอาจมีแรงงานไทยราว 80% (เดิมคาด 50%) ที่ได้รับผลกระทบ ในช่วงไตรมาส 2 ที่มีการระบาดหนัก และคาดว่าในไตรมาสสุดท้ายของปีนี้จะยังมีแรงงานที่ได้รับผลกระทบอยู่ 30% (เดิมคาด 10%) ซึ่งจะส่งผลต่อรายได้ และการใช้จ่ายของภาคครัวเรือน
ในส่วนของผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19 จะทำให้ GDP ปีนี้ลดลงแรงถึง 10.6% นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยลบจากความล่าช้าของการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและปัญหาภัยแล้งซึ่งจะลดทอน GDP ปีนี้ลงอีก 1.0% และ 0.4% ตามลำดับ ส่วนปัจจัยบวกจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ คาดว่าจะมีส่วนหนุน GDP ได้ราว 1.7% ทั้งนี้ นโยบายการเงินและ การคลังที่ประกาศออกมาอาจจะไม่เพียงพอในการยับยั้งการถดถอยของเศรษฐกิจ และอาจไม่มากพอที่จะกระตุ้นให้การเกิดการใช้จ่ายของภาค ครัวเรือนและการลงทุนของภาคเอกชน โดยรวมแล้ววิจัยกรุงศรีจึงคาดว่า เศรษฐกิจปีนี้จะหดตัวที่ -10.3% (เดิม -5.0%) เลวร้ายกว่าช่วงวิกฤตการเงินเอเชียในปี 2541
อัตราเงินเฟ้อเดือนมิถุนายนแม้ขยับขึ้นจากเดือนก่อน แต่ยังสะท้อน ความอ่อนแอของอุปสงค์ในประเทศ ล่าสุดอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ -1.57% YoY ติดลบน้อยลงจาก -3.44% ในเดือนพฤษภาคม ผลจากการเพิ่มขึ้นของดัชนีราคา ในกลุ่มข้าว แป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง (+5.52%) เครื่องประกอบอาหาร (+3.40%) และเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ (+1.95%) ขณะที่ดัชนีราคาในหมวดพลังงานแม้ติดลบ อยู่แต่มีอัตราที่ชะลอลง (-11.89% จากเดือนก่อน -27.38%).ตามความต้องการที่ เพิ่มขึ้นหลังมีการผ่อนคลายให้หลายกิจกรรมทางเศรษฐกิจกลับมาด าเนินการ ด้าน อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (หักราคาหมวดอาหารสดและพลังงาน) ติดลบเป็นครั้งแรกใน รอบเกือบ 11 ปีที่ -0.05% จาก 0.01% เดือนพฤษภาคม ส าหรับในช่วงครึ่งแรกของปี 2563 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ -1.13% และ 0.32% ตามล าดับ
แม้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปล่าสุดจะกระเตื้องขึ้นจากเดือนก่อน แต่อุปสงค์ภายในประเทศยังมีความอ่อนแอสะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่หดตัว และ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคล่าสุดเดือนมิถุนายนยังอยู่ในระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ อีกท้งยังเผชิญแรงกดดันจากปัญหาการว่างงานและหนี้ภาคครัวเรือนที่เพิ่มสูงขึ้น
บทวิเคราะห์จากศูนย์วิจัยกรุงศรี