รับส่วนลด 40%
ใหม่! 💥 รับ ProPicks เพื่อดูกลยุทธ์ที่ให้ผลตอบแทน ชนะดัชนี S&P 500 มากกว่า 1,183% รับส่วนลด 40%

รีวิวหุ้น Alibaba ยักษ์ใหญ่ค้าขายระดับโลก

เผยแพร่ 09/07/2563 10:37
อัพเดท 09/07/2566 17:32

Alibaba (NYSE:BABA) ถูกก่อตั้ง เมื่อวันที่ 4 เมษายน 1999 โดยนาย Jack Ma และกลุ่มเพื่อน

หลังจากเห็นแนวโน้มการค้าขายออนไลน์ที่จะเติบโตอย่างมากในช่วงที่อยู่ที่อเมริกา

ปัจจุบัน Alibaba มีทั้งหมด 5 ธุรกิจหลักๆดังนี้

ธุรกิจแรกคือการค้าขายออนไลน์ โดยมี Alibaba.com เป็นแหล่งรวมธุรกิจซื้อขายสินค้าในรูปแบบบริษัท

บริษัทในไทยอยากนำเข้ามอเตอร์ไฟฟ้าจากจีน สามารถเข้าไปคุยกับบริษัทผู้ผลิตเพื่อสั่งสินค้าได้โดยตรง

มีเวปไซต์ Taoboa เป็นสถานที่บริษัทขนาดกลางและเล็กมาขายของให้กับผู้ซื้อรายย่อย หรือเรียกว่า C2C

แล้วก็มี Tmall ที่เป็นเวปที่มีร้านค้าชื่อดังมาขายของให้รายย่อย ที่แตกต่างจาก Taoboa คือคุณภาพสินค้าและสินค้าปลอมน้อยกว่าเพราะมาจากเจ้าของแบรนด์ดังๆ

เพื่อทำธุรกิจแบบครบวงจรทาง Alibaba เลยเริ่มธุรกิจร้านขายของชำที่เรียกว่า Hema เป็นร้านขาย ผัก ผลไม้ อาหารทะเลสด และอื่นๆ

สามารถเข้าไปซื้อที่ร้านหรือสั่งทางมือถือแล้วจะมีคนมาส่งภายใน 30 นาทีถ้าอยู่ห่างภายใน 3 กิโลเมตร

Alibaba นำข้อมูลการซื้อขายของลูกค้ามาวิเคราะห์เพื่อเพิ่มยอดขายอีกด้วย

มีแอปพริเคชั่น Ele.me เป็นบริการส่งอาหารคล้ายๆ Grab กับ Lineman บ้านเรา

มี Aliexpress ที่ขายของในจีนให้ลูกค้ารายย่อยทั่วโลก

Tmall Global เป็นช่องทางเชื่อมให้ธุรกิจจากต่างประเทศเข้าไปขายของในจีนได้

สินค้าไทยอย่างเครื่องสำอางค์ Mistine ก็เข้าตลาดจีนด้วยช่องทางนี้

ในต่างประเทศมี Lazada เป็นหัวเรือใหญ่ทำธุรกิจใน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงค์โปร์ ไทย และเวียดนาม

นอกจากนี้ยังมีขายส่งอย่าง 1688.com และมีบริษัทโลจิสติกส์อย่าง Cainiao

รายได้ในส่วนนี้มากถึง 86% ของรายได้ทั้งหมด

ธุรกิจที่สองคือการให้บริการคลาวด์ Alibaba Cloud ซึ่งรวมทั้ง เซิร์ฟเวอร์ แอปพลิเคชัน ระบบข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) และไอโอที รายได้เป็น 7% ของทั้งหมด

เติบโตได้ถึง 62% ในช่วงไตรมาสที่ 3 ที่จบเดือนธันวาคม 2019

ธุรกิจที่สามคือการให้บริการสื่อความบันเทิง โดยมี Youku ที่เป็นผู้ให้บริการวีดีโอสตีมมิ่งใหญ่เป็นอันดับที่ 3 ในจีน และมี Alibaba Music ให้บริการเพลงแบบสตีมมิ่ง รายได้คิดเป็น 6% ของรายได้ทั้งหมด

ส่วนที่สี่คือธุรกิจเทคโนโลยีในอนาคต (Innovation Initiatives) ทำแผนที่แบบ Google (NASDAQ:GOOGL) Map และทำระบบนำทาง รายได้คิดเป็น 1%

Alibaba ยังถือ Ant Financial 33% ให้บริการระบบจ่ายเงิน Alipay การบริหารเงิน ประกัน และปล่อยกู้รายย่อย แต่ Ant Financial ไม่ได้ถูกรวมไว้ในงบ Alibaba

รายได้ของบริษัทเติบโตได้อย่างต่อเนื่องจากเทรนด์การซื้อของออนไลน์

ปี 2017 รายได้ $22,158 ล้าน กำไร $6,114 ล้าน

ปี 2018 รายได้ $35,037 ล้าน กำไร $8,973 ล้าน

ปี 2019* รายได้ $52,758 ล้าน กำไร $12,304 ล้าน

*รอบปีจบเดือนมีนาคม 2019

รายได้ในปี 2020 ใน 3 ไตรมาสแรกยังเติบโตได้ดี ไตรมาสล่าสุดเติบโตได้ 38%

จะเห็นได้ว่ากำไรสุทธิใน 3 ปีหลังสุดเติบโตได้ถึง 41% แบบทบต้น และมีอัตรากำไรสุทธิอยู่ที่ 23.25%

เมื่อเทียบกับ Amazon ที่ทำได้ 4.14% แล้วบริษัทมีอัตราทำกำไรสุทธิที่สูงกว่ามาก

นอกจากนี้บริษัทยังสามารถสร้างกระแสเงินสดอิสระได้ถึง $14,186 ล้านต่อปี

กระแสเงินสดและเงินลงทุนระยะสั้นมีอยู่ $28,44 ล้าน ในขณะที่หนี้สินระยะสั้นมีอยู่ $29,073 ล้าน

บริษัทมีสถาพคล่องที่สูงมาก สามารถอยู่รอดได้สบายในช่วงวิกฤต

ข้อมูลจาก Morningstar คาดการณ์ไว้ว่ารายได้ของ Alibaba จะเติบโตได้ 22% ทบต้นในช่วงปี 2020-2024 จากความโดดเด่นของการเติบโตการซื้อขายออนไลน์ รวมทั้งธุรกิจคลาวด์ที่เติบโตได้อย่างต่อเนื่อง

สุดท้ายหุ้น Alibaba มีคูเมืองที่แข็งแกร่ง คู่แข่งอย่าง JD.Com เข้ามาแข่งได้ยาก ด้วยขนาดของเครือข่ายผู้ใช้ที่ใหญ่กว่า พร้อมทั้งแนวคิดการเติบโตธุรกิจที่ครบวงจรออนไลน์และออฟไลน์

หุ้น Alibaba ที่อยู่ในตลาด Nasdaq เป็นแบบ American Depositary Receipts (ADR)

ADR เป็นรูปแบบการซื้อขายหุ้นต่างประเทศที่ช่วยให้นักลงทุนในตลาดหุ้นอเมริกาสามารถลงทุนซื้อขายหุ้นจากบริษัทต่างประเทศได้

โดยมีโบรกเกอร์ช่วยบริหารจัดการเรื่องเงินปันผลและอัตราแลกเปลี่ยนให้

สำหรับนักลงทุนไทยที่ซื้อขายหุ้นอเมริกาแบบ Offshore

การลงทุนใน ADR จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมขึ้นมาตามแต่ละโบรกเกอร์ที่กำหนดไว้ #หุ้นอเมริกา #Ecommerce #Alibaba

บทวิเคราะห์จาก เพจ Billionaire VI

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย