💎 ดูบริษัทต่าง ๆ ที่มีสุขภาพทางการเงินที่ดีที่สุดในตลาดปัจจุบันเริ่มต้นเลย

ขาดทุน ตลอด ท้อแท้ จะไปต่อ หรือ พอที

เผยแพร่ 30/06/2563 11:33

ผมเชื่อว่าหลายๆคน ที่ลงทุนมาสักระยะนึง แล้วรู้สึกไม่ประสบความสำเร็จสักที มิหนำซ้ำยังเจอเหตุการณ์ที่ทำให้ขาดทุนหนัก ไม่ว่าจะเป็นสถานการณ์ของตลาด หรือ ด้วยความผิดพลาดของตนเอง จนทำให้เสียกำลังใจ และมีคำถามมากมาย ต่อตนเองว่า เราควรทำอย่างไร จะสู้ต่อ หรือหาอะไรทำอย่างอื่นดีกว่า

ลำดับแรก ผมอยากชวนให้ตั้งคำถามต่อตนเองเสียก่อนว่า

“ที่เราตัดสินใจเข้ามาในตลาด มาลงทุน มีวัตถุประสงค์อะไร”

การมีจุดประสงค์ของการลงทุน ที่แน่ชัดจะเป็นตัวกำหนดวิธีการ วิธีคิด และแนวทางการลงทุน ให้ชัดเจน ตอบโจทย์ความต้องการของเรามากยิ่งขึ้น แม้ว่าจะลงทุนในตลาดเดียวกัน แต่ถ้ามีจุดประสงค์ที่แตกต่างกันออกไป วิธีการก็ย่อมแตกต่างกันออกไป

ขอยกตัวอย่างวัตถุประสงค์ หลักๆ มีดังนี้ (อาจจะมีมากกว่านี้แล้วแต่บุคคล)
1. ปกป้องความเสี่ยงของสินทรัพย์
2. กระแสเงินสด
3. รายได้ที่งอกเงย (Passive Income)
4. สร้างกำไรจากราคาสินทรัพย์ที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง
5. และอื่นๆ อีกมากมาย

ทุกๆครั้งที่ผมตัดสินใจลงมือทำอะไรผมมักจะมีคำถามเกี่ยววัตถุประสงค์ 3 ด้านดังนี้
1. การเงิน เราได้อะไร
2. การเรียนรู้ ลงมือทำสิ่งนี้เราได้เรียนรู้เรื่องอะไร
3. การพัฒนา เมื่อทำสิ่งนี้เราได้ทักษะอะไรเพิ่มบ้าง

ลำดับที่ 2 หาวิธีการวัดผล

ลองกลับไปทบทวนดูนะครับว่า มีจุดประสงค์อะไร เราไม่ควรมีหลายจุดประสงค์ด้านการเงินในที่ที่เดียวกัน (แต่ขอให้ครบ 3 ด้านข้างต้น) จะทำให้เราวัดผลไม่เห็นชัด เช่น ลงทุนหุ้น มี 1 พอร์ต จุดประสงค์มีทั้ง เทรดสั้นปิดกำไรในวันเน้นกระแสเงินสด และ เทรดยาวหวังส่วนต่าง และ เงินปันผล หากมีหลายจุดประสงค์ในที่ที่เดียวกัน ผมแนะนำให้แยกพอร์ตเสียดีกว่าครับ เพื่อการวัดผลที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ไม่แน่ว่าบางครั้งที่เรารู้สึกท้อใจ อาจจะเป็นเพราะการวัดผลของเราไม่ดีพอ จนทำให้ไม่เห็นภาพความก้าวหน้าของการลงทุน

ลำดับที่ 3 วิธีการลงทุนสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ หรือ ไม่

ตรวจดูวิธีการลงทุนให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ ลองหาต้นแบบหรือแนวทางการลงทุนที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ต้องการ และสอดคล้องกับตัวเราเอง

อยากให้ตรวจสอบดูว่าวิธีการนั้นๆเหมาะกับเราไหม ดังนี้
- ตรงกับจริต หรือนิสัยของเรา
- การลงทุนนั้นจะต้องไม่กระทบต่อเวลาการงานหลักของเรา
- กระทบต่อทรัพยากรของเราที่มีอะไรบ้าง อย่างไร เช่น เงิน เวลา และอื่นๆ

ลำดับที่ 4 เราจัดสรรเงินลงทุนเหมาะสมหรือไม่

ข้อนี้หลายๆคนมักจะตกม้าตาย ทั้งๆที่มีจุดประสงค์ การวัดผล วิธีการ ที่ชัดเจน และเข้ากับตัวเรา แต่ไม่สามารถจัดสรรเงินได้เหมาะสม ทำให้สิ่งต่างๆที่ทำมาพังไปหมด

จะจัดสรรเงินทุนได้อย่างไร เริ่มแรกเลยคือ บริหารเงินส่วนบุคคล สำหรับผมแนะนำคือใช้วิธี 6 Jars สามารถอ่านรายละเอียดได้ที่บทความ

“กระดุมเม็ดแรก สำหรับ เทรด หุ้น / Forex ด้วยตนเอง”

ใครต้องการลงทุน / เทรด ด้วยตนเอง ไม่ควรเริ่มต้นที่เงินเก็บ ของตน เพราะช่วงแรกเป็นช่วงการเรียนรู้ ควรเริ่มต้นด้วยเงินแต่น้อย ในบทความข้างต้นผมจะเล่าว่าเราจะเริ่มแบ่งเงินอย่างไร

การเงินส่วนบุคคลเป็นอย่างไร พอร์ตการลงทุนของเราจะยิ่งเป็นเช่นนั้น และ ยิ่งขยายตัวตนของเราชัดเจนยิ่งขึ้น ถ้าถามว่าการลงทุน หรือพอร์ต ของคนคนน้ัน เป็นอย่างไร ดูได้จากนิสัยการบริหารเงินของเขาได้เลย

ผมขอสรุปอีกครั้ง เมื่อใดที่รู้สึก ท้อแท้ ขาดกำลังใจ ผมอยากให้กลับมาทบทวน ลำดับทั้ง 4 นี้ คือ
1. วัตถุประสงค์ของการลงทุน คืออะไร
2. การวัดผลของการลงทุน ชัดเจนไหม และ วัดอะไรบ้าง
3. วิธีการลงทุนเหมาะสม กับเราไหม
4. การจัดสรรเงินทุนเหมาะสมกับตนเองหรือไม่

เมื่อทบทวนทั้ง 4 ข้อนี้แล้ว แม้พบว่ายังอยู่ในแนวทาง ทุกอย่าง แต่ก็ยังรู้สึก ท้อ หรือ ไม่มีกำลังใจสู้ต่อ ลำดับที่ 5 ครับ

ลำดับที่ 5 ทยอยเก็บความสำเร็จ

การตั้งเป้าหมายที่ใหญ่ ไม่ผิด และผมก็สนับสนุนด้วยครับ แต่อย่าลืมมีเป้าหมายย่อยๆ รายทางด้วยครับ เป้าหมายใหญ่ของเราอาจจะใช้เวลา 5 ปี 10 ปี แต่เราควรจะมีเป้าหมายย่อยๆ รายปี รายไตรมาส รายเดือน ไปจนถึง รายสัปดาห์

อย่าเอาความสุข หรือ ความสำเร็จ ไปผูกกับเป้าหมายระยะยาวที่ไกลๆ เพียงอย่างเดียว แบ่งย่อยลงมา ให้ความสำเร็จสามารถเกิดขึ้นได้ทุกๆวัน ทุกๆสัปดาห์ ทุกๆเดือน และทุกๆปี เมื่อทำมันได้ทำสำเร็จแล้ว ให้รางวัลกับตัวเองบ้าง ไม่ต้องมากมายอะไร อย่างๆน้อยๆก็ขอให้รู้สึกขอบคุณตนเอง ขอบคุณผู้คนที่ช่วยเหลือเราให้ประสบความสำเร็จ ที่ทำให้ภารกิจเราลุล่วงไป สิ่งเหล่านี้เปรียบเสมือนเชื้อเพลิงชั้นดีที่คอยเติมกำลังใจให้เราก้าวฟันฝ่าอุปสรรคต่อไป

เป็นกำลังใจให้ทุกๆท่านนะครับ

บทความนี้จัดทำเลยเผยแพร่ครั้งแรกทางเพจ About Traders

บทความห้ามพลาด

♦การเฝ้ากราฟตลอดเวลา ใช่คำตอบของการเทรด ???

♦เราไม่สามารถเขียนความสำเร็จของตนเองได้ ด้วยปากกาของคนอื่น

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย