หลียวหลัง
เงินบาทปิดแข็งค่าที่ 31.44 ต่อดอลลาร์ USD/THBหลังซื้อขายในกรอบ 31.44-31.81 โดยเงินบาทแตะระดับแข็งค่าสุดในรอบ 2 เดือนครึ่งครั้งใหม่ท่ามกลางกระแสเงินทุนไหลเข้า ทั้งนี้ก ลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิในตลาดหุ้นและพันธบัตรไทย 6.0 พันล้านบาท และ 1.44 หมื่นล้านบาท ตามลําดับ
เงินดอลลาร์ยังคงอ่อนค่าลงเทียบกับสกุลเงินหลักส่วนใหญ่ ยกเว้นเงินเยนUSD/JPYขณะที่ตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง โดยเงินยูโรแข็งค่าสูงสุดในรอบ 3 เดือนหลังธนาคารกลางยุโรป(อี ซีบี)ขยายมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการเพิ่มวงเงิน โครงการซื้อพันธบัตรฉุกเฉินเป็น 1.35 ล้านล้านยูโร และ ขยายระยะเวลาไปถึงกลางปี 64 นอกจากนี่ เงินยูโรยังได้แรงหนุนหลังเยอรมันออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจวงเงิน 1.3 แสนล้านยูโร อย่างไรก็ตาม เงินดอลลาร์ลดช่วงลบท้าย สัปดาห์หลังข้อมูลจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯพลิกเป็นเพิ่มขึ้น 2.5 ล้านตําแหน่งในเดือนพ.ค.สวนทางการ คาดการณ์ของตลาดว่าจะลดลง 7.5 ล้านตําแหน่ง
แลหน้า
เงินบาทมีแนวโน้มซื้อขายในกรอบ 31.35-31.75 ต่อดอลลาร์ นักลงทุนจะให้ ความสนใจกับการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด)ในวันที่ 9-10 มิ.ย. ซึ่งคาดว่าจะตรึงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ตามเดิมแต่อาจส่งสัญญาณใช้เครื่องมือควบคุมเส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตร (Yield Curve Control) หลังจากอัตราผลตอบแทนแทนพันธบัตรรัฐบาล สหรัฐฯช่วงอายุ 10 ปี ปรับตัวสูงขึ้นมาแล้วกว่า 30 bps นับตั้งแต่ปลายเดือนเม.ย.ขณะที่ ก.คลังของสหรัฐฯต้องกู้เงินจํานวนมากจากตลาดเพื่ใช้ เยียวยาเศรษฐกิจซึ่งได้รับผลกระทบจาก COVID-19
สําหรับปัจจัยในประเทศ ก.พาณิชย์รายงานอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือนพ.ค. ลดลง 3.44% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นการติดลบมากที่สุดในรอบ 10 ปี 10 เดือน ส่งผลให้ไทย เข้าสู่ภาวะเงินฝืดทางเทคนิคเนื่องจากเงินเฟ้อติดลบติดต่อกัน 3 เดือน อย่างไรก็ดี ธปท.กล่าวว่าไทยยังไม่เข้าข่ายเงินฝืด ตามนิยามของการดําเนินนโยบายการเงินอีกทั้งเป็นการลดลงจากราคาพลังงานเป็นหลักโดยธปท.ยังคาดว่าเงินเฟ้อปี 64 จะกลับมาเป็นบวกแต่ยังมีความเสี่ยงเข้าสู่ภาวะเงินฝืดได้ หากเศรษฐกิจย่ำแย่กว่าที่ประเมินไว้มาก อนึ่ง ในระยะนี้เรา มองว่าแม้กระแสเงินทุนไหลเข้าเริ่มกลับมาในกลุ่มตลาดเกิดใหม่รวมถึงไทยจากความหวังต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก แต่นักลงทุนอาจระมัดระวังมากขึ้นต่อท่าทีของธปท.ที่ไม่ต้องการให้เงินบาทแข็งค่าเกินปัจจัยพื้นฐานรวมถึงกรณีการทําธุรกรรมของผู้ค้าทองคําที่กระทบอัตราแลกเปลี่ยนซึ่ง ทางการเฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิด
บทความนี้มาจากศูนย์วิจัยกรุงศรี สามารถอ่านบทวิเคราะห์ฉบับเต็มได้ที่ www.krungsri.com
อัพเดทอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทประจำวันล่าสุด
https://th.investing.com/currencies/usd-thb
แปลงอัตราแลกเปลี่ยน
https://th.investing.com/currency-converter/
ไม่อยากพลาดบทวิเคราะห์ดีๆ อย่าลืมกด "ติดตาม" นะครับ