ภาพรวมตลาดลงทุนสัปดาห์นี้: ตลาดยังคงมองบวกแม้ข้อมูลทางเศรษฐกิจออกมาย่ำแย่ที่สุด
- ตลาดหุ้นยังคงปรับตัวขึ้นได้แม้ตัวเลขนอนฟาร์มและอัตราการว่างงานจะสร้างสถิติย่ำแย่ที่สุด
- ราคาน้ำมันเป็นไปได้ที่ปรับตัวขึ้นต่อเนื่องครั้งแรกในรอบ 11 สัปดาห์
- ข่าวเศรษฐกิจที่ขัดแย้งกับพฤติกรรมราคาอาจทำให้ขาขึ้นในตลาดหุ้นเจอปัญหา
เป็นภาพที่ไม่ได้เห็นกันบ่อยนักที่นักลงทุนจะหลับหูหลับตาฝากความหวังไว้กับขาขึ้นของตลาดหุ้นสหรัฐฯ โดยไม่สนใจข่าวนอนฟาร์มหรือตัวเลขอัตราการว่างงานที่สร้างสถิติใหม่แย่ที่สุดในรอบ 70 ปีเลยแม้แต่น้อย วันศุกร์ที่ผ่านมาตลาดหุ้นยังคงปรับตัวขึ้นเป็นวันที่ 2 ติดต่อกันท่ามกลางความเชื่อว่าสหรัฐฯ ได้ผ่านพ้นสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุดจากโควิด-19 ไปแล้ว ยิ่งไปกว่านั้นราคาน้ำมันดิบปิดสัปดาห์ด้วยการปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องนับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์
แม้เราจะมองว่าแรงจากตลาดกระทิงเมื่อสัปดาห์ที่แล้วจะยังส่งผลต่อเนื่องมาจนถึงสัปดาห์นี้ได้ แต่พฤติกรรมราคาที่สวนทางกับข่าวปัจจัยพื้นฐานก็ยังทำให้เรามองว่ากราฟยังต้องพิสูจน์ตัวเองกับจุดสูงสุดล่าสุดก่อน
รูปแบบราคาขาลงที่เกิดซ้อนกันแสดงให้เห็นความเป็นไปได้ว่าตลาดหมีกำลังจะมาเยือน
วันศุกร์ที่ 8 พฤษภาคม 2020 ดัชนี S&P 500 วิ่งขึ้นโดยที่ทั้ง 11 กลุ่มหุ้นหลักของดัชนีกลายเป็นตัวเลขสีเขียวทั้งหมด กลุ่มพลังงานวิ่งขึ้นมาจากราคาติดลบเมื่อไม่กี่สัปดาห์ก่อนและสร้างผลปรับตัวขึ้นรายวัน 4.6% ตลอดทั้งสัปดาห์คิดเป็น 8.2% กลุ่มอุตสาหกรรมไม่น้อยหน้าสร้างผลงานปรับตัวขึ้นรายวันอยู่ที่ 2.5% มีตัวเลขการปรับตัวขึ้นตลอดทั้งสัปดาห์อยู่ที่ 1.32% ส่วนหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีปรับขึ้น 1.4% รวมแล้วทั้งสิ้นปิดบวก 6.6% ตลอดทั้งสัปดาห์เพราะอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์กำลังเป็นที่ต้องการของตลาด
โดยภาพรวมแล้ว ตลาดในแต่ละกลุ่มสามารถทำผลงานกลับมาจากจุดต่ำสุดของเดือนมีนาคมได้อย่างยอดเยี่ยม ถึงกระนั้นก็ยังมีความเสี่ยงที่นักลงทุนในตลาดสินค้าโภคภัณฑ์จำเป็นต้องกังวลอยู่
จากการวิเคราะห์ทางเทคนิคพบว่าแรงขาขึ้นจากวันศุกร์กำลังมีความเป็นไปได้ที่จะสร้างรูปแบบหัวไหล่ (Head & Shoulder) ซึ่งการสร้างครั้งนี้เกิดหลังจากที่ราคาหลุดออกมาจากสามเหลี่ยมลู่ขึ้น (Rising Wedge) ด้วย เราจึงมองว่าในสัปดาห์นี้โอกาสที่ราคาจะทะลุกลับลงมาเป็นขาลงมีสูงขึ้นหลังจากที่ราคาสร้างจุดสูงสุดใหม่ล่าสุดได้เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
การที่นักลงทุนในตลาดเริ่มแตกกลุ่มออกมาจากตลาดกระทิงมากขึ้นเรื่อยๆ และหันไปอยู่กับฝ่ายตลาดหมีแทนไม่ใช่สิ่งที่ผิดคาดเท่าไหร่เพราะทุกคนก็เห็นๆ ตัวเลขทางเศรษฐกิจกันอยู่ว่าสวนทางกับขาขึ้นในตอนนี้มากแค่ไหน กราฟขาขึ้นที่เกิดในรูปแบบสามเหลี่ยมลู่ขึ้นคือการแบกความหวังของนักลงทุนที่ต้องการให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ ฟื้นตัวกลับมาโดยเร็ว การทะลุเส้น demand-line ลงมาในรูปหมายความว่ามีนักลงทุนฝั่งกระทิงบางส่วนยอมปล่อยคำสั่งซื้อเรียบร้อย
รูปแบบชี้นำไปสู่ขาลงอันต่อมาคือรูปแบบหัวไหล่ซึ่งการเกิดหลังจากรูปแบบสามเหลี่ยมลู่ขึ้นเรียกว่าเข้าทางขาลงเลยเพราะเป็นการยืนยันสัญญาณลงจากสามเหลี่ยมลู่ขึ้น การที่ไหล่ขวาไม่สามารถขึ้นเหนือจุดสูงสุดก่อนหน้าได้คือการบอกว่าแรงในขาขึ้นกำลังอ่อนแรงลง ตอนนี้สิ่งที่นักลงทุนต้องรอดูคือการลงมาทดสอบเส้น neckline ของราคา ถ้าทั้งสองรูปแบบนี้เป็นขาลงของจริงกราฟจะต้องสามารถหลุดเส้น neckline นี้ลงมาได้
การเกิดรูปแบบขาลงทั้งสองนี้เป็นไปตามข้อมูลตัวเลขทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในตลาด แม้จะพยายามหลับหูหลับตาเชื่อและวางความหวังไว้กับขาขึ้นครั้งนี้มากแค่ไหน แต่ตัวเลขความเป็นจริงของข้อมูลทางเศรษฐกิจเป็นข้อมูลจริงที่ไม่อาจปฏิเสธได้ ตัวเลขนอนฟาร์มในครั้งนี้แย่ที่สุดในประวัติศาสตร์ตั้งแต่เคยมีการรายงาน
ตัวเลขนี้มา เลขการตกงานที่กระโดดขึ้นไปเกินกว่า 10% ภัยพิบัติโรคระบาดที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจหนักที่สุดนับตั้งแต่ยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 จนธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) ต้องออกมาตรการทำ QE อย่างไม่จำกัด
อีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้ตลาดหุ้นปรับตัวขึ้นได้เพราะราคาน้ำมันดิบที่ยังคงรักษาขาขึ้นเอาไว้ได้อย่างต่อเนื่อง
การร่วงลงของราคาน้ำมันดิบเริ่มขึ้นในเดือนมีนาคมเมื่อเครื่องบินไม่สามารถบินได้ ธุรกิจถูกบังคับให้ระงับให้บริการ รถยนต์และยานพาหนะที่ใช้น้ำมันส่วนใหญ่ต้องจอดเอาไว้ที่บ้าน การกลับมาเปิดพื้นที่ทางเศรษฐกิจอีกครั้งในตอนนี้ถือเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนมีนาคม ที่สำคัญคือนักลงทุนยังคงหวังว่าขาขึ้นครั้งนี้จะสามารถเรียกความเชื่อมั่นของผู้คนให้กลับมาได้อย่างรวดเร็วและนั่นคือสาเหตุว่าทำไมราคาน้ำมันดิบถึงปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องได้นับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์
ในทางเทคนิคแล้วราคาน้ำมันดิบตอนนี้กำลังทดสอบเส้น neckline ของรูปแบบหัวไหล่ หากหลุดขึ้นไปได้กราฟจะต้องเผชิญหน้ากับเส้นเทรนด์ไลน์ขาลงใหญ่ที่ลากมาตั้งแต่วันที่ 8 มกราคม อย่างไรก็ตามเราเชื่อว่าราคาน้ำมันดิบจะมีกรอบราคาการวิ่งอยู่ระหว่าง $20-$30 จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงที่มีนัยสำคัญมากพอเข้ามากระทบ
แม้ว่ารายงานตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตรจะสามารถสร้างผลกระทบต่อสกุลเงินดอลลาร์ได้มากขนาดไหน แต่ถึงอย่างไรดอลลาร์สหรัฐก็ถือเป็นราชาแห่งสกุลเงินและในบางครั้งสกุลเงินนี้ก็ทำหน้าที่เป็นสินทรัพย์สำรองปลอดภัยได้ นั่นคือเหตุผลว่าทำไมดัชนีดอลลาร์สหรัฐถีงปรับตัวลงมาเล็กน้อย ทั้งๆ ที่ตัวเลขนอนฟาร์มน่ากลัวขนาดนั้น ดัชนีดอลลาร์สหรัฐฯ แม้จะลงไปเพราะข่าวแต่สุดท้ายก็สามารถดีดตัวกลับขึ้นมาจากติดลบ 0.7% เหลือเพียงไม่ถึง 0.1% ได้
ในมุมมองของการวิเคราะห์ทางเทคนิคพบว่ากราฟดัชนีดอลลาร์สหรัฐยังคงวิ่งอยู่ในกรอบสามเหลี่ยมสมมาตร นอกจากนี้กราฟยังมีแนวรับเป็นเส้นค่าเฉลี่ย 50, 100 และ 200 รองรับเป็นแนวรับสำคัญอยู่
หลังจากความพยายามที่จะทะยานขึ้นไปยัง $1,800 แข่งกับดอลลาร์ในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยอยู่หลายครั้ง ตอนนี้ขาขึ้นในราคาทองคำเริ่มอ่อนแรงเมื่อคนหันไปเชื่อถือขาขึ้นในตลาดหุ้นมากยิ่งขึ้น
อุปสงค์ที่น้อยกว่าอุปทานในตอนนี้ส่งผลให้กราฟราคาทองคำในทางเทคนิคเริ่มสร้างรูปแบบสามเหลี่ยมสมมาตรลู่ลงแล้ว อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาร่วมกับพฤติกรรมราคาในดัชนี S&P 500 ประกอบเข้ากับการยกตัวสูงขึ้นของจุดต่ำสุด 2 ครั้งล่าสุด (เส้นประสีดำ) พบว่ามีความเป็นไปได้ที่ราคาทองคำจะสามารถปรับตัวกลับขึ้นไปได้ในสัปดาห์นี้ ดังนั้นสิ่งที่นักลงทุนควรทำคือรอดูว่ารูปแบบสามเหลี่ยมทั้งสองสามเหลี่ยมไหนจะเป็นผู้ชนะ จากนั้นค่อยลงทุนตามฝั่งนั้นไป
กราฟบิทคอยน์สามารถทะลุกรอบราคาขาลงขึ้นมาได้สำเร็จ เชื่อว่ากราฟจะสามารถยืนอยู่ในแนวโน้มขาขึ้นได้จนกว่าจะถึงวันอังคารที่ 12 พฤษภาคมนี้ซึ่งจะเป็นวันที่เหรียญบิทคอยน์จะลดอัตราการผลิตของตัวเองลงครึ่งหนึ่งในทุกๆ 210,000 บล็อก (Halving) หลังจากที่กระบวนการลดจำนวนเหรียญจบลงแล้วคาดว่ากราฟบิทคอยน์จะปรับตัวกลับลงมาทดสอบเส้นแนวรับล่าสุดที่พึ่งจะทะลุขึ้นมา
ข่าวเศรษฐกิจที่ต้องจับตามองในสัปดาห์นี้ (เวลาคำนวณเป็น EDT)
วันจันทร์
21:30 (ประเทศจีน) ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI): แบบรายเดือนคาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก -1.2% เป็น -0.5% ส่วนแบบปีต่อปีจะเพิ่มขึ้นจาก 3.7% เป็น 4.3%
วันอังคาร
08:30 (สหรัฐฯ) ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (Core CPI) คาดว่าจะปรับตัวลดลงจาก -0.1% เป็น -0.2%
22:00 (นิวซีแลนด์) ผลการตัดสินใจเกี่ยวกับการปรับอัตราดอกเบี้ยและคำแถลงการณ์จากแบงก์ชาตินิวซีแลนด์: คาดว่าจะคงที่อยู่ที่ 0.25%
วันพุธ
02:00 (สหราชอาณาจักร) รายงานตัวเลข GDP: แบบไตรมาสต่อไตรมาสอาจปรับลดลงจาก 1.1% เป็น -2.1% ส่วนแบบไตรมาสต่อไตรมาสจะปรับตัวลดลงจาก 0.0% เป็น - 2.5%
02:00 (สหราชอาณาจักร) รายงานตัวเลขผลผลิตภาคอุตสาหกรรม: คาดว่าจะลดลงจาก 0.5% เป็น -5.7%
08:30 (สหรัฐฯ) ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) คาดว่าจะลดลงจาก -0.2% เป็น -0.5% ในเดือนเมษายน
10:30 (สหรัฐฯ) รายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลัง: สัปดาห์ที่แล้วเพิ่มขึ้น 4.590M บาร์เรล
วันพฤหัสบดี
08:30 (สหรัฐฯ) รายงานจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงาน: สัปดาห์ที่แล้วมีผู้ตกงานเพิ่ม 3,169K ทำให้ยอดตัวเลขตลอดระยะเวลา 7 สัปดาห์มีผู้ตกงานแล้วทั้งสิ้นมากถึง 33 ล้านคน
22:00 (ประเทศจีน) รายงานตัวเลขผลผลิตภาคอุตสาหกรรม: คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก -1.1% เป็น 1.5% แบบปีต่อปี
วันศุกร์
02:00 (เยอรมัน) รายงานตัวเลข GDP: แบบไตรมาสต่อไตรมาสคาดว่าจะลดลงจาก 0.0% เป็น -2.1% ส่วนแบบปีต่อปีจะลดลงจาก 0.3% เป็น -1.6%
08:30 (สหรัฐฯ) ตัวเลขยอดขายปลีกพื้นฐาน: คาดว่าจะลดลงต่อจาก -4.2% เป็น -8.6%
09:15 (สหรัฐฯ) รายงานตัวเลขผลผลิตภาคอุตสาหกรรม: คาดว่าจะลดลงจาก -5.4% เป็น -11.5%