เหลียวหลัง
• เงินบาทปิดแข็งค่าที่ 32.24 ต่อดอลลาร์ หลังซื้อขายในกรอบ 32.22-32.48 ทั้งนี้ นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิในตลาดหุ้น 8.9 พันล้านบาท แต่ซื้อพันธบัตรมูลค่า 1.1 พันล้านบาท ขณะที้การเคลื้อนไหวของราคาทองคําในตลาดโลกยังคง สร้างความผันผวนให้กับค่าเงินบาทอยู่บ้างเป็นระยะ
• เงินดอลลาร์แข็งค่าเทียบกับยูโร USD/EUR แต่อ่อนค่าเทียบกับเงินเยน USD/JPYโดยระหว่างสัปดาห์อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 2 ปี ของ สหรัฐฯแตะระดับตํ่ำสุดเป็นประวัติการณ์ ขณะที่ข้ อมูล เศรษฐกิจทั่วโลกสะท้อนผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 อีกทั้งตลาดกลับมากังวลเกี่ยวกับความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐฯกับจีน นอกจากนี้ เงินยูโรเผชิญแรง ขายหลังศาลเยอรมันตัดสินว่าธนาคารกลางเยอรมันต้องหยุด ซื้อพันธบัตรรัฐบาลภายใต้โครงการของธนาคารกลางยุโรป(อี ซีบี)ภายใน 3 เดือนข้างหน้าหรือจนกว่าอีซีบีจะสามารถชี้แจง ได้ว่าโครงการซื้อพันธบัตรมีความจําเป็นทางด้านธนาคาร กลางอังกฤษ(บีโออี)มีมติคงเป้าหมายมาตรการเข้าซื้อตราสารหนี้ไว้ที่ 6.45 แสนล้านปอนด์และตรึงดอกเบี้ยไว้ที่ระดับ ต่ำสุดที่ 0.1% โดยบีโออีคาดว่าเศรษฐกิจอังกฤษอาจหดตัว ครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 300 ปี ในปีนี้
แลหน้า
• เงินบาทมีแนวโน้มซื้อขายในกรอบ 32.00-32.40 ต่อดอลลาร์ หลังข้อมูลบ่งชี้ว่าอัตราการว่างงานเดือนเม.ย.ของสหรัฐฯทําสถิติสูงสุดที่ 14.7% จากภาวะเศรษฐกิจชะงักงัน ส่วนการ จ้างงานหดตัวมากถึง 20.5 ล้านตําแหน่งในเดือนเดียว อย่างไรก็ดี ตัวเลขดังกล่าวถือว่าย่ำแย่น้อยกว่าที่ตลาดคาดไว้ ส่งผลให้นักลงทุนเปิดรับความเสี่ยงมากขึ้น โดยในสัปดาห์นี้ ตลาดจะให้ความสนใจกับข้อมูลเงินเฟ้อและยอดค้าปลีกของสหรัฐฯ ถ้อยแถลงของประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด) สถานการณ์การคลายมาตรการปิดเมืองและความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างสหรัฐฯกับจีน โดยหากประธานเฟดส่ง สัญญาณว่าไม่มีความจําเป็นต้องใช้นโยบายดอกเบี้ยติดลบ ค่าเงินดอลลาร์อาจฟื้นตัวขึ้นได้บ้าง
• สําหรับปัจจัยในประเทศ ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเดือนเม.ย. ลดลง 2.99% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นระดับต่ำสุด ในรอบ 10 ปี 9 เดือน โดยเป็นการลดลงตามต้นทุนพลังงานเป็นหลัก ส่วนดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานซึ่งไม่รวมอาหารสด และพลังงานเพิ่มขึ้น 0.41% ทั้งนี้ ก.พาณิชย์คาดว่าเงินเฟ้อ ในไตรมาสปัจจุบันมีแนวโน้มลดลงอีกตามอุปสงค์ที่ซบเซา อนึ่งท่ามกลางความเปราะบางของการฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจหลังการทยอยผ่อนปรนมาตรการลดการติดเชื้อ เราประเมินว่าคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.)จะลดดอกเบี้ยลงสู่ระดับ 0.50% ในการประชุมวันที่20 พ.ค.
บทความนี้มาจากศูนย์วิจัยกรุงศรี สามารถอ่านบทวิเคราะห์ฉบับเต็มได้ที่ www.krungsri.com
อัพเดทอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท USD/THB ประจำวันล่าสุด
https://th.investing.com/currencies/usd-thb
อัพเดทอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินทั่วโลก
https://th.investing.com/currencies/
แปลงอัตราแลกเปลี่ยน
https://th.investing.com/currency-converter/