เราจะถูกปล้น ความมั่งคั่ง ด้วยเงินดอลลาร์

เผยแพร่ 05/05/2563 20:27
อัพเดท 09/07/2566 17:32
XAU/USD
-
GC
-
GLD
-

ใครที่เทรดค่าเงิน (forex) หรือ ลงทุนในต่างประเทศ คงไม่มีใครไม่รู้จักเงินดอลลาร์ เงินดอลลาร์เป็นสกุลเงินหลักของโลกในการแลกเปลี่ยนสกุลเงินอื่นๆด้วยกัน อีกทั้งยังเป็นทุนสำรองระหว่างประเทศ ทุนสำรองของหลายๆบริษัท หรือแม้กระทั่งนักลงทุนรายย่อยอย่างเราๆ ก็ล้วนเปิดพอร์ตลงทุนด้วยสกุลเงินนี้เป็นส่วนใหญ่ทั้งสิ้น

แล้วเราจะถูก “ปล้น” ได้อย่างไร เมื่อเงินก็ยังอยู่ในธนาคาร ในโบรกเกอร์

ด้วยความเสื่อมค่าของสกุลเงินนั่งเอง ทำไมนั่นหรือ

สกุลเงินจะมีค่าหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับสิ่งที่คนให้ค่ายังอยู่ และถูกรับรองโดยรัฐบาล หรือ องค์กรนั้นๆ ค้ำประกันอยู่ ยกตัวอย่าง เช่น เงินบาท ก็ถูกรับรองโดยรัฐบาลไทย ซึ่งรัฐบาลไทยก็มีหลักประกัน สิ่งที่มีค่า ที่เอาไว้ค้ำเงินบาท ก็คือ “ทองคำ” , พันธบัตร ของประเทศต่างๆ โดยเฉพาะของอเมริกา สินทรัพย์อื่นๆ ที่มีค่า รวมไปถึงศักยภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ

เงินดอลลาร์สหรัฐในสมัยก่อนก็เช่นกัน หลังสงครามโลกอเมริกาขึ้นเป็นประเทศมหาอำนาจ ได้ตั้งมาตรฐานใหม่ที่ประเทศต่างๆทั่วโลกต้องค้าขายด้วยเงินดอลลาร์สหรัฐ จึงได้กลายเป็นสกุลเงินสำคัญของโลก และเงินสกุลทั่วโลกจะผูกค่าเอาไว้นิ่งกับค่าดอลลาร์ ใครต้องการดอลลาร์ต้องเอาทองคำไปแลก ตามข้อตกลงเบรตัน วูดส์ ใน ค.ศ. 1935 ว่าทองคำ 1 ออนซ์มีมูลค่า 35 ดอลลาร์ จะพบว่าธนบัตรในสมัยนั้นจะมีคำว่า “IN GOLD COIN PAYABLE TO THE BEARER ON DEMAND” เท่ากับว่า ใครถือดอลลาร์ก็เหมือนถือ “ทองคำ” ดังนั้นแทบทุกประเทศทั่วโลกจึงสำรองเงินดอลลาร์

เมื่อเข้าสู่สงครามเวียดนามและสงครามเย็น สหรัฐขาดดุลการค้ามากขึ้นเรื่อยๆ หลายๆประเทศเริ่มแคลงใจ สงสัยว่าสหรัฐพิมพ์แบงค์ออกมาใช้มากกว่าทองคำที่เป็นทุนสำรองอยู่ จึงนำดอลล่าร์ไปแลกทองคำกลับมาคืน และแน่นอน สหรัฐไม่มีปัญญาหาทองคำจำนวนมหาศาลมาให้ทุกประเทศแลกคืนได้พอ เพื่อปกป้องค่าดอลลาร์ไว้ ใน ค.ศ. 1971 ริชาร์ด นิกสัน ประธานาธิบดีสหรัฐในสมัยนั้น ได้ชักดาบเอาเสียดื้อๆ ประกาศตัดความสัมพันธ์คงที่กับทองคำ

พูดง่ายๆคือ ต่อจากนี้ไปสหรัฐจะพิมพ์ธนบัตรดอลลาร์ออกมาโดยไม่ต้องมีทองคำหนุนหลัง ในปีนั้นเองราคาทองคำได้พุ่งพรวดขึ้นไปเป็น 850 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ทั้งนี้เพราะมีการแอบพิมพ์ธนบัตรดอลลาร์ออกมามากเกินกว่าที่กำหนดไว้ในตอนแรกนั่นเอง แค่สร้าง “หนี้” ออกมาก็พิมพ์เงินได้ แล้วจ่ายดอกเบี้ย ในนามพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งหลายๆคนมองว่าเป็นการลงทุนที่ปลอดภัยเพราะรัฐบาลเป็นเจ้าหนี้ โดยเฉพาะประเทศสหรัฐอเมริกา

ดังนั้นหลายๆประเทศก็เปลี่ยนเงินดอลลาห์ส่วนนึงไปถือพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอเมริกา เรียกว่า การลงทุน เพราะ ได้ดอกเบี้ย ซึ่งในความเป็นจริงก็คือเป็น “เจ้าหนี้” รัฐบาลสหรัฐอเมริกา

ถ้าเราเป็นเจ้าหนี้และเห็นลูกหนี้
- ไม่มีปัญญาจ่ายเงินคืนหรือแม้กระทั่งดอกเบี้ยได้
- ไปสร้างหนี้กับผู้อื่นแล้วเอาเงินมาหมุนใช้หนี้
- พิมพ์เงิน (จริงๆก็แค่กระดาษ) ออกมาใช้หนี้
- แถมกำหนดดอกเบี้ยให้เจ้าหนี้เอง

เราจะทำอย่างไร เราจะรู้สึกอย่างไร ???

ทำไมจะไม่มีปัญญาใช้หนี้คืน คิดง่ายๆครับ ตัวเลขหนี้ตอนนี้คือ 24ล้านล้านดอลลาห์ ดอกเบี้ย 2% (4.8แสนล้าน) GDP คือ 21ล้านล้าน ผมให้เฉลี่ย 10 ปี คือ 2% (แต่ปีนี้ติดลบแน่ๆ) 4.2แสนล้าน แค่นี้ก็ไม่มีปัญญาจ่ายแล้ว ยังไม่รวมว่า GDP เท่านี้เก็บภาษีได้เท่าไร เอามาบริหารประเทศ และสุดท้ายจะเหลือเอามาใช้หนี้เท่าไรกัน

เขาจึงกดอัตราดอกเบี้ยให้ต่ำที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ ถ้าถึง 0% เมื่อไรนั่นหมายความว่า จะสามารถพิมพ์เงินได้ไม่จำกัด

มาถึงจุดนี้เงินดอลลาห์ต่างกับกระดาษตรงไหน???

เมื่อใดที่คนให้ค่ามันน้อยลงไป ไม่เชื่อใจลูกหนี้ประเทศนี้แล้ว ก็จะเกิดการ เทขายเงิน ไม่ต่อสัญญาพันธบัตร ปริมาณเงินมหาศาลจะไหลกลับไปที่สหรัฐจนเกิด Hyperinflation กับค่าเงินทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศที่สำรองดอลลาห์เป็นทุนสำรองหลัก (น่าจะแทบทุกประเทศทั่วโลก)

กลับไปสู่จุดเดิม คนก็ยังให้ค่า “ทองคำ” ดังนั้นจึงไม่แปลกใจเลยที่มูลค่าถึงสูงขึ้นในช่วงปีที่ผ่านมา และก็ยังเป็น Asset backed security ที่ดีในช่วงที่ดอลลาห์กำลังจะเสื่อมค่า

บทความนี้จัดทำเลยเผยแพร่ครั้งแรกทางเพจ About Traders

ดูอัตราแลกเปลี่ยน(Desktop)

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย