เหลียวหลัง
• เงินบาทปิดแข็งค่าที่ 32.34 ต่อดอลลาร์ หลังซื้อขายในกรอบแคบลงระหว่าง 32.31-32.53 ทั้งนี้ นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิในตลาดหุ้นและพันธบัตรไทยมูลค่า 3.1 พันล้านบาท และ 7.9 พันล้านบาท ตามลําดับ ส่วนในเดือนเม.ย. เงินบาทแข็งค่า 1.6% ยอดขายสุทธิของนักลงทุนต่างประเทศใน ตลาดหุ้นและพันธบัตรไทยลดลงจากเดือนมี.ค.มาอยู่ที่ 4.69 หมื่นล้านบาท และ 1.89 หมื่นล้านบาท ตามลําดับ ขณะที่ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลช่วงอายุ 3-5 ปี ปรับตัว ลดลงราว 17 bps ในเดือนเม.ย.
• เงินดอลลาร์อ่อนค่าเทียบกับสกุลเงินสําคัญส่วนใหญ่ ขณะที่ ธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด)ประกาศคงกรอบเป้าหมายดอกเบี้ยไว้ที$ 0-0.25% และให้สัญญาว่าจะใช้ "เครื่องมือทั้งหมด" ในการพยุงเศรษฐกิจท่ามกลางความเสี่ยงที่อยู่ในระดับสูง โดยประธานเฟดกล่าวว่าเศรษฐกิจอาจเผชิญแรงกดดันจากความกังวลของผู้บริโภคและมาตรการระยะเว้นห่างทางสังคมเป็นเวลาหนึ่งปีเป็นอย่างน้อย ทางด้านธนาคารกลางยุโรป(อีซีบี)มีมติคงดอกเบี้ยและมาตรการไว้ตามเดิม โดยระบุถึงความเสี่ยงด้านขาลงของเศรษฐกิจเช่นกัน
แลหน้า
• เงินบาทมีแนวโน้มซื้อขายในกรอบ 32.25-32.65 ต่อดอลลาร์ USD/THB โดยตลาดการเงินจะให้ความสนใจกับการเปิดเ่ยข้อมูลภาค แรงงานของสหรัฐฯ รวมถึงการประชุมธนาคารกลางอังกฤษ (บีโออี) นอกจากนี้บรรยากาศการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงจะให้น้ำหนักระหว่างสัญญาณความขัดแย้งทางการค้ารอบใหม่ ระหว่างสหรัฐฯกับจีน และปัจจัยบวกจากการผ่อนคลาย มาตรการล็อคดาวน์ในหลายประเทศ ทั้งนี้ รมว.ต่างประเทศ ของสหรัฐฯอ้างถึงหลักฐานที่อาจแสดงให้เห็นว่าเชื้อ COVID19 หลุดออกมาจากห้องแล็บในจีน โดยนักลงทุนกังวลมากขึ้นว่าปธน.ทรัมป์ อาจใช้มาตรการกีดกันทางการค้าเพิ่มเติม่เพื่อรักษาคะแนนความนิยมก่อนการเลือกตั้งในเดือนพ.ย.
• สําหรับปัจจัยภายในประเทศ บัญชีเดินสะพัดเดือนมี.ค. เกินดุล 0.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากยอดเกินดุล 5.4 พันล้านดอลลาร์ในเดือนก.พ. ดัชนีบริโภคภาคเอกชนในเดือน มี.ค. ลดลง 0.6% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนดัชนีการลงทุนภาคเอกชน ดิ่งลง 7.8% ทั้งนี ธปท. กล่าวว่าเศรษฐกิจ ไทยปีนี้จะหดตัวในไตรมาส 1 และน่าจะเห็นการหดตัวมากขึ้นในไตรมาส 2 ส่วนระยะถัดไปต้องติดตามสถานการณ์การ แพร่ระบาด ทิศทางของนักท่องเที่ยวต่างชาติและเศรษฐกิจโลกรวมถึงผลของมาตรการการเงินการคลัง อนึ่ง เราคาดว่า คณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.)มีแนวโน้มปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงสู่ระดับ 0.50% ในเดือนนี้ ควบคู่ไปกับมาตรการเยียวยาเฉพาะจุดมากขึ้น
บทความนี้มาจากศูนย์วิจัยกรุงศรี สามารถอ่านบทวิเคราะห์ฉบับเต็มได้ที่ www.krungsri.com
อัพเดทอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท USD/THB ประจำวันล่าสุด ที่นี่