เหลียวหลัง
เงินบาทปิดแข็งค่าที่ 32.58 ต่อดอลลาร์ หลังซื้อขายในช่วง 32.46-32.78 ขณะที่ปริมาณธุรกรรมค่อนข้างเบาบางและ ราคาทองคําที่ผันผวนส่งผลบางส่วนต่ออัตราแลกเปลี่ยน ทั้งนี้ นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิในตลาดหุ้นและพันธบัตรไทย 9.0 พันล้านบาท และ 4.2 พันล้านบาท ตามลําดับ
เงินดอลลาร์อ่อนค่าเทียบกับเยน USD/JPY แต่แข็งค่าเมื่อเทียบเงินยูโร USD/EUR ท่ามกลางความกังวลที่ว่าการแพร่ระบาดของ COVID-19 อาจสร้างความเสียหายที่รุนแรงและยาวนานต่อเศรษฐกิจ โลก หลังยอดค้าปลีกของสหรัฐฯดิ่งลงมากที่สุดเป็นประวัติการณ์และการผลิตในรัฐนิวยอร์คแตะสถิติต่ำสุด อย่างไรก็ดี ความต้องการเสี่ยงฟื้นตัวขึ้นท้ายสัปดาห์หลัง ปธน.ทรัมป์ วางแนวนโยบายผ่อนคลายมาตรการปิดเมือง โดยใช้วิธีแบ่งเป็น 3 ขั้นตอนเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจสหรัฐฯ นอกจากนี้ตลาดยังตอบรับเชิงบวกต่อกระแสข่าวเกี่ยวกับ การทดลองยารักษาผู้ป่วยโรคโควิด-19
แลหน้า
เงินบาท USD/THB มีแนวโน้มซื้อขายในกรอบ 32.35-32.80 ต่อดอลลาร์ โดยในสัปดาห์นี้ตลาดจะติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาด ของไวรัสและแนวทางการผ่อนปรนมาตรการล็อคดาวน์ของ หลายประเทศ ขณะที่การประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ของธนาคารกลางจีนเพื่อช่วยประคองเศรษฐกิจอาจได้รับการตอบรับอย่างจํากัด นอกจากนี้นักลงทุนจะให้ความสนใจกับ การเคลื่อนไหวของราคาน้ำมันดิบซึ่งเข้าทดสอบระดับต่ำสุด ในรอบ 18 ปี จากภาวะอุปสงค์ซบเซาอย่างหนัก ทั้งนี ราคาน้ำมันดิบ WTI ดิ่งลงมาแล้วเกือบ 75% นับตั้งแต่ต้นปี 63 อาจทําให้สกุลเงินที่เชื่อมโยงกับราคาสินค้าโภคภัณฑ์สูงอ่อน ค่าลง ส่วนค่าเงินยูโรจะเผชิญแรงกดดันต่อเนื่องหากการ ประชุมรัฐมนตรีคลังของกลุ่มยูโรโซนไร้ข้อสรุปซึ่งเป็ นการตอกย้ำถึงการขาดเอกภาพระหว่างประเทศสมาชิกในประเด็น มาตรการเยียวยาด้านการคลัง ในภาวะดังกล่าว เรามองว่า เงินดอลลาร์อาจได้รับแรงหนุนในระยะนี้
สําหรับปัจจัยในประเทศ ก.พาณิชย์จะเปิดเผยข้อมูลส่งออกนําเข้าเดือนมี.ค. ซึ่งคาดว่าจะย่ำแย่ตามภาวะเศรษฐกิจ การค้าโลกซึ่งหยุดชะงักลงจาก COVID-19 นอกจากนี้ ตลาด จะติดตามแนวทางการเปิดเมืองอย่างค่อยเป็นค่อยไป การหาจุดสมดุลระหว่างกลไกด้านสาธารณสุขกับการพลิกฟื้นภาคธุรกิจและการจ้างงาน รวมถึงความหวังต่อพรก.เยียวยา ผลกระทบจากไวรัสวงเงิน 1.9 ล้านล้านบาทซึ่งประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาแล้ว เราประเมินว่านักลงทุนยังคงใช้ความ ระมัดระวังและเศรษฐกิจไทยต้องการยาแรงรวมถึงการแก้ไขปัญหาอย่างตรงจุดเพื่อจํากัดการลุกลามเป็นลูกโซ่ทั่วทั้งระบบท่ามกลางความไม่แน่นอนสูง
บทความนี้มาจากศูนย์วิจัยกรุงศรี สามารถอ่านบทวิเคราะห์ฉบับเต็มได้ที่ www.krungsri.com