-ดัชนีเงินดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินแข็งค่าขึ้นแตะจุดสูงสุดรอบ 1 สัปดาห์ที่100.302 ในระหว่างช่วงการซื้อขายวันพฤหัสบดี ในขณะที่นักลงทุนเข้าซื้อดอลลาร์ในฐานะ สกุลเงินปลอดภัย หลังจากกระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานว่า ยอดผู้ขอรับสวัสดิการว่างงาน ครั้งแรกในสหรัฐในช่วง 4 สัปดาห์ที่ผ่านมาอยู่ที่ระดับรวมกันราว 22 ล้านราย ซึ่งถือว่าสูงสุด เป็นประวัติการณ์ และถือเป็นการลบตําแหน่งงานใหม่ทั้งหมดที่เคยเกิดขึ้นนับตั้งแต่เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยครั้งใหญ่ในสหรัฐในปี 2008 ทั้งนี้ ยอดผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกในสหรัฐอยู่ที่ 5.245 ล้านรายในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 11 เม.ย. โดยปรับลงจาก 6.615 ล้านรายในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 4 เม.ย.
- ดอลลาร์อยู่ที่ 107.94 เยน USD/JPY ในช่วงท้ายตลาดวันพฤหัสบดี โดยแข็งค่าขึ้นจากระดับปิดตลาดวันพุธที่ 107.47 เยน ส่วนยูโรอยู่ที่ 1.0835 ดอลลาร์ EUR/USD ในช่วงท้ายวันพฤหัสบดี โดยร่วง ลงจาก 1.0907 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันพุธ ทางด้านดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุล เงินอยู่ที่ 100.025 ในช่วงท้ายวันพฤหัสบดี โดยปรับขึ้นจาก 99.461 ในช่วงท้ายวันพุธ ทั้งนี ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินที่มีความเสี่ยงสูง โดยปรับขึ่้นเมื่อเทียบกับ ปอนด์, ดอลลาร์ออสเตรเลีย และดอลลาร์นิวซีแลนด์ โดยปอนด์ร่วงลงสู่ 1.2454 ดอลลาร์ สหรัฐในช่วงท้ายวันพฤหัสบดี จาก 1.2510 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันพุธ
ตัวเลขเศรษฐกิจที่อ่อนแอช่วยหนุนดอลลาร์ให้แข็งค่า ทั้งนี้ ดัชนีกิจกรรมภาคการผลิตใน ภูมิภาคมิดแอตแลนติกของสหรัฐดิ่งลงสู่จุดต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 1980 ในขณะที่ยอดการ ก่อสร้างบ้านในสหรัฐรูดลงในเดือนมี.ค.ในอัตราที่รุนแรงที่สุดในรอบ 36 ปี นอกจากนี้ ดอลลาร์ก็ได้รับแรงหนุนจากตัวเลขภาคค้าปลีกและภาคโรงงานที่อ่อนแอของสหรัฐที่ได้รับ การรายงานออกมาในวันพุธด้วย ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์สหรัฐรายงานว่า ตัวเลขการเริ่มต้น สร้างบ้านในสหรัฐดิ่งลง 22.3% สู่ 1.216 ล้านยูนิตต่อปี ในเดือนมี.ค. ซึ่งถือเป็นการดิ่งลง ครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่เดือนมี.ค. 1984 ทางด้านธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาฟิ ลาเดล เฟียรายงานว่า ดัชนีภาวะธุรกิจในภูมิภาคมิดแอตแลนติกดิ่งลงจาก -12.7 ในเดือนมี.ค. สู่ - 56.6 ในเดือนเม.ย. ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนก.ค. 1980
ยูโรร่วงลง ในขณะที่นักลงทุนมองว่าข้อตกลงขนาด 5 แสนล้านยูโรของรัฐบาลประเทศ สมาชิกยูโรโซนที่ทําไว้ในสัปดาห์ที่แล้ว จะไม่มีประสิทธิภาพมากพอที่จะช่วยหนุนเศรษฐกิจ ยูโรโซนเอาไว้ได้ โดยเฉพาะเศรษฐกิจของอิตาลี ซึงเป็นประเทศท่มีหนี้สินสูงมาก
- เยนร่วงลงราว 0.23% เมื่อเทียบกับดอลลาร์ ในขณะที่รัฐบาลญี่ปุ่นประกาศภาวะฉุกเฉิน สําหรับญี่ปุ่นทั้งประเทศ โดยขยายออกจากเดิมที่ประกาศภาวะฉุกเฉินเฉพาะในเมืองใหญ่ เท่านั้น
- สัญญานน้ำมันดิบล่วงหน้า WTI ฟื้นตัวขึ้นในวันนี้ หลังจากดิ่งลงอย่างหนักวานนี้ อย่างไรก็ดี ราคาน้ำมัน WTI ยังคงปรับตัวในช่วงแคบตํ่ำกว่าระดับ 20 ดอลลาร์ ท่ามกลาง ความกังวลเกี่ยวกับอุปสงค์นํ้ำมันที่ทรุดตัวลงจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของไวรัสโค วิด-19 นอกจากนี้ ราคานํ้ำมันยังคงถูกกดดันจากการทีสต็อกนํ้ำมันสหรัฐพุ่งขึ้นเป็น ประวัติการณ์ในสัปดาห์ที่แล้ว
ภาวะตลาดพันธบัตรของไทยวานนี้ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรไทยรุ่นอายุ 5ปี (LB24DB) นักลงทุนเข้ามาขายพันธบัตรรุ่นดังกล่าวมากขึ้นส่งผลให้อัตราผลตอบแทนปรับตัวสูงขึ้น ประมาณ 3-4 bps. จากวันทําการก่อนหน้า และมีอัตราผลตอบแทนล่าสุด 0.89% ส่วน อัตราผลตอบแทนพันธบัตรไทยรุ่นอายุ 10ปี (LB29DA) ทรงตัวจากวันทําการก่อนหน้าและมี อัตราผลตอบแทนล่าสุด 1.36% ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรไทยรุ่นอายุ 18ปี (LB386A) เป็นที่สนใจของนักลงทุนส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรุ่นดังกล่าวปรับตัว ลดลงประมาณ 5-6 bps. โดยมีอัตราผลตอบแทนล่าสุด 1.75% ปิดตลาดสิ้นวันนักลงทุน ต่างชาติขายพันธบัตรสุทธิ 1,572.88 ล้านบาท และเป็นการขายพันธบัตรรุ่นอายุมากกว่า 1 ปี ทั้งจํานวน
บทความนี้มาจากศูนย์วิจัยกรุงศรี สามารถอ่านบทวิเคราะห์ฉบับเต็มได้ที่ www.krungsri.com