อย่างแรกคือ ปัญหาสภาพคล่อง เพราะช่วงวิกฤติทั่วโลกจะต้องการถือเงินดอลลาร์เนื่องจากปลอดภัยและมีสภาพคล่องสูงมากกว่าสินทรัพย์อื่น ปัญหานี้เป็นปัจจัยลบกับเงินบาท
เรื่องที่สองคือภาพการระบาดของโคโรนาไวรัส ซึ่งช่วงที่ผ่านมากกดดันเศรษฐกิจโลกอย่างหนัก และทำให้เงินบาทอ่อนค่า แต่ในระยะต่อไป น่าจะเริ่มกลับมาเป็นปัจจัยบวกกับฝั่งเอเชียมากขึ้นเมื่อการระลบาดลงลง
ส่วนเรื่องสุดท้าย คือนโยบายการเงินของฝั่งสหรัฐซึ่งที่จริงเป็นบวกกับเงินบาท แต่น่าจะเห็นผลจริงในระยะยาว คือต้องรอปัญหาสภาพคล่องและการระบาดของไวรัสลดลงก่อน นักลงทุนถึงจะกล้านำเงินดอลลาร์ออกไปลงทุนนอกสหรัฐ
สาเหตุ เงินไหลออกร่วม 2 แสนล้านทั้งฝั่งหุ้นและบอนด์แต่บาทไม่อ่อนมากเพราะอะไร
ที่จริง ถือว่าเงินบาทอ่อนค่าใกล้เคียงกับพื้นฐานแล้ว เพราะถ้าเทียบกับการแข็งค่าปีที่ผ่านมาปีนี้ก็ถือว่าคืนไปทั้งหมด ขระเดียวกัน ถ้าเปรียบเทียบกับช่วงวิกฤติเศรษฐกิจปี 2008 จะเห็นว่าทุนสำรองระหว่างประเทศของไทยอยู่ในระดับสูงกว่าเดิมถึงกว่าแสนล้านดอลลาร์ (คิดเป็นราว 3ล้านล้านบาท) ในตอนนั้น
เงินบาทอ่อนค่าจากระดับ 31 บาทไปถึง 36 บาท ส่วนในปัจจุบัน เงินบาทอ่อนค่าจาก 30 บาทมา 33 บาท อาจจะถือว่าเป็นไปตามกลไกตลาดอยู่ และไม่ได้อ่อนค่ามากหรือน้อยจนจะสร้างปัญหาในตลาดการเงิน
เงินบาทจะอยู่ที่ระดับเท่าไหร่
ในระยะหนึ่ง หนึ่งถึงสองเดือนข้างหน้า จะเห็นปัญหาสภาพคล่องของฝั่งดอลลาร์ เป็นประเด็นหลักที่กดดันเงินบาทอยู่ มองว่าจุดที่อ่อนที่สุดน่าจะอยู่ในระดับราว 33.6-33.9 บาทต่อดอลลาร์ในรอบนี้
แต่ในช่วงครึ่งหลังของปี 2020 ก็ต้องระวังว่าทุกอย่างอาจตีกลับ จากเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว หลังสามารถคุมการระบาดของโคโรนาไวรัสได้ จึงมีความเป็นไปได้ที่ จะเห็นเงินทุนกลับเข้ามาในฝั่งเอเชียช่วงในไตรมาสสุดท้าย จึงยังมองสิ้นปี เงินบาทจะแข็งค่ากลับลงไปกลับลงไปที่ระดับ 31.50 บาทได้อยู่ แต่ต้องมองให้ชัดว่า การแข็งค่าหรืออ่อนค่าของเงินบาทนี้ ไม่ได้เกิดจากพื้นฐานเศรษฐกิจเอเชียหรือในประเทศ แต่เกิดจากเงินดอลลาร์ ที่อ่อนค่าลงจากนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากของฝั่งสหรัฐ
ทิศทางเงินบาท จะมีผลต่อบรรยากาศการลงทุนและการส่งออกอย่างไรบ้าง
การอ่อนค่าของเงินบาท เป็นลบต่อการลงทุนของต่างชาติอย่างชัดเจน และช่วงนี้ก็ดูจะไม่ส่งผลบวกกับการท่องเที่ยวและส่งออกเพราะเศรษฐกิจโลกเข้าสู่ภาวะถดถอย ในระยะสั้นเมื่อไหร่ที่เงินบาทอ่อนค่า ก็จะทำให้เกิดแรงขายตราสารหนี้เพิ่มขึ้น เงินบาทก็จะยิ่งอ่อน เป็นวงจรที่ต้องหาทางหยุดให้ได้
ส่วนฝั่งส่งออก เชื่อว่าปัญหาหลักของธุรกิจจะไม่อยู่ที่การอ่อนค่าหรือแข็งค่าของเงินแล้ว เพราะเศรษฐกิจโลกในอนาคตจะเปลี่ยนแปลงหมด ที่เห็นได้ชัดที่สุดต่อจากนี้ ต่อให้เงินบาทอ่อนไปกว่านี้นักท่องเที่ยวหรือลูกค้าต่างประเทศก็จะไม่กลับมาถ้าการระบาดของโคโรนาไวรัสยังไม่จบ
คำแนะคนทำธุรกิจควรทำอย่างไร
ฝั่งส่งออกและท่องเที่ยว ต้องยอมรับให้ได้ก่อนว่าเศรษฐกิจหลังการระบาดของโคโรนาไวรัสครั้งนี้จะไม่เหมือนเดิม โลกาภิวัตน์หรือ Globalization ที่แต่ก่อนเคยขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกมากกว่า 10 ปีได้ลดบทบาทลงอย่างรวดเร็ว จึงควรหาทางทำธุรกิจที่ผสมผสาน ให้มีทั้งการนำเข้าและการส่งออก รวมถึงเน้นเศรษฐกิจภายในประเทศเพิ่มและทำประกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนให้มากขึ้นด้วย