ดอลลาร์สหรัฐฯปรับตัวลดลง 5 วันติดหลังจากที่ก่อนหน้านี้เคยทะยานขึ้นจาก 7 ใน 8 วันคิดเป็น 8.5% หลังจากที่ดัชนีดอลลาร์ปรับตัวลดลงมาแล้ว 2.3% ทำให้นักลงทุนเริ่มเกิดความคิดว่า “นักลงทุนที่ได้กำไรจากขาลงครั้งนี้เริ่มถอยออกจากตลาดแล้วและเราอยากจะช้อนซื้อสกุลเงินดอลลาร์” แต่ติดอยู่ตรงที่เวลานี้ใช่เวลาที่เหมาะสมดีแล้วหรือ
การเข้ามาของไวรัสโคโรนาทำให้ดัชนีดอลลาร์สหรัฐทะยานขึ้นได้อย่างยาวนานที่สุดเป็นประวัติศาสตร์ครั้งหนึ่ง แต่เมื่อรัฐบาลและธนาคารกลางเริ่มออกมาตรการช่วยเหลือและเยียวยาทางเศรษฐกิจมาเป็นชุดซึ่งวิธีที่พวกเขาใช้คืออัดฉีดเงินเพิ่มสภาพคล่องในตำแหน่งที่เงินขาดมือจึงทำให้มูลค่าของสกุลเงินดอลลาร์ร่วงลงมาและอยู่ในแนวโน้มขาลงอย่างที่เห็นใจปัจจุบัน ถึงกระนั้นเราก็ยังเชื้อว่าตราบเท่าที่สหรัฐฯ ยังไม่สามารถทำให้ตัวเลขจำนวนผู้ติดเชื้ออยู่ในระดับที่ควบคุมได้ตราบนั้นสกุลเงินดอลลาร์ก็ยังมีสิทธิ์ที่จะกลับมาเป็นสินทรัพย์สำรองอีกครั้ง
ก็ยังมีนักวิเคราะห์บางคนที่มองในมุมต่าง พวกเขาเชื่อว่ายังไงรัฐบาลและธนาคารกลางสหรัฐฯ ก็ยังมีมาตรการที่จะเข้ามาช่วยพยุงเศรษฐกิจเอาไว้ ยิ่งการให้สัมภาษณ์กับ NBC ของประธานเฟดเมื่อคืนนี้ที่บอกว่า “เฟดยังมีกระสุนทางการเงินอีกเพียบ” เป็นหลักฐานที่ดีในการยืนยันว่าฝั่งภาครัฐไม่ยอมแพ้ง่ายๆ แน่นอนซึ่งจะยิ่งทำให้สกุลเงินดอลลาร์อ่อนมูลค่าลง อาจจะอ่อนค่าลงถึง 48% อย่างที่เคยทำให้ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ปี 1985 ถึงพฤศจิกายนปี 1987
อย่างไรก็ตามเราไม่เชื่อและไม่คิดจะเปรียบเทียบสถานการณ์ในตอนปี 1985 กับปี 2020 ในตอนนั้นปัญหาได้เกิดจากการแทรกแซงทางการเงินของรัฐบาลเพราะอัตราเงินเฟ้อที่สูงถึง 15% ในช่วงเดือนเมษายนปี 1980 สกุลเงินดอลลาร์ตอนนั้นมีแข็งค่ามากถึง 50% เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักของประเทศผู้ทรงอิทธิพลทางเศรษฐกิจทั้ง 4 ในเวลานั้น ดัชนีดอลลาร์สหรัฐสามารถขึ้นไปสูงมากถึง 165.00
อัตราดอกเบี้ยรายปีในตอนนี้อยู่ที่ 2.3% ปรับตัวลดลงมาจาก 2.5% ในขณะที่ดัชนีดอลลาร์สหรัฐร่วงลงมาอยู่ต่ำกว่า 100.00 แล้ว
ถึงแม้เราจะไม่เชื่อว่าเหตุการณ์เมื่อ 35 ปีที่แล้วจะมาเปรียบเทียบอะไรกับตอนนี้ แต่อดีตและประวัติศาสตร์ก็มีไว้เพื่อเรียนรู้ ต่อให้เหตุการณ์ในวันนั้นอาจจะเกิดขึ้นจริงแต่กว่าจะดำเนินไปถึงจุดนั้นก็ยังต้องใช้เวลาและที่สำคัญมนุษย์เราไม่น่าจะปล่อยให้เกิดประวสัติศาสตร์ซ้ำรอยขึ้นมาได้ หากว่าจะร่วงลงไปไกลและแรงถึงขนาดนั้นก็ยังมีเวลามากพอให้นักลงทุนได้ปรับเปลี่ยนมุมมองและหากลยุทธ์ทางการลงทุนใหม่ๆ เพื่อรับมือ
กลยุทธ์การเทรด
เทรดเดอร์ที่ไม่ชอบความเสี่ยง จะรอจนกว่าดัชนีดอลลาร์สหรัฐฯ ตั้งเทรนด์ขาขึ้นซึ่งดัชนีฯ ต้องขึ้นไปให้ถึง 102.99 และย่อลงมาเสียก่อน นักลงทุนในกลุ่มนี้จึงจะเข้าซื้อ
เทรดเดอร์ที่รับความเสี่ยงได้ปานกลาง อาจจะลองเสี่ยงเข้าซื้อเมื่อดัชนีสามารถยืนเหนือ 100 ได้อีกครั้ง
เทรดเดอร์ที่รับความเสี่ยงได้สูง ยิ่งเข้าซื้อเร็วเท่าไหร่ยิ่งได้เปรียบเท่านั้น พวกเขาจะเข้าซื้ออย่างรวดเร็วโดยมีแผนทางการเงินรองรับความเสี่ยงเอาไว้อยู่แล้ว
ตัวอย่างการเทรด
- จุดเข้า: 100.40
- Stop-Loss: 99.90 (ตั้งเอาไว้ต่ำกว่าแนวรับจิตวิทยา 100.00 และป้องกันความเสี่ยงจากรูปแบบสามเหลี่ยมปากกว้าง)
- ความเสี่ยง: 50 จุด
- เป้าหมายในการทำกำไร:102.90 (ต่ำกว่าจุดสูงสุดเดิม)
- ผลตอบแทน: 250 จุด
- อัตราความเสี่ยงต่อผลตอบแทน: 1:5