ถือเป็นวันที่ 3 แล้วที่ดัชนีดอลล่าร์สหรัฐฯปรับตัวขึ้นติดต่อกันซึ่งการขึ้นนี้เกิดขึ้นตั้งแต่ก่อนรายงานตัวเลขคาดการณ์การจ้างงานจาก ADP และดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ที่ไม่เกี่ยวข้องกับภาคการผลิตโดย ISM ที่สำคัญคือขึ้นก่อนรายงานตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตรจริงที่จะมีขึ้นในวันศุกร์นี้อีกด้วย
แม้นักลงทุนจะมองว่าขาขึ้นแบบนี้คือสัญญาณที่ดีของเศรษฐกิจสหรัฐฯ แต่อันที่จริงแล้วเรากลับมองว่าที่ดัชนีดอลลาร์สหรัฐฯ ขึ้นมาได้เป็นเพราะปฏิกริยาความหวั่นไหวของธนาคารกลางในประเทศต่างๆ ที่มีต่อความเสียหายที่เกิดจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาซึ่งพวกเขาอาจจะลดอัตราดอกเบี้ยเมื่อจำเป็นเพื่อพยุงเศรษฐกิจในประเทศเอาไว้
การปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องของดัชนีดอลลาร์สหรัฐฯ เริ่มต้นขึ้นเมื่อวันพุธที่ผ่านมาซึ่งราคาได้ลงมาทดสอบเส้นแนวรับของกรอบราคาซึ่งลากมาตั้งแต่จุดต่ำสุดของวันที่ 31 ธันวาคมปี 2019 จากจุดนั้นกราฟได้ปรับตัวขึ้นมาตามกรอบตลอด ความสำคัญของกรอบราคาล่าสุดนี้คือเป็นกรอบราคาที่สร้างมาจากการทะลุกรอบแนวโน้มขาลงระยะยาวขึ้นมาซึ่งลากมาตั้งแต่จุดสูงสุดของดัชนีฯ ในวันที่ 1 ตุลาคมปี 2019
เมื่อลองพิจารณาภาพที่ใหญ่ออกมาจะพบว่ากรอบราคาขาลงระยะกลางที่เห็นในกราฟรายวันอันที่จริงแล้วคือรูปแบบลิ่มลู่ลง (Falling Wedge) ซึ่งโดยปกติแล้วมักจะเกิดแนวโน้มขาขึ้นตามมา การทะลุกรอบแนวโน้มขาลงระยะกลางนี้ขึ้นมาเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงการปรับตัวเข้าสู่แนวโน้มขาขึ้นเดิมที่เป็นอยู่ก่อนหน้า
ดัชนีดอลลาร์สหรัฐในกราฟรายสัปดาห์สามารถดีดตัวขึ้นยืนเหนือแนวรับที่เกิดจากเส้นค่าเฉลี่ย 50WMA ได้ในขณะที่เส้นค่าเฉลี่ย 100WMA กับ 200WMA กำลังตัดกันซึ่งเป็นการยืนยันถึงแนวโน้มขาขึ้นที่กำลังจะเกิด การดีดตัวขึ้นที่เส้นค่าเฉลี่ยระยะสั้น 50WMA เป็นการเร่งความแรงของแนวโน้มขาขึ้นไปในตัวซึ่งเป็นการสะท้อนให้เห็นภาพรวมความแข็งแรงของแนวโน้ม
สิ่งเดียวที่เราเป็นกังวลก็คืออินดิเคเตอร์ RSI ส่งสัญญาณไดเวอร์เจนต์ของขาลงออกมาซึ่งเป็นสิ่งเดียวที่ขัดกับลักษณะการวิ่งของราคาและการส่งสัญญาณขาขึ้นอื่น ถ้าอินดิเคเตอร์ RSI สามารถวิ่งขึ้นยืนเหนือระดับ 60 ได้จะเป็นการยืนยันแนวโน้มขาขึ้นอีกแรง
กลยุทธ์การเทรด
เทรดเดอร์ที่ไม่ชอบความเสี่ยง จะรอให้ดัชนีดอลลาร์สหรัฐสามารถทะลุขึ้นไปยืนเหนือแนวต้าน 98.50 ที่เกิดขึ้นตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนได้ จากนั้นจะรอให้ราคาดีดกลับมาทดสอบแนวต้านที่กลายเป็นแนวรับก่อนจะตัดสินใจวางคำสั่งซื้อ
เทรดเดอร์ที่รับความเสี่ยงได้ปานกลาง จะรอดูการสร้างจุดสูงสุดใหม่ในระยะสั้นของแนวโน้มขาขึ้นซึ่งราคาต้องสามารถขึ้นไปเหนือกว่าระดับราคา 98.19 ให้ได้ด้วย เพื่อจะบีบ stop-loss ให้แคบลงโดยพวกเขาจะไม่รอการกลับมาทดสอบของราคา
เทรดเดอร์ที่รับความเสี่ยงได้สูง กราฟย่อลงมาเมื่อไหร่พวกเขาพร้อมที่จะวางคำสั่งซื้อทันทีโดยไม่ลังเล
ตัวอย่างการเทรด
- จุดเข้า: 97.75
- Stop-Loss: 97.50
- ความเสี่ยง: 25 จุด
- เป้าหมายในการทำกำไร:98.50
- ผลตอบแทน: 75 จุด
- อัตราความเสี่ยงต่อผลตอบแทน: 1:3