รับส่วนลด 40%
ใหม่! 💥 รับ ProPicks เพื่อดูกลยุทธ์ที่ให้ผลตอบแทน ชนะดัชนี S&P 500 มากกว่า 1,183% รับส่วนลด 40%

ECB คงอัตราดอกเบี้ยปริ่มน้ำเท่าเดิมเช่นเดียวกับธนาคารกลางอื่นๆ

เผยแพร่ 27/01/2563 16:48
อัพเดท 09/07/2566 17:31

ในสัปดาห์ที่แล้วธนาคารกลางแห่งสหภาพยุโรป (ECB) ตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยไว้ดังเดิมหลังจากที่ประธานธนาคารกลางนางคริสตีน ลาการ์ดเผยแผนและเครื่องมือที่จะนำมาตรวจสอบนโยบายและกลยุทธ์ทางการเงินของ ECB ที่ใช้มาตลอด 16 ปี นางคริสตีน ลาการ์ดตั้งเป้าไว้ว่าจะดำเนินการตรวจสอบและตั้งเป้าหมายตัวเลขอัตราเงินเฟ้อใหม่ให้เสร็จภายในสิ้นปีนี้ นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่มองว่าท่าทีของ ECB ในครั้งนี้ยังไม่มีนัยสำคัญใดมากนัก

ไม่เฉพาะ ECB เท่านั้นที่มีแผนการตรวจสอบนโยบายทางการเงินแต่ธนาคารกลางอื่นๆ ที่ประสบปัญหาอัตราดอกเบี้ยปริ่มน้ำและต้องการจะปรับแผนเศรษฐกิจให้มีสภาพคล่องที่ดีขึ้นในสภาวะที่เศรษฐกิจโลกไม่ชัดเจนอย่างนี้ถือเป็นความท้าทายของธนาคารกลางทั่วโลกในขณะนี้เป็นอย่างมาก แม้แต่ธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่ทำผลงานได้ดีที่สุดเมื่อเทียบกับธนาคารกลางอื่นๆ ยังต้องการเวลาตรวจสอบนโยบายทางการเงินถึง 2 ปี

ธนาคารกลางแห่งญี่ปุ่น (BoJ) ในตอนนี้ตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ติดลบ 0.1% และมีแผนจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ระดับนี้ในระยะยาวในขณะที่ธนาคารกลางแคนาดา (BoC) แม้จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ดังเดิมที่ 1.75% แต่ธนาคารกลางแคนาดายังมีแผนที่จะลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกในอนาคต ธนาคารกลางแห่งประเทศจีน (PBoC) ยังคงอัตราการกู้ยืมระยะ 1 ปีไว้ดังเดิมที่ 4.15% แม้ว่าทางธนาคารกลางฯ หวังเอาไว้ว่าจะสามารถเพิ่มอัตราการกู้ยืมระยะ 5 ปีจาก 4.8% ขึ้นได้

อัตราเงินเฟ้อคือปัจจัยที่เป็นอุปสรรคหลักๆ สำหรับธนาคารกลาง แม้ธนาคารกลางจะตั้งเป้าหมายการเติบโตของอัตราเงินเฟ้อไว้ไม่เกิน 2% แต่แม้กระทั่งแผนการตรวจสอบนโยบายทางการเงินล่าสุดของ ECB เองยังตั้งเป้าหมายไว้ให้ใกล้เคียงกับ 2% ให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้เท่านั้น เพราะถ้าธนาคารกลางเพิ่มอัตราดอกเบี้ยให้ขึ้นมาถึง 2% ได้จริงจะทำให้ผ่อนปรนนโยบายทางการเงินได้ยากยิ่งขึ้น

แต่ถ้าธนาคารกลางตัดสินใจใช้นโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจแบบแข็งกร้าว การประณีประนอมและความเห็นที่ตรงกันของสมาชิกธนาคารกลางก็จะเป็นไปได้ยากขึ้น ในที่ประชุมเมื่อสัปดาห์ที่แล้วของ ECB นางคริสตีน ลาการ์ดได้ย้ำว่านางยินดีและพร้อมที่จะรับฟังความคิดเห็นของสมาชิกคนอื่นในสภา แต่เมื่อไม่มีใครสามารถหาทางออกที่ดีกว่านี้ได้นโยบายทางการเงินจึงออกมาในแบบที่เราก็ทราบกันดี

ระบบการเงินที่ยั่งยืนคือทางออกของ ECB?

นางคริสตีน ลาการ์ดยืนกรานที่จะนำแผนการลงทุนสีเขียวมาใช้เพราะนางเชื่อว่าวิธีนี้ในระยะยาวจะสามารถทำให้ ECB เติบโตขึ้นได้แต่ปัญหาคือการที่แผนการนี้จะนำมาใช้ได้จำเป็นจะได้รับความเห็นจากนักการเมืองด้วย ไม่เฉพาะตัวแทนจากธนาคารกลางเท่านั้น

เพราะหน้าที่หลักของธนาคารกลางคือการต่อสู้กับอัตราเงินเฟ้อและรักษาเสถียรภาพของระบบการเงิน เพื่อหารือร่วมกันดังนั้นการรวมกลุ่มกันของธนาคารกลางในชื่อว่า The Network for Greening the Financial System (NGFS) เพื่อกำหนดแนวทางในการศึกษาการประเมินความเสียหายที่จะเกิดขึ้นในระบบการเงินจากธนาคารพาณิชย์และบริษัทประกันภัยซึ่งปัจจุบันมีธนาคารกลางที่ร่วมเป็นสมาชิกถึง 54 ประเทศจึงเกิดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทำให้เกิดระบบการเงินที่ยั่งยืนเกิดขึ้นได้จริง

ทาง NGFS มีการกำหนดรูปแบบและคำจำกัดความ Green Bond ซึ่งต่อมา PBoC ก็กำหนดนโยบายให้ธนาคารพาณิชย์สามารถใช้ Green Bond มาเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันกับทางธนาคารกลางได้ และกำหนดมูลค่าในหลักทรัพย์ที่เป็น Green Assets ที่สูงกว่าหลักทรัพย์ชนิดใกล้เคียงหากนำมาใช้เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน นางคริสตีน ลาการ์ดจึงระบุอย่างเฉพาะเจาะจงว่า ECB ต้องการเพิ่มเงินลงทุนในส่วนนี้อีกเป็นจำนวน 20,000 ล้านยูโรเพื่อมาช่วยเศรษฐกิจในยูโรโซนระยะยาว

ปัญหาก็คือเงินที่อยู่ในโปรแกรมนี้จะต้องได้รับความเห็นชอบจากสมาชิกองค์กร NGFS ถ้า ECB ไม่สามารถแสดงให้องค์กรเห็นได้ว่าการนำเงินจากตรงนี้ไปจะช่วยลดอัตราดอกเบี้ยหรือเพิ่มอัตราเงินเฟ้อให้ขึ้นถึงเป้าของ ECB ได้ยังไง การนำเงินจาก NFGS มาก็เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้

นักวิเคราะห์ทางการเงินหลายคนเห็นด้วยต่อคำพูดของรัฐมนตรีกระทรวงการคลังของสหรัฐฯ นายลาร์ลีย์ ซัมเมอร์ที่บอกว่าเรากำลังอยู่ในยุคของสภาวพความเสื่อมถอยทางเศรษฐกิจเรื้อรัง การที่เราเห็นอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำอาจกลายเป็นเรื่องปกติในโลกยุคใหม่ (new normal) ไปแล้วก็ได้ ในอนาคตข้างหน้าการที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับปริ่มน้ำแบบนี้อาจถือเป็นเรื่องปกติ

ในขณะที่ทุกคนกำลังวิตกกับอัตราดอกเบี้ยลดลงแต่กับไม่ใช่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ที่เชื่อในอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจมากกว่าอัตราเงินเฟ้อที่สำคัญเขายังเชื่อในเรื่องนโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วย ในปีที่แล้วเขากล่าวหาประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ นายเจอโรม พาวเวลล์อยู่หลายครั้งว่าไม่ยอมลดอัตราดอกเบี้ยลงให้มากกว่านี้เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐฯ

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย