ทุกคนทราบดีว่าสกุลเงินดอลล่าร์ถือเป็นสกุลเงินที่แทบจะเรียกได้ว่าเป็นสกุลเงินของโลกไปเลยก็ว่าได้ จึงไม่มีวันไหนที่สกุลเงินดอลลาร์จะไม่ได้รับความสนใจและทำให้สกุลเงินดอลลารืยังคงสามารถปรับตัวสูงขึ้นไปได้เรื่อยๆ ขนาดว่าในช่วงปีที่แล้วที่เฟดมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงเป็นครั้งแรกเมื่อเดือนกรกฎาคมและอีก 2 ครั้งถัดมาซึ่งเป็นการลดอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกในรอบสิบปี ตัวเลขที่ลดลงมานั้นยังถือว่าดีกว่าหลายๆ ประเทศที่เป็นเจ้าของสกุลเงินหลักในโลกเสียอีก
นอกจากนี้การซื้อขายพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ยังถือเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่นักลงทุนชอบใช้เมื่อพวกเขาต้องการหาหลุมหลบภัยในยามที่ตลาดหุ้นสหรัฐฯ มีปัญหาซึ่งการดำเนินการนั้นจำเป็นที่จะต้องใช้สกุลเงินดอลลาร์
แม้ว่าเรื่องที่กล่าวมาทั้งหมดจะเป็นความจริงแต่เราก็อดสงสัยไม่ได้ว่าทำไมสกุลเงินดอลลาร์ยังสามารถปรับตัวขึ้นสูงได้ไม่ว่าโลกจะอยู่ในสถานการณ์ปกติแล้วไม่ปกติ?
สถานการณ์ที่สกุลเงินดอลลาร์ปรับตัวขึ้นสูงเช่นนี้เคยเกิดขึ้นมาแล้วหลังจากที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ชนะการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีในปี 2016 ตอนนั้นไม่ว่าจะเป็นหุ้นหรือพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ต่างก็พากันปรับตัวสูงขึ้น นักลงทุนกว้านซื้อทุกอย่าง แน่นอนว่าสกุลเงินดอลลาร์ย่อมต้องปรับตัวสูงขึ้นด้วยจนประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ต้องออกมาให้สัมภาษณ์เมื่อเดือนมกราคมปี 2017 กับ Wall Street Journal ว่า “การที่สกุลเงินดอลลาร์ขึ้นสูงมากเกินไปกำลังทำร้ายประเทศของเรา” และมีการเน้นย้ำอีกครั้งจากรัฐมนตรีกระทรวงการคลังนายสตีเว่น มนูชิน
อย่างไรก็ตามสถานการณ์ในปีที่แล้วที่สหรัฐฯ ทำสงครามการค้ากับจีนนั้นแตกต่างออกไป ครั้งนี้แม้ว่าหุ้นในตลาดจะมีขึ้นบ้างลงบ้างแต่พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ กลับไม่วิ่งตามเลย ในสถานการณ์ที่เฟดจำเป็นต้องลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ นักลงทุนกลับเลือกที่จะไม่สนใจพันธบัตรรัฐบาล
แล้วทิศทางของสกุลเงินดอลลาร์จะเป็นเช่นไร? บางทีเราอาจจะต้องใช้การวิเคราะห์ทางเทคนิคเข้ามาช่วยหาคำตอบ
สกุลเงินดอลลาร์มีแนวโน้มขาขึ้นที่ดีนับตั้งแต่จุดต่ำสุดของราคา 88.25 เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ปี 2018 ขึ้นไปยังจุดสูงสุดของดัชนีที่ 99.67 เมื่อวันที่ 1 ตุลาคมคิดเป็นการปรับตัวขึ้นไปทั้งสิ้น 13% หลังจากที่กราฟดัชนีดอลลาร์สหรัฐฯ ปรับตัวลดลงมา สกุลเงินดอลลาร์ยังสามารถขึ้นมาได้ 850 pips หรือคิดเป็น 9.64% ในขณะที่กำลังเขียนบทความนี้
การร่วงลงของกราฟดัชนีดอลลาร์สหรัฐฯ คิดเป็น 29% ซึ่งเมื่อราคาได้ลงมาถึงแนวรับที่บริเวณเหนือราคา 97.00 คิดว่าตรงนี้ราคาควรจะดีดกลับจากเทรนไลน์เป็นแนวโน้มขาขึ้นแล้วใช่ไหม?
ความจริงแล้วอาจจะยังไม่ใช่…
กลายเป็นว่าการลงมายังแนวรับที่เหนือ 97.00 อีกครั้งเป็นการสร้างงรูปแบบหัวไหล่ (Head & Shoulder) ได้สำเร็จ เส้นแนวรับเหนือ 97.00 นั้นกลับกลายเป็นเส้น neckline ถึงกระนั้นการเจาะเส้นแนวต้านนั้นเป็นเพียงการทะลุลงมา 0.75% เท่านั้น นักลงทุนที่ชอบความเสี่ยงไม่ถูกใจสิ่งนี้เพราะนักลงทุนแนวนี้ต้องการให้กราฟปรับตัวลงมาเกิน 1% ก่อนเพื่อลดความเสี่ยงในการเป็นกับดักหลอกว่าเป็นขาลง อย่างไรก็ตามการที่จะทำให้เชื่อว่ากราฟจะปรับฐานได้จริงๆ ราคาต้องลงมามากถึง 33% ซึ่งตอนนี้ยังเหลืออยู่อีก 4% ถ้าราคาสามารถดีดกลับเป็นขาขึ้นจากบริเวณนี้ได้ แนวโน้มขาขึ้นก็ยังไม่หมดหวังเสียทีเดียว
ไม่เพียงแค่เฉพาะรูปแบบหัวไหล่เสร็จสมบูรณ์ฺ กราฟทะลุเส้นเทรนไลน์ขาขึ้นลงมาได้และกำลังวกกลับไปทดสอบเส้นแนวต้านที่เป็น neckline เท่านั้นแต่เส้นค่าเฉลี่ยก็ยังตัดกันเรียบร้อยแล้วด้วย นอกจากนี้รูปแบบธงลู่ขึ้น (Rising Flag) ที่ราคากำลังทำอยู่หากดัชนีดอลลาร์สหรัฐฯ สามารถเจาะลงมาได้จริงจะเป็นการยืนยันรูปแบบไปต่อของแนวโน้มขาลง
เมื่อพิจารณาภาพรวมกว้างๆ ในกราฟดัชนีดอลลาร์รายสัปดาห์จะพบว่ากราฟที่วิ่งกับ RSI กำลังวิ่งในลักษณะที่ตรงกันข้ามกันหรือที่ในวงการชอบเรียกว่า “ไดเวอร์เจนต์ (Divergence)” ซึ่งในทีนี้เป็นไดเวอร์เจนต์สำหรับขาลงด้วยยิ่งเป็นการตอกย้ำให้เห็นถึงโมเมนตัมของราคาที่อ่อนลง
กลยุทธ์ในการเทรด
นักลงทุนที่ไม่ชอบความเสี่ยง จะรอจนกว่าราคาจะลงมาต่ำกว่าจุดต่ำสุดที่ราคา 95.97 และรอให้ราคาดีดกลับเพื่อรอสัญญาณยืนยัน
นักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้ปานกลาง ขอเพียงราคาสามารถทะลุจุดต่ำสุดของราคาในเดือนมิถุนายนลงมาได้และมีแท่งเทียนดีดกลับสักแท่งก็พอ ไม่จำเป็นต้องรอแท่งเทียนที่จะมายืนยันการกลับตัว
นักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้สูง อาจตัดสินใจวางคำสั่งขายทันทีที่กราฟจะสามารถเจาะรูปแบบธงลงมาได้โดยอาจจะเลือกรอหรือไม่รอการดีดกลับมาทดสอบแนวต้านของราคา
ตัวอย่างการเทรด
- จุดเข้า: 96.75
- Stop-Loss: 97.25 เหนือเส้น neckline
- ความเสี่ยง: 50 pips
- เป้าหมายในการทำกำไร: 95.25
- กำไรที่จะได้รับ: 150 pips
- อัตราผลตอบแทนเมื่อเทียบกับความเสี่ยง: 1:3