📈 คุณจะเริ่มลงทุนอย่างจริงจังในปี 2025 ไหม? เริ่มต้นก้าวแรกพร้อมรับส่วนลด 50% สำหรับสมาชิก InvestingProรับส่วนลด

ประเด็นน่าสนใจในตลาดโภคภัณฑ์: นักลงทุนควรจับตาดูท่าทีของรัสเซียที่มีต่ออิหร่าน

เผยแพร่ 07/01/2563 14:08
XAU/USD
-
GC
-
LCO
-
CL
-

นอกเหนือจากข่าวที่นายพลคนใหม่ซึ่งขึ้นมาแทนที่นายพลคาเซ็ม โซไลมานี ประกาศกร้าวว่าจะแก้แค้นสหรัฐฯ ให้จงได้และประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ก็ได้ออกมาตอบโต้ด้วยระดับความเดือดที่พอๆ กันว่าจะจัดการถล่มสถานที่สำคัญทางศาสนา 52 แห่ง แต่สิ่งที่นักลงทุนในตลาดสินค้าโภคภัณฑ์กำลังอยากเห็นคือประธานาธิบดี วลาดิเมีย ปูติน ของรัสเซียมีความเห็นเป็นอย่างไรบ้างกับเรื่องนี้

เมื่อคุณผู้อ่านลองตัดอารมณ์ของข่าวที่มีต่อสถานการณ์นี้ออกไปและดูความเป็นไปได้จริงๆ ของทั้งสองประเทศหากจะก่อสงครามตามที่ทั้งโลกกำลังเป็นกังวลอยู่จริง คุณอาจจะเห็นช่องทางความเป็นไปได้ของประเทศรัสเซ๊ยว่าถ้าเขาเข้ามามีส่วนร่วมกับเรื่องนี้จะส่งผลอย่างไรต่อภาพที่ออกมาได้บ้าง

รัสเซียจะเข้ามาช่วยอิหร่านหรือไม่

ถ้ารัสเซียมีการดำเนินการบางอย่างเกี่ยวกับสถานการณ์นี้จริงๆ จะส่งผลกระทบต่อสถานการณ์ของทั้งสองฝ่ายทันที ยกตัวอย่างเช่นคงจะเป็นเรื่องยากสำหรับสหรัฐฯ ที่จะต้องสู้กับอิหร่านโดยมีรัสเซียส่งทหารเข้ามาช่วยรบหรือแม้กระทั่งรัสเซียอาจตัดสินใจถอนตัวออกจากการเป็นพันธมิตรกับกลุ่มโอเปกซึ่งทราบดีอยู่แล้วว่ากลุ่มโอเปกมีซาอุดิอาระเบียเป็นพี่ใหญ่ของกลุ่มและยังเป็นประเทศที่มีความสัมพันธ์อันดีกับสหรัฐฯ เป็นอันดับต้นๆ

“จึงไม่น่าประหลาดใจเลยที่ว่าทำไมรัสเซียถึงแสดงความไม่พอใจต่อสหรัฐฯ ออกมาทันทีหลังจากที่สหรัฐฯ ออกมาประกาศข่าวยืนยันการสังหารนายพลคาเซ็ม โซไลมานี ในกรุงแบกแดดโดยใช้โดรน อย่างไรก็ตามแม้สิ่งที่เราเห็นจะเป็นการที่รัสเซียออกมาแสดงความไม่พอใจแต่กลับไม่มีข่าวรายงานออกมาเลยว่ารัสเซียจะดำเนินการอย่างไรต่อกับสถานการณ์นี้” นาย มาร์ค แคทส์ ศาสตราจารย์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับกฎหมายและการเมืองของมหาวิทยาลัย จอร์จ เมสัน กล่าว

นอกจากนี้นายมาร์คยังอ้างถึงข้อความในหนังสือพิมพ์ “Moscow Times” โดยข้อความเขียนว่า “ถ้าในอนาคตเราได้เห็นข่าวอย่างเช่นรัสเซียมองขาดเข้าไปช่วยอิหร่านในตะวันออกกลางเพื่อปกป้องความถูกต้อง รัสเซียจะกลายเป็นฮีโร่ขึ้นมาทันที”

<b>ถ้ารัสเซียเข้าไปช่วยอิหร่านจะทำให้ราคาน้ำมันดิบและทองคำปรับตัวสูงขึ้นหรือไม่</b>

การดำเนินการใดๆ ก็แล้วแต่ของรัสเซียที่กระทำต่อสถานการณ์ระหว่างสหรัฐฯ - อิหร่านจะทำให้ระยะเวลาของสถานการณ์นี้ยาวนานขึ้นรวมถึงยังจะช่วยทำให้ราคาน้ำมันดิบ Brent ที่ตอนนี้ปรับตัวขึ้นไปถึงระดับราคา $70 ต่อบาร์เรลแล้วได้โอกาสปรับตัวสูงขึ้นไปอีกซึ่งรวมไปถึงราคาทองคำล่วงหน้าด้วยที่ตอนนี้ราคาวิ่งอยู่ที่ประมาณ $1,580 ต่อออนซ์

ราคาทองคำล่วงหน้ารายสัปดาห์

คุณ Gaurav Sharma นักวิเคราะห์ตลาดน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติแห่งนิยสารฟอร์บ (Forbes) ได้ตั้งคำถามที่น่าสนใจขึ้นมาว่า “เหลือเวลาอีกนานเท่าไหร่ก่อนที่รัสเซียจะยกเลิกการลดกำลังการผลิตน้ำมันตามที่กลุ่มโอเปกขอและยุติความเป็นพันธมิตรกับกลุ่มโอเปกลง”

ความสำคัญของประเทศรัสเซียในตอนนี้สำหรับกลุ่มโอเปกสามารถให้ข้อมูลสั้นๆ ได้ว่ารัสเซียเป็นประเทศพันธมิตรที่ใหญ่ที่สุดจาก 10 ประเทศซึ่งไม่ถูกนับรวมเข้ากับกลุ่มโอเปก ตอนนี้รัสเซียต้องควบคุมการผลิตน้ำมันในแต่ละวันให้อยู่ที่ 70,000 บาร์เรลต่อวันตามข้อเสนอที่รัสเซียพึ่งทำกับกลุ่มโอเปกไปคือสัญญาว่าจะลดกำลังการผลิตน้ำมันลงในช่วงไตรมาสแรกของปี 2020 โดยที่กลุ่มโอเปกจะเป็นผู้ผลิตน้ำมันจำนวน 167,000 บาร์เรลต่อวันแทนเพื่อคงระดับการผลิตน้ำมันรวมทั้งหมดไว้ที่ 2.1 ล้านบาร์เรลต่อวันหรือคิดเป็น 2.1% ของปริมาณน้ำมันดิบทั้งโลกที่มีราคาน้ำมันดิบ Brent ล่วงหน้า


รัสเซียจะยังอยู่กับกลุ่มโอเปกไปอีกนานเท่าไหร่

ถือเป็นคำถามที่น่าสนใจมากๆ ว่าประเทศรัสเซียที่พึ่งทำสัญญาตกลงลดกำลังการผลิตน้ำมันฉบับใหม่กับโอเปกเพื่อต้องการลดความเป็นไปได้ที่ปริมาณน้ำมันดิบจะล้นตลาดในปี 2020 จะอยู่ร่วมกับโอเปกไปได้อีกนานแค่ไหน

เมื่อวันที่ 27 ธันวาคมที่ผ่านมานาย อเล็กซานเดอร์ โนวาค รัฐมนตรีกระทรวงพลังงานของรัสเซียได้ให้สัมภาษณ์กับสถานนีโทรทัศน์ “Rossiya24” ว่า “เป็นไปไม่ได้ที่เราจะลดกำลังการผลิตน้ำมันไปได้ตลอด ท้ายที่สุดแล้วรัสเซียก็ต้องตัดสินใจหาทางออกใหม่อยู่ดี” การให้สัมภาษณ์นี้เกิดขึ้นภายในระยะเวลา 3 สัปดาห์เท่านั้นหลังจากที่ตัวเขาได้ไปนั่งอยู่ในสถานที่เซ็นสัญญากับประธานกลุ่มโอเปกที่กรุงเวียนนาด้วย

คุณ Gaurav Sharma ได้แสดงความคิดเห็นถึงท่าทีของรัฐมนตรีกระทรวงพลังงานในครั้งนี้ว่า “ถ้าเขาคิดแบบนี้จริงตั้งแต่ต้นแล้วสาเหตุอะไรที่รัสเซียจำเป็นต้องเซ็นสัญญาฉบับนี้เพื่อยืดระยะเวลาลดกำลังการผลิตน้ำมันออกไปอีก? เพื่อปกป้องราคาน้ำมันในตลาด? หรือเพื่อส่วนแบ่งของรัสเซียในตลาด? หรืออาจเป็นไปได้ว่ากลุ่มโอเปกมีผู้เล่นอย่างสหรัฐฯ ยื่นมาเข้ามามีส่วนร่วมเกี่ยวกับการตรึงราคาน้ำมันดิบของโลกด้วย?”

สถิติการส่งออกน้ำมันดิบของสหรัฐฯ

หากใครก็ตามที่ได้เห็นข้อมูลตัวเลขการส่งออกน้ำมันดิบรายสัปดาห์จากหน่วยงานด้านพลังงานของสหรัฐฯ (EIA) ที่รายงานออกมาเมื่อวันศุกร์รับรองได้ว่าจะลืมสิ่งที่โนวาคกังวลไปได้เลย

อ้างอิงจากข้อมูลของ EIA พบว่ามีตัวเลขการส่งออกน้ำมันจำนวน 4.5 ล้านบาร์เรลต่อวันถูกส่งออกไปเมื่อวันที่ 27 ธันวาคมปี 2019 ที่ผ่านมาซึ่งถือเป็นตัวเลขสูงที่สุดนับตั้งแต่ที่สหรัฐฯ สามารถกลับมาส่งออกน้ำมันดิบได้อีกครั้งในปี 2016 หลังจากนั้นต่อมาตัวเลขที่สหรัฐฯ สามารถทำได้ไม่เคยเกิน 4 ล้านบาร์เรลต่อวันในแต่ละสัปดาห์เลย

นอกเหนือจากข้อมูลการส่งออกน้ำมันดิบในปี 2019 นี้ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบรายสัปดาห์ของสหรัฐฯ ก็สามารถแตะจุดสูงสุดตลอดกาลของราคาที่ 12.9 ล้านบาร์เรลต่อวันได้แม้ว่าในปีที่แล้วสหรัฐฯ จะประสบปัญหาการส่งออกหินน้ำมันซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักของการผลิตน้ำมันในสหรัฐฯ และมีการลดเครื่องเจาะน้ำมันในประเทศ 204 เครื่องจากจำนวน 677 เครื่องขุดเจาะทั่วประเทศคิดเป็นการลดลง 24% จะระดับของเครื่องขุดเจาะที่มีในปี 2018

คุณ Gaurav Sharma ได้พูดถึงประเด็นนี้ว่าแม้ว่าจะไม่มีการลดกำลังการผลิตน้ำมันจากกลุ่มโอเปกและผองเพื่อนเข้ามาเป็นปัจจัยประเทศสหรัฐฯ เองก็สามารถเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันได้ด้วยตัวเองอยู่แล้วซึ่งนี่เป็นสาเหตุหนึ่งว่าทำไมราคาน้ำมันดิบ WTIจึงสามารถฟื้นตัวขึ้นมาจากจุดต่ำสุดของราคาที่ $26 ต่อบาร์เรลในปี 2016 เป็นระดับราคาที่เกือบจะแตะ $65 ได้อยู่แล้วในปัจจุบัน


กราฟราคาน้ำมันดิบล่วงหน้ารายสัปดาห์

ราคาน้ำมันดิบอาจปรับตัวลดลง $5 ต่อบาร์เรลเลยถ้ารัสเซียออกจากโอเปกจริงๆ

แม้ไม่จำเป็นต้องมีสถานการณ์ระหว่างสหรัฐฯ - อิหร่านเข้ามาเกี่ยวข้องถ้าวันนี้รัสเซียตัดสินใจโบกมือลากลุ่มโอเปก ทั้งราคาน้ำมันดิบ WTI และ Brent พร้อมที่จะปรับตัวลดลงมาอย่างน้อย $5 บาร์เรล

หากถามว่าทำไม? คำตอบคือการออกจากกลุ่มโอเปกของรัสเซียจะยิ่งเป็นการบังคับให้ซาอุดิอาระเบียต้องลดกำลังการผลิตน้ำมันดิบลงอีก 2.1 ล้านบาร์เรลต่อวันและเปิดโอกาสให้รัสเซียสามารถผลิตน้ำมันเองได้อย่างเต็มที่เหมือนอย่างที่อเมริกาทำอยู่ เราไม่รู้เลยว่าประธานกลุ่มโอเปกจะมีความสามารถเพียงพอหรือสามารถที่จะลดกำลังการผลิตไปได้มากกว่านี้โดยที่ทำให้กลุ่มโอเปกและพันธมิตรไม่ต้องแยกทางกันได้อีกหรือไม่

อ้างอิงรายงานจากบลูมเบิร์กประเทศรัสเซียมีค่าเฉลี่ยที่จะสามารถผลิตน้ำมันในแต่ละวันได้อยู่ที่ 11.244 ล้านบาร์เรลต่อวันในเดือนพฤศจิกายนซึ่งตัวเลขนี้เป็นตัวเลขที่รัสเซียสามารถทำได้ทั้งๆ ที่ยังอยู่ในโควตาจากกลุ่มโอเปกที่ไม่ต้องการให้ผลิตน้ำมันเกิน 11.191 ล้านบาร์เรลต่อวัน นอกจากนี้แนวโน้มการผลิตน้ำมันในรัสเซียยังคงสูงขึ้นเรื่อยๆ ด้วยเพราะเมื่อเดือนธันวาคมมีตัวเลขการผลิตน้ำมันโดยเฉลี่ยออกมาที่ 11.252 ล้านต่อวัน เกินโควตามามากถึง 62,000 บาร์เรลต่อวัน

การเป็นพันธมิตรกับกลุ่มโอเปกของรัสเซียเป็นเพียงเกมจิตวิทยาการเมืองมากกว่า

“สิ่งที่รัสเซียกำลังทำในตอนนี้จริงๆ แล้วคือการสร้างความน่าเชื่อถือให้กับประเทศตัวเองในเวทีโลกด้วยการลงนามในสนธิสัญญากับโอเปก รัสเซียทำเพียงตามน้ำไปด้วยการเซ็นสัญญากับโอเปกอย่างที่ชาวโลกได้เห็น” กล่าวโดย คุณ Gaurav Sharma

การประชุมของโอเปกและพันธมิตรจะเกิดขึ้นอีกครั้งที่กรุงเวียนนาในวันที่ 4-6 มีนาคมนี้และเราจะได้เห็นท่าทีและการตัดสินใจของรัสเซียอีกครั้ง โนวาคยังได้กล่าวในการให้สัมภาษณ์ครั้งนั้นด้วยว่ารัสเซียจะทำทุกอย่างเพื่อปกป้องส่วนแบ่งทางการตลอดของประเทศตัวเอง ประเทศรัสเซียยังมีนโยบายส่งเสริมบริษัทน้ำมันและก๊าซธรรมชาติให้ “พัฒนาโปรเจคใหม่” แต่ถึงอย่างนั้นนายโนวาคก็เลี่ยงที่จะตอบคำถามอย่างชัดเจนว่าเมื่อไหร่รัสเซียจะออกจากกลุ่มโอเปก

เชื่อว่าคำตอบนี้ลำพังนายอเล็กซานเดอร์ โนวาคคงไม่สามารถตอบได้นอกจากจะรอคำตอบจากลูกพี่ใหญ่อย่างท่านวลาดิเมีย ปูตินเป็นคนสั่งการเอง

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย