เป็นอีกทศวรรษหนึ่งที่กำลังจะผ่านไปแล้วและก็ยังไม่มีใครสามารถให้คำตอบกับวงการสินค้าโภคภัณฑ์ได้ว่าปริมาณความต้องการน้ำมันดิบในโลกใกล้ที่จะแตะจุดสูงสุดของราคาที่ $100 ต่อบาร์เรลได้อีกครั้งหรือยัง
เป็นเวลามากกว่า 60 ปีแล้วที่ซาอุดิอาระเบียปล่อยให้องค์กรกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (OPEC) เข้ามามีบทบาทและสามารถกำหนดทิศทางของราคาน้ำมันในโลกได้ แต่นักลงทุนในตลาดน้ำมันก็ไม่รู้เลยว่าองค์กรนี้จะอยู่ไปได้อีกนานแค่ไหน ทุกวันนี้ก็ถือว่าประหลาดใจมากแล้วที่องค์กรนี้ยังสามารถมีบทบาทและมีผลกับราคาน้ำมันดิบในตลาดได้อยู่
นายจอห์น คลิดัฟ ผู้ร่วมก่อตั้งของกองทุนด้านพลังงานแห่งเมืองนิวยอร์คกล่าวกับเรื่องนี้ว่า “ตราบเท่าที่โลกยังใช้น้ำมันเป็นพลังงานหลักและยังซื้อขายน้ำมันในฐานะสินค้าโภคภัณฑ์ เราก็จะไม่มีทางหลุดจากคำถามที่ว่าเมื่อไหร่ที่โลกจะเลิกใช้พลังงานน้ำมันและเปลี่ยนไปใช้พลังงานทดแทนอย่างอื่นที่ดีกว่า”
นอกจากนี้เขากล่าวเพิ่มเติมอีกว่า “คำถามหว่านแหเกี่ยวกับอนาคตของน้ำมันนอกจากจะเป็นการถามเรื่องอนาคตของราคาน้ำมันแล้ว ยังเป็นการถามถึงอนาคตของกลุ่มโอเปและซาอุดิ อาระเบียด้วยในฐานะผู้กุมตลาดน้ำมันดิบรายใหญ่รายหนึ่งของโลกและถึงแม้เราจะถกเถียงกันถึงคำถามของเรื่องนี้มานานพอแล้วแต่คำตอบที่ได้ก็ไม่เคยเข้าใกล้กับความเป็นจริงเลย ”
จุดสูงสุดของราคาน้ำมันดิบก็ยังเป็นเพียงทฤษฎี
คำว่า “จุดสูงสุดของกระบวนการผลิตน้ำมัน” เป็นคำที่หมายถึงกระบวนการผลิตน้ำมันดิบของโลกจะถึงจุดสูงสุดทางทฤษฎีก่อนที่กระบวนการผลิตน้ำมันจะเริ่มลดลง ตามหลักแล้วเรื่องนี้ส่งผลดีต่อราคาน้ำมันดิบตราบเท่าที่พลังงานทดแทนยังไม่สามารถขึ้นมาแทนที่ได้จริงๆ
“จุดสูงสุดของปริมาณความต้องการน้ำมันดิบ” จะเป็นจุดจบของตำนานการครอบครองตลาดพลังงานโดยน้ำมันดิบมาอย่างยาวนานซึ่งจะพลักให้นักลงทุนและรัฐบาลต้องหันไปลงทุนอย่างอื่นที่ไม่ใช่พลังงานที่มาจากถ่านหิน ถ้าเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นจริงจะเป็นข่าวร้ายอย่างที่สุดกับวงการน้ำมันดิบเลย อ้างอิงจากรายงานของสำนักงานพลังงานสากล (IEA) ประจำประเทศฝรั่งเศสคาดการณ์ว่าปริมาณการใช้งานน้ำมันดิบจะไม่เพิ่มขึ้นอีกแล้วภายใน 10 ปีข้างหน้านี้
ถ้าว่ากันตามหลักเหตุและผลแล้วความต้องการน้ำมันดิบไม่อาจคงอยู่ได้ตลอดไป
สิ่งที่ตลกที่สุดคือหลังจากที่รายงานฉบับนี้ของ IEA เผยแพร่ออกสู่สาธารณชนแล้วสิ่งที่เกิดขึ้นเลยในอีกสองสัปดาห์ถัดมาคืองานวิจัยทฤษฎีความต้องการน้ำมันในตลาดของแอนดี้ ฮอลล์ได้รับรางวัลชนะเลิศ ลูกค้าของฮอลล์และตัวเขาเองได้กำไรจากการลงทุนในน้ำมันมากกว่าร้อยล้านเหรียญสหรัฐฯ ในขณะที่งานวิจัยจาก IEA บอกว่าน้ำมันดิบกำลังจะหมดไปแต่ฮอลล์และลูกค้าของเขาสามารถทำกำไรได้จากขาขึ้นของราคาน้ำมันดิบ
แอนดี้ ฮอลล์กล่าวในงานที่เขาได้รับรางวัลว่า “ปริมาณความต้องการน้ำมันดิบเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ อย่างมีนัยสำคัญมาตั้งแต่ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สองและทุกคนก็เชื่อว่าความต้องการน้ำมันดิบจะคงอยู่ต่อไปตราบนานเท่านาน แต่ในความเป็นจริงแล้วไม่มีอะไรคงอยู่ไปได้ตลอดกาลเมื่อเทคโนโลยีของมนุษยชาติพัฒนาไปไกลอย่างมากในยุคปัจจุบันทำให้ความเป็นไปได้ที่พลังงานทดแทนอย่างเช่น รถไฟฟ้า จะเข้ามาแทนที่ใกล้เข้ามาทุกขณะ แม้ก่อนปี 2030 จะมาถึงผมยังเชื่อว่าพลังงานไฟฟ้าจะยังไม่เข้ามาแทนที่พลังงานน้ำมันได้อย่างสมบูรณ์แบบ แต่ที่เราจะได้เห็นแน่นอนคือการหยุดเติบโตของพลังงานน้ำมันและการลดลงของการใช้พลังงานเชื้อเพลิงในระดับโลก” อย่างไรก็ตามในขณะที่เขากำลังพูดถึงเรื่องแนวโน้มการใช้งานน้ำมันดิบจะลดลงในอนาคตแต่ก็พึ่งมีข่าวการค้นพบแหล่งน้ำมันใหม่ใน บราซิล นอร์เวย์ และ กายอานา
ราคาน้ำมันดิบอาจขึ้นไปแตะ $100 ได้อยู่ในช่วงระยะเวลาสั้นๆ
เมื่อมีคนถามแอนดี้ ฮอลล์ว่า “เป็นไปได้ไหมที่เราจะได้เห็นราคาน้ำมันที่ระดับราคา $100 อีกครั้ง?” ฮอลล์ ตอบกลับมาว่า “แน่นอนแต่อาจจะแค่ชั่วครู่เท่านั้นก่อนที่ราคาจะปรับตัวกลับลงไป”
ย้อนเวลากลับไปโดยสังเขปเกี่ยวกับราคาน้ำมันดิบในอดีต ครั้งหนึ่งในปี 2008 ช่วงที่โลกประสบปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจ สหรัฐฯ สามารถพลิกฟื้นเศรษฐกิจกลับขึ้นมาได้จากการค้นพบวิธีสกัดน้ำมันแบบใหม่ก่อนที่จะกลายมาเป็นน้ำมันดิบ WTI อย่างที่เราทราบในปัจจุบันซึ่งตอนนั้นราคาน้ำมันดิบสหรัฐฯ เคยขึ้นไปแตะระดับราคาที่ $100 ได้เป็นครั้งแรก
การร่วงลงจากจุดสูงสุด $147
การทรุดลงของตลาดหุ้นอย่างรุนแรงในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจสหรัฐฯ ทำให้ราคา น้ำมันดิบ WTI ร่วงลงจากจุดสูงสุดของราคาที่ $147 ต่อบาร์เรลในเดือนกรกฎาคมปี 2008 เหลือเพียงราวๆ $32 เท่านั้นในเดือนธันวาคมปีเดียวกัน
อย่างไรก็ตามราคาน้ำมันดิบสามารถดีดตัวกลับขึ้นมายังระดับราคาที่ $80 ได้ในช่วงเริ่มต้นปี 2010 และหลังจากนั้นมาก็ไม่มีใครสามารถคาดการณ์ราคาน้ำมันในตลาดได้อีกว่าจะวิ่งไปในทิศทางใดกันแน่ การประท้วงในช่วงฤดูใบไม้ผลิของอาหรับในปี 2011 กลายเป็นชนวนที่ก่อให้เกิดวิกฤติในลิเบียต่อมาซึ่งไปสู่สงครามกลางเมืองในแอฟริกาเหนือ การแทรกแซงทางการทหารและการตายของทรราชอย่างมูอัมมาร์ กัดดาฟี ครั้งหนึ่งลิเบียเคยเป็นหนึ่งในผู้ผลิตน้ำมันรายสำคัญของกลุ่มโอเปก ลิเบียเคยมีกำลังการผลิตน้ำมันมากถึง 1.5 ล้านบาร์เวลต่อวันก่อนที่กำลังการผลิตน้ำมันแทบเหลือศูนย์ในช่วงปลายปี 2011 หลังจากการตายของกัดดาฟี
การที่ลิเบียต้องถูกลดบาบาทลงไปจากลุ่มโอเปกเพราะเหตุผลนี้กระทบต่อน้ำมันดิบ WTI ของสหรัฐฯ ไปด้วยจนไม่สามารถยืนหนึ่งในฐานะน้ำมันดิบอันดับหนึ่งของโลกได้และกลายมาเป็นน้ำมันดิบเบรนท์ ขึ้นมาครองตำแหน่งอันดับหนึ่งแทน ในตอนนั้นราคาน้ำมันดิบ Brent สามารถขึ้นมายืนเหนือระดับราคา $100 บาร์เรลได้ในเดือนมกราคมปี 2011 โดยที่ราคาไม่ปรับตัวลงมาต่ำกว่า $100 เลยเป็นเวลานานกว่า 3 ปีครึ่ง
หลังจากนั้นก็เป็นการเปลี่ยนแปลงของตลาดน้ำมันอีกในระลอกที่สองเมื่อสหรัฐฯ สามารถค้นพบวิธีที่ทำให้น้ำมันดิบ WTI ของตนเองมีประสิทธิภาพมากยิ่งกว่าเดิมในปี 2014 หลังจากนั้นเป็นต้นมาบทบาทของโอเปกและประเทศซาอุดิ อาระเบียก็เริ่มค่อยๆ มีอิทธิพลกับราคาน้ำมันดิบลดลงไป
ใครจะเชื่อว่าราคาน้ำมันดิบสหรัฐฯ เคยลงไปเหลือเพียง $26 เมื่อสามปีที่แล้ว
เมื่อสหรัฐฯ สามารถผลิตน้ำมัน WTI ที่ดีขึ้นได้ ทางซาอุดิอาระเบียและกลุ่มโอเปกก็ไม่ยอมแพ้เช่นกัน พวกเขาเลือกที่จะเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันสู้กับสหรัฐฯ จนคนในวงการขนานนามว่า “ปั้มน้ำมันดิบอย่างไรให้เหมือนว่าวันพรุ่งนี้เป็นวันสิ้นโลก” การกระทำของโอเปกในตอนนั้นพอดีกับตอนที่อิหร่านประเทศผู้ส่งออกน้ำมันเป็นอับดับ 4 ของโลกกำลังมีเรื่องพิพาทโดนสหรัฐฯ ในยุคสมัยของประธานาธิบดีบารัก โอบาม่า คว่ำบาตรอยู่พอดี
ด้วยการสนับสนุนจากอิหร่านทำให้แผนการของโอเปกและซาอุดิ อาระเบียได้ผล ตอนนั้นราคาน้ำมันดิบ Brent มีราคาอยู่ที่ประมาณ $35 ต่อบาร์เรลในเดือนธันวาคมปี 2018 และราคาน้ำมันดิบ WTI เหลือเพียง $26 ต่อบาร์เรลในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ปี 2016
ยังไม่จบเท่านั้นกลุ่มโอเปกและซาอุดิอาระเบียยังได้งัดไม้เด็ดออกมาสร้างความประหลาดใจให้กับวงการน้ำมันในตลาดโลกด้วยการประกาศสร้างกลุ่มพันธมิตรระหว่างโอเปกและกลุ่มประเทศพันธมิตรผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่อื่นๆ ของโลกนำโดยรัสเซียและประเทศพันธมิตรอีก 15 ประเทศ
ล่าสุดโอเปกและกลุ่มประเทศพันธมิตรตกลงร่วมกันที่จะลดกำลังการผลิตน้ำมันลง 1.2 ล้านบาร์เรลต่อวันและในเดือนนี้จะลดกำลังการผลิตลงอีก 2.1 ล้านบาร์เรลต่อวันคิดเป็น 2% ของราคาน้ำมันในตลาดโลก อย่างไรก็ตามตอนนี้สหรัฐฯ ได้ขึ้นมาเป็นเบอร์หนึ่งในเรื่องของการเป็นผู้ผลิตน้ำมันและเป็นผู้ส่งออกและยังห้ามไม่ให้มีการนำเข้าน้ำมันดิบมานับตั้งแต่ปี 2015
ในช่วงสามปีที่ผ่านมาโอเปกต้องพบกับความท้าทายมากมายในการสร้างสมดุลให้กับราคาน้ำมันดิบทั่วโลกในขณะที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ได้เพิ่มมาตรการคว่ำบาตรใหม่กับประเทศอิหร่านและเวเนซูเอล่าเพื่อลดความได้เปรียบและบทบาทของกลุ่มโอเปกลงไปอีกเพราะทรัมป์กลัวว่ากลุ่มโอเปกจะเลือกใช้วิธีปั้มน้ำมันอย่างรุนแรงเหมือนดั่งในอดีตและจะทำให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ ชะลอการเติบโตลง
ซาอุดิอาระเบียในช่วงปี 2018 ที่ผ่านมานี้ก็มีชื่อเสียงในแง่ลบมากอยู่ การที่นักข่าวนายจามาล คาชูจกิถูกสังหารในสถานกงศุลซาอุดิอาระเบียและโรงงานกลั่นน้ำมันดิบถูกโจมตีในเดือนกันยายนยังคงตามหลอกหลอนและสร้างผลกระทบเชิงลบต่อเนื่องกับซาอุดิอาระเบียแม้ว่าซาอุดิอาระเบียจะมีข่าวดีที่สามารถดึงบริษัทน้ำมันระดับชาติอย่าง Aramco (SE:2222) เข้าตลาดหลักทรัพย์ของซาอุดิอาระเบียได้สำเร็จแล้วก็ตาม