โดย Kathy Lien กรรมการผู้จัดการด้านกลยุทธ์ฟอเร็กซ์จาก BK Asset Management
ภาพรวมตลาดฟอเร็กซ์ประจำวันที่ 1 ตุลาคม 2019
เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา สกุลเงินหลักทั้งหมดยกเว้นแต่เพียง ยูโร และ สเตอร์ลิง ต่างก็พากันปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับดอลลา์สหรัฐ โดยมีดอลลาร์ออสเตรเลียปรับลดลงมากที่สุด ธนาคารกลางออสเตรเลียได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงเป็นครั้งที่สามของปีนี้จนสามารถทำลายสถิติค่าต่ำสุดอยู่ที่ 0.75% แต่สิ่งสำคัญก็คือ ดอลลาร์กำลังจะเตรียมขึ้นแตะจุดสูงสุดระยะสั้นแล้ว ดอลลาร์สหรัฐเปิดตลาดที่นิวยอร์คได้อย่างแข็งแรงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักอื่นๆ และถือว่าเป็นการแข็งค่าที่มากที่สุดในรอบหลายปีเมื่อเทียบกับยูโร แต่หลังจากที่มีการประกาศรายงานตัวเลขดัชนีทางเศรษฐกิจจาก ISM ออกมาก็มีการกลับตัวลง โดยจากรายงานล่าสุดนั้น ตัวเลขอุตสาหกรรมโรงงานอ่อนตัวลงต่ำสุดในรอบ 10 ปี อุตสาหกรรมการผลิตหดตัวลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่สอง โดยดัชนีปรับลดลงจาก 49.1 เป็น 47.8 การปรับลดลงในครั้งนี้ทำให้เกิดความกังวลที่มากขึ้นเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกซึ่งกำลังส่งผลกระทบกับเศรษฐกิจของสหรัฐฯ รวมไปถึงตลาดแรงงานอย่างเลี่ยงไม่ได้ แม้ว่าการจ้างงานในอุตสาหกรรมการผลิตจะเป็นคนละเรื่องกันกับรายงานตัวเลขการจ้างงาน เมื่อวันศุกร์ แต่การที่ดัชนีการจ้างงาน ปรับลดลงต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 2016 เป็นต้นมาเช่นนี้ย่อมเป็นสัญญาณที่ไม่ดีสำหรับสภาพเศรษฐกิจและการจ้างงานได้เช่นเดียวกัน เราจะทราบข้อมูลเพิ่มเติมที่ชัดเจนกว่านี้ได้จาก รายงานตัวเลขในภาคการบริการ ซึ่งมีกำหนดจะประกาศออกมาในวันพฤหัสบดีนี้ แต่สำหรับตอนนี้นั้น รายงานที่ประกาศออกมาแล้วในวันนี้ได้เปลี่ยนทิศทางของเงิน ดอลลาร์ ไปแล้วด้วยการคาดการณ์ว่ารายงานที่กำลังจะตามมาน่าจะย่ำแย่ด้วยเช่นกัน นอกเหนือจากค่าเงินดอลลาร์แล้ว ผลตอบแทนพันธบัตรก็แย่ลง รวมไปถึงดัชนีดาว ก็ร่วงลงมากกว่า 300 จุดด้วย หากรายงานตัวเลขจาก ADP ที่จะประกาศออกมาในวันพุธไม่เป็นไปตามเป้าก็น่าจะทำให้เกิดแรงเทขายออกมาจนอาจทำให้ USD/JPY ลงไปต่ำกว่าระดับ 107.50 ได้
แต่ก็ต้องขอบคุณการปรับตัวลดลงของเงินดอลลาร์ซึ่งจะทำให้เราเห็นยูโรลงไปแตะจุดต่ำสุดระยะสั้นได้ สถานการณ์ของยูโรโซนในขณะนี้ยังค่อนข้างเสี่ยงและการที่สหภาพยุโรปออกมาปฏิเสธเกี่ยวกับรายงานที่ว่าอียูกำลังพิจารณาข้อตกลงที่จะยินยอมให้อังกฤษรวมอยู่กับอียูได้ชั่วคราวนั้นก็ไม่ได้ช่วยให้ค่าเงินยูโรดีขึ้นแต่อย่างใด อย่างไรก็ตามความเสี่ยงที่จะเกิดการเร่งปิดสถานะ short ยังคงมีสูง เนื่องจากในวันศุกร์ที่กำลังจะถึงนี้จะมีการประกาศตัวเลข ปริมาณการจ้างงานนอกภาคการเกษตร ออกมาและนักลงทุนอาจใช้ข้ออ้างว่าตัวเลขดัชนี PMI ภาคการผลิตในเดือนกันยายนมีการปรับตัวสูงขึ้นก็ได้ ภาคการผลิตในตอนนี้ยังค่อนข้างอ่อนแรงอย่างมาก แต่การเร่งปิดสถานะ short ก็อาจทำให้ EUR/USD ไปแตะที่ระดับ 1.10 ได้โดยยังไม่ทะลุเส้นแนวโน้มขาลง
ดอลลาร์ออสเตรเลีย ยังคงเป็นสกุลเงินที่ทำผลงานได้แย่ที่สุดในช่วงนี้ ซึ่งก็ไม่น่าแปลกใจเนื่องจากธนาคารกลางมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ย ในปีนี้ลงไปแล้วถึงสามครั้งจนทำให้อัตราดอกเบี้ยปัจจุบันลงไปทำสถิติต่ำสุด ธนาคารกล่าวว่า “ได้เตรียมการที่จะปรับลดเพิ่มเติมอีกหากมีความจำเป็น” และคาดว่าแรงกดดันในด้านอัตราเงินเฟ้อจะลดลงไประยะหนึ่ง นอกจากนั้นยังได้กล่าวแสดงความกังวลในเรื่องสถานการณ์การบริโภคไว้ด้วย ตัวบ่งชี้หลายอย่างยังชี้ว่าการเติบโตทางด้านการจ้างงานจะยังชะลอตัวเพราะนายโลวี ประธานธนาคารกลางออสเตรเลียกล่าวว่า “การเติบโตในด้านตลาดแรงงานและอัตราเงินเฟ้อยังเป็นไปได้ช้ากว่าที่คิด” ถึงแม้ว่าเราจะไม่เชื่อว่าธนาคารกลางออสเตรเลียจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปีนี้อีก แต่ แถลงการณ์ที่ออกมาในวันนี้นั้นดูมีท่าทีผ่อนปรนมากกว่าที่ตลาดคาดคิด NZD/USD จึงปรับลดลงต่ำสุดในรอบ 4 ปีเนื่องจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางออสเตรเลียเป็นการกดดันให้ธนาคารกลางนิวซีแลนด์ต้องปรับลดลงตามไปด้วยเช่นกัน
USD/CAD ถูกเทขายออกมาพอสมควรแม้ว่าการเติบโตของจีดีพีจะยังไม่ดีเท่าที่ควรและราคาน้ำมันยังลดลง ทิศทางดังกล่าวถูกกำหนดโดยค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่อ่อนตัวลงทั้งสิ้น แม้ว่าการปรับตัวลงจะหยุดหลังจากที่ลดลงมาตลอด 2 สัปดาห์ การที่ USD/CAD ปิดตลาดนิวยอร์คที่ระดับต่ำสุดประจำสัปดาห์ทำให้มีโอกาสที่จะร่วงลงต่อได้อีก หากว่า USD/CAD ร่วงลงไปต่ำกว่า 1.32 ก็อาจจะดิ่งลงต่อไปถึง 1.3150 ได้ และท้ายที่สุด สเตอร์ลิง ปิดตลาดประจำวันได้ไม่เปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากตัวเลขอุตสาหกรรมการผลิตที่ดีเกินคาดยังช่วยให้สกุลเงินนี้ไม่ร่วงลงไปมากกว่าเดิม แต่ประเด็นสำคัญยังอยู่ที่เรื่องของ Brexit หากสหภาพยุโรปยื่นข้อเสนอที่จะยอมให้ไอร์แลนด์เหนืออยู่ภายใต้อียูต่อไปได้ GBP/USD ก็จะสามารถปรับตัวขึ้นได้ แต่ในระหว่างนี้ ทิศทางการเคลื่อนไหวของสเตอร์ลิงก็จะยังอยู่ในช่วงแคบๆ ต่อไป