โดย Kathy Lien กรรมการผู้จัดการด้านกลยุทธ์ฟอเร็กซ์จาก BK Asset Management
ภาพรวมตลาดฟอเร็กซ์ประจำวันที่ 3 กรกฎาคม 2019
รายงานตัวเลข จำนวนการจ้างงานนอกภาคการเกษตร ถือเป็นตัวชี้วัดสำคัญของ ดอลลาร์สหรัฐ และสกุลเงินหลักอื่นๆ ตัวเลขที่รายงานออกมาในเดือนนี้น่าจะทำให้ตลาดสั่นสะเทือนได้มากกว่าที่เคย ปริมาณการซื้อขายในตลาดสหรัฐฯ ในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ที่ติดกับวันที่ 4 กรกฎาคมนี้จะเริ่มเบาบางลง และถือว่าเป็นช่วงวันหยุดพักผ่อนยอดนิยมในช่วงฤดูร้อนเลยทีเดียว ดังนั้นระหว่างนี้จึงจะมีเฉพาะนักลงทุนมือใหม่ที่มักจะไม่กล้าลงทุนอะไรมากมายนัก อย่างไรก็ตามรายงานตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตร (NFP) ก็ยังคงมีความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากในเดือนที่ผ่านมาธนาคารกลางชี้แจงว่าใกล้ถึงเวลาที่จะต้องปรับลดอัตราดอกเบี้ยแล้ว แต่จะเร็วหรือช้าเพียงใดนั้นก็ขึ้นอยู่กับข้อมูลต่างๆ ที่ออกมาในช่วงนี้ด้วย ซึ่งในขณะนี้ก็ยังไม่มีข้อมูลทางเศรษฐกิจในด้านใดที่จะมีความสำคัญเท่ากับรายงานการจ้างงาน หากปริมาณการจ้างงานไม่เป็นไปตามเป้า ตลาดอาจ ให้ความสำคัญ กับ การปรับลดอัตราดอกเบี้ย ในเดือนกรกฎาคมแทน ขณะที่ตลาดซื้อขายอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงล่วงหน้ายังคงปักใจเชื่อ 100% ว่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนกรกฎาคมนี้ การที่ดอลลาร์ปรับตัวลงเล็กน้อยตั้งแต่วันที่ 19 มิถุนายนเป็นต้นมาเป็นสัญญาณว่านักลงทุนในตลาดฟอเร็กซ์ยังไม่พร้อมสำหรับการปรับลดดอกเบี้ยในครั้งนี้ ดังนั้นหากตัวเลขการจ้างงานอ่อนตัวลง ดอลลาร์สหรัฐก็น่าจะปรับลดลงแทบทั้งกระดาน
สาเหตุหนึ่งที่ทำให้ ดอลลาร์สหรัฐ ยังไม่อ่อนค่าลงไปมากนัก เนื่องจากมีการคาดกันว่าปริมาณการจ้างในเดือนนี้จะดีขึ้นกว่าเดิมและการคาดการณ์นี้ยังได้รับการยืนยันโดย นายบุลลาร์ด ประธานธนาคารกลางเซนต์หลุยส์ในสหรัฐฯ อีกด้วย ตัวเลขปริมาณการจ้างงานที่รายงานออกมาเมื่อเดือนที่แล้วเป็นตัวเลขที่ต่ำมากเพียง 75,000 ตำแหน่ง ประกอบกับการเติบโตของค่าจ้างที่ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่สาม จึงไม่น่าแปลกใจว่าเศรษฐกิจของสหรัฐฯ กำลังอยู่ในช่วงชะลอตัวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่น่าเชื่อเลยว่าปริมาณการจ้างงานจะลดลงต่ำกว่า 80,000 ตำแหน่งติดต่อกันถึงสองเดือน จากปัจจัยดังกล่าว ดอลลาร์สหรัฐจึงน่าจะมีการซื้อขายกันที่ระดับต่ำลงไปอีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพิจารณาจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตร รุ่นอายุ 10 ปี ล่าสุดที่ปรับลดลงไปอยู่ในระดับต่ำที่สุดในรอบ 2 ปีครึ่งเมื่อวันพุธที่ผ่านมา
เมื่อพิจารณาตัวชี้วัดสำคัญอย่าง จำนวนการจ้างงานนอกภาคการเกษตร จะพบว่าทิศทางของตลาดแรงงานยังคงไม่ชัดเจน จากรายงานตัวเลขการจ้างงานของ ADP ชี้ว่าปริมาณการจ้างงานในภาคเอกชนมีสูงขึ้น แต่ก็น้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ ส่วนทางด้านของ ISM ก็รายงานว่ามีปริมาณการจ้างงานของ ภาคบริการ น้อยลงกว่าเดิมในเดือนที่ผ่านมา แต่ทางสถาบันพยากรณ์ตัวเลขการจ้างงานในเดือนพฤษภาคมไม่ถูกต้องเนื่องจากคาดว่าจะมีการเติบโตขึ้นได้ ดังนั้นนี่จึงอาจเป็นการปรับค่าครั้งใหม่ซึ่งได้รับผลพวงมาจากความผิดพลาดในเดือนที่แล้ว ส่วนตัวเลขความเชื่อมั่นยังลดต่ำลงในทุกดัชนี เส้นแนวโน้ม การเคลื่อนที่เฉลี่ยแบบ 4 สัปดาห์ ของ จำนวนผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงาน ยังคงเพิ่มสูงขึ้น สาเหตุหลักที่มีการคาดการณ์ว่าปริมาณการจ้างงานในเดือนนี้จะดีขึ้นก็เพราะว่าตัวเลขที่ออกมาในเดือนที่แล้วค่อนข้างแย่นั่นเอง
เหตุผลของผู้ที่เห็นว่าปริมาณการจ้างงานจะสูงขึ้น
1. ปริมาณการจ้างงานจาก ADP มีการปรับตัวสูงขึ้นจาก 41,000 ตำแหน่งเป็น 102,000 ตำแแหน่ง
2. ริมาณการเลิกจ้างจาก Challenger ลดลงเหลือ 12.8% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าที่ 85.9%
3. ปริมาณการจ้างงานภาคการผลิต จาก ISM เพิ่มสูงขึ้น
4. จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงาน ลดลง
เหตุผลของผู้ที่เห็นว่าปริมาณการจ้างงานจะลดลง
1. ISM รายงานว่าปริมาณการจ้างงานในเดือนมิถุนายนลดน้อยลง (แต่คาดการณ์ผิดว่าเดือนพฤษภาคมจะมีเพิ่มสูงขึ้น)
2. เส้นแนวโน้มการเคลื่อนที่เฉลี่ยแบบ 4 สัปดาห์ของ จำนวนผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงาน ยังเพิ่มขึ้น
3. ดัชนี ความเชื่อมั่นผู้บริโภค ลดลง 10 จุดในเดือนมิถุนายน
4. ดัชนี ความเชื่อมั่นผู้บริโภค จากมหาวิทยาลัยรัฐมิชิแกนยังลดลง
เมื่อการซื้อขายในตลาดยังคงต้องพิจารณาด้วยข้อมูลตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตร สิ่งสำคัญจึงไม่ได้มีเพียงตัวเลขการจ้างงานเพียงอย่างเดียว แต่ต้องพิจารณาถึงการปรับเปลี่ยนของตัวเลข ประกอบกับ รายได้เฉลี่ยต่อชั่วโมง และ อัตราการว่างงาน ซึ่งต่างก็มีความสำคัญประกอบกันไปด้วย ในเดือนนี้นักเศรษฐศาสตร์คาดว่าจะมีปริมาณการจ้างงานอยู่ที่ 164,000 ตำแหน่ง รายได้เฉลี่ยต่อชั่วโมงเพิ่มขึ้น 0.3% และอัตราการว่างงานคงที่อยู่ที่ 3.6%
สถานการณ์ที่ 1 – หากปริมาณการจ้างงานนอกภาคการเกษตรมีมากกว่า 165,000 ตำแหน่งและการเติบโตของค่าจ้างเพิ่มขึ้นได้ 0.3% คู่สกุลเงินที่น่าทำการซื้อขายมากที่สุดคือ EUR/USD, AUD/USD และ NZD/USD แม้ว่าธนาคารกลางยุโรปจะยังไม่พร้อมที่จะปรับลด อัตราดอกเบี้ย ในเดือนกรกฎาคม แต่อีกไม่นานภายในช่วงฤดูร้อนนี้ย่อมมีการปรับลดอย่างแน่นอน ส่วนทางด้านของ ธนาคารกลางออสเตรเลีย และ นิวซีแลนด์ ก็เปิดเผยด้วยเช่นกันว่าหากมีความจำเป็นก็อาจต้องมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งในปีนี้เช่นกัน ธนาคารกลางทั้งสองแห่งนี้เป็นธนาคารที่มีท่าทีประนีประนอมที่สุดในบรรดาธนาคารกลางทั้งหมด รวมทั้งสกุลเงินของทั้งสองประเทศนี้ก็เป็นสกุลที่มีความเปราะบางและอ่อนไหวต่อการปรับตัวของตัวเลขการจ้างงานของสหรัฐฯ ที่ดีขึ้นอีกด้วย
สถานการณ์ที่ 2 – หากปริมาณการจ้างงานนอกภาคการเกษตรมีค่าสูงขึ้นไปอยู่ระหว่าง 135,000 ถึง 165,000 ตำแหน่ง แต่มีการปรับตัวเลขของเดือนที่แล้วให้สูงขึ้น ทิศทางของ ดอลลาร์สหรัฐ จะถูกกำหนดโดย การเติบโตของค่าจ้าง และ อัตราการว่างงาน หากตัวเลขอื่นๆ ในรายงานยังคงดีอยู่ เราน่าจะเห็นดอลลาร์ปรับตัวสูงขึ้นได้เมื่อเทียบกับ ยูโร ดอลลาร์ ออสเตรเลีย และดอลลาร์ นิวซีแลนด์ ส่วน USD/JPY ก็น่าจะฟื้นตัวได้เช่นกัน แต่สำหรับสกุลเงินคู่นี้นั้นไม่น่าสนใจเท่าใดนักเพราะนักลงทุนยังไม่แน่ใจว่าเฟดจะมีท่าทีอย่างไรต่อไป
สถานการณ์ที่ 3 – หาก ปริมาณการจ้างงาน ต่ำกว่า 135,000 ตำแหน่ง และไม่มีการปรับตัวเลขในรายงานของเดือนพฤษภาคมให้เพิ่มสูงขึ้น รวมทั้งการเติบโตของค่าจ้างไม่ดีขึ้น สกุลเงินที่น่าจะทำกำไรได้คือ USD/JPY ซึ่งน่าจะตกลงไปอยู่ต่ำกว่า 107 รวมถึง USD/CHF ซึ่งอาจจะร่วงลงไปอยู่ต่ำกว่า .9750 ได้ หากรายงานตัวเลขตลาดแรงงานไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยอาจมีปริมาณการจ้างงานที่มากขึ้นแต่มีการเติบโตของค่าจ้างที่ชะลอตัวลงหรือมี อัตราการว่างงาน สูงขึ้น ทิศทางของเงินดอลลาร์ก็จะไปขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นที่มีความสำคัญมากกว่า
USD/CAD ก็จะเป็นสกุลเงินอีกคู่หนึ่งที่จะเคลื่อนไหวไปตาม ตัวเลขตลาดแรงงาน ของแคนาดาที่กำลังจะประกาศออกมาเช่นกัน เศรษฐกิจของแคนาดาในช่วงนี้ยังคงพุ่งแรง แต่ภาพรวมของเศรษฐกิจทั่วโลกที่กำลังชะลอตัว รวมทั้งค่าเงินที่แข็งตัวอย่างมากในช่วงนี้ เงินดอลลาร์แคนาดาก็อาจจะทำให้นักลงทุนผิดหวังกันได้ง่ายๆ USD/CAD มีการซื้อขายกันอยู่ที่ระดับต่ำที่สุดในรอบ 8 เดือน และหากมีอะไรผิดพลาดไปอีกเพียงนิดเดียวก็อาจทำให้เกิดการเร่งปิดสถานะ short กันก่อนที่ธนาคารกลางแคนาดาจะมีการ ประกาศนโยบายทางการเงิน ออกมาในช่วงสัปดาห์หน้านี้อย่างแน่นอน