ในสถานการณ์ที่ทุกอย่างถูกเตรียมพร้อมไว้หมดแล้ว รัสเซียเพียงแค่เห็นด้วยและดำเนินการไปกับซาอุดีอาระเบียเท่านั้น ทุกอย่างก็จะจบด้วยดี แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงหลังนี้แทบจะไม่ตรงกับความต้องการของโอเปคเสียเลย
เรากำลังหมายถึงข้อตกลงการจำกัดการผลิตน้ำมันของโอเปคและกลุ่มประเทศพันธมิตร ซึ่งถือเป็นกลไกสำคัญในการควบคุมราคาน้ำมันระหว่างกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมันที่นำโดยซาอุดีอาระเบียกับประเทศพันธมิตรอีก 10 ประเทศซึ่งนำโดยรัสเซีย
การประชุมสมาชิกโอเปคที่กำลังจะมีขึ้นในอีก 2 สัปดาห์ข้างหน้าในวันที่ 25 มิถุนายนนี้ รวมทั้งการประชุมประเทศพันธมิตรที่จะจัดขึ้นภายหลังวันดังกล่าว 1 วัน รัสเซียยังคงไม่แสดงท่าทีในการสนับสนุนให้ปรับลดกำลังการผลิตลงตามที่ซาอุดีอาระเบียเสนอว่ามีความจำเป็นต้องทำในช่วงครึ่งปีหลัง เพื่อป้องกันไม่ให้ราคาน้ำมันตกต่ำจนเกินไป
โอกาสในการฟื้นตัวของตลาดน้ำมันต้องสิ้นสุดเมื่อมีการชะลอการเก็บภาษีกับเม็กซิโก
การที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐฯ เปลี่ยนใจภายในเวลา 11 ชั่วโมงที่จะยังไม่เก็บภาษีกับเม็กซิโก ประกอบกับการที่รัสเซียยังไม่มีการตอบสนองใดๆ นั้น ทำให้โอเปคและตลาดน้ำมันมีโอกาสในการปรับตัวสูงขึ้นได้ในวันจันทร์หลังจากที่มีการเปลี่ยนใจของประธานาธิบดีสหรัฐฯ
ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส ปรับตัวลดลงไป 1.3% ในวันจันทร์ หลังจากที่ฟื้นตัวขึ้นมาได้เมื่อ 2 วันก่อน 4% ในช่วงที่ทรัมป์เปลี่ยนใจกับเม็กซิโกในครั้งแรก ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ ของสหราชอาณาจักรปรับตัวลดลง 1.6% ในวันจันทร์ที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นจาก 2 วันก่อน 4% เช่นกัน ส่วนดัชนีหุ้นหลักๆ ของ Wall Street นั้นกลับไต่ขึ้นได้ประมาณ 1% ในวันจันทร์ เนื่องจากนักลงทุนยังคงดีใจกับการตัดสินใจของทรัมป์
ในขณะที่ตลาดเอเชียในวันอังคาร ราคาน้ำมันก็ปรับตัวสูงขึ้นได้บ้าง แต่ยังไม่แข็งแกร่งนัก
โอเปคจะยอมให้รัสเซียจัดการแก้ไขด้วยตนเองก่อน
นายคาลิด อัล-ฟาลีห์ รัฐมนตรีกระทรวงพลังงานของซาอุดีอาระเบีย ผู้ทรงอิทธิพลคนหนึ่งในกลุ่มประเทศโอเปค OPEC ยังคงเฝ้าดูความกังวลในตลาดน้ำมันที่มีต่อรัสเซียในวันจันทร์ เมื่อได้รับทราบว่า “ยังมีอีกประเทศหนึ่งที่ทุกคนกำลังรอรับความร่วมมือ (ในการขยายเวลาการปรับลดปริมาณการผลิตต่อไป) ซึ่งก็คือประเทศรัสเซีย"
นายฟาลีห์ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว Tass ของรัสเซียว่า “ผมจะรอให้รัสเซียจัดการด้วยตัวเองให้เรียบร้อยก่อน” “ในขณะนี้รัสเซียเองยังคงตัดสินใจไม่ได้ว่าจะผลิตน้ำมันในช่วงครึ่งปีหลังปริมาณเท่าใด”
ประธานฝ่ายบริหารของบริษัทรอสเนฟท์ (OTC:OJSCY) ของรัสเซีย ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ที่สุดของโลกเป็นหนึ่งในหลายบริษัทที่กำลังพยายามโน้มน้าวไม่ให้รัสเซียลดปริมาณการผลิตตามข้อตกลงของโอเปคอีกต่อไป โดยเตือนว่าจะสูญเสียส่วนแบ่งการตลาดของน้ำมันที่ส่งไปยังสหรัฐฯ หากยังมีการจำกัดการส่งออกต่อไป คำเตือนของนายอิกอร์ เซชินเกิดขึ้นหลังจากที่ปริมาณการสำรองน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ในเดือนที่แล้วเพิ่มสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ไปอยู่ที่ 12.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน และปริมาณการส่งออกน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ขึ้นไปแตะที่ระดับ 3.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งใกล้เคียงกับค่าสูงสุดที่ซาอุดีอาระเบียและรัสเซียปรับลดลงไปที่ 3.6 ล้านบาร์เรลต่อวัน
ทุกคนทราบดีว่ากลุ่มโอเปคและประเทศพันธมิตรได้ใช้มาตรการลดการผลิตลงอย่างน้อย 1.2 ล้านบาร์เรลต่อเดือนมาตั้งแต่เดือนธันวาคม โดยส่วนใหญ่เกิดขึ้นที่ซาอุดีอาระเบียโดยหวังที่จะให้ราคาน้ำมันปรับตัวขึ้นมากกว่า 40 เปอร์เซ็นต์ในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ ซึ่งก็เป็นช่วงก่อนที่จะเกิดการเทขายอย่างหนักในช่วงของการเจรจาเรื่องการเก็บภาษีกับเม็กซิโก การที่สหรัฐฯ เพิ่มการผลิตน้ำมันและ ปริมาณน้ำมันสำรอง รวมทั้งปัญหาทางด้านสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน ทำให้ทราบว่าหากไม่มีรัสเซีย โอเปคไม่มีทางที่จะเป็นโอเปคต่อไปได้
รัสเซียทำให้สถานการณ์ราคาน้ำมันในช่วงนี้แย่ลง
ขณะนี้ รัสเซียยังคงทำให้ตลาดน้ำมันได้รับผลกระทบในทางลบมากกว่าบวก
ในวันจันทร์ที่ผ่านมา นายอเล็กซานเดอร์ โนแวค ผู้แทนการเจรจาและรัฐมนตรีกระทรวงพลังงานของรัสเซียกล่าวว่าราคาน้ำมันดิบอาจร่วงลงไปแตะ $30 ต่อบาร์เรลโดยไม่จำเป็นต้องดำเนินตามนโยบายลดปริมาณการผลิตด้วยซ้ำ
แม้ว่าข้อมูลดังกล่าวจะเป็นความจริง แต่ก็เป็นการยากที่จะยอมรับว่าจะได้ยินจากปากของพันธมิตรหลักของกลุ่มโอเปคเช่นนี้
ทั้งที่จริงแล้วอาจมีหลายคนที่ไม่เห็นด้วยกับความคิดของโนแวค และตั้งคำถามว่ามูลค่าพื้นฐานของน้ำมันในช่วงนี้มีเพียงเท่านี้จริงหรือ เพราะช่วงนี้กำลังจะเข้าสู่ช่วงเวลาวันหยุดในฤดูร้อนที่มีปริมาณการใช้สูงสุดในสหรัฐฯ
รัฐมนตรีกระทรวงพลังงานของรัสเซียยังกล่าวด้วยว่า “จะต้องติดตามสถานการณ์น้ำมันในตลาดก่อนเพื่อที่จะตัดสินใจให้เหมาะสมอีกครั้งในเดือนกรกฎาคม"
รัสเซียและโอเปคจะต้องชิงดำเนินการกับตลาดน้ำมันก่อนที่ทรัมป์จะลงมือหรือไม่?
การพูดถึง "เดือนกรกฎาคม” ของนายโนแวคเปรียบเสมือนการชูธงแดงให้กับกองทุนบริหารความเสี่ยงต่างๆ รวมถึงนักลงทุนในตลาดน้ำมันว่ารัสเซียน่าจะพยายามผลักดันให้กลุ่มโอเปคและประเทศพันธมิตรชะลอการตัดสินใจไปจนกว่าจะถึงเวลานั้น ในขณะที่ซาอุดีอาระเบียยังคงยึดตามกำหนดเดิมในเดือนมิถุนายน ส่วนทางด้านอิหร่านซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิกของโอเปคและยังอยู่ภายใต้มาตรการคว่ำบาตรของสหรัฐฯ ก็ไม่เห็นด้วยที่จะเลื่อนการประชุมไปในเดือนกรกฎาคมเช่นกัน
ในระหว่างที่ยังคงมีความไม่แน่นอนในการประชุมที่จะเกิดขึ้นใน 2 สัปดาห์ข้างหน้า เรายังคงมีความสงสัยอยู่ว่ากลุ่มโอเปคและรัสเซียไม่ต้องการที่จะทำกำไรเพื่อชดเชยการสูญเสียที่เกิดขึ้นเป็นจำนวนเลข 2 หลักในเดือนพฤษภาคมเมื่อนักลงทุนที่ขาย short แทบจะหมดกระสุนที่จะยิงต่อในช่วงฤดูร้อนนี้ได้อีกต่อไปแล้ว
คำถามนี้น่าจะเป็นคำถามที่ตรงประเด็น เนื่องจากทรัมป์ซึ่งเป็นตัวการหลักในการฉุดราคาน้ำมันลงในปีนี้ ยังอาจลงมือทำอะไรต่อไปอีกก็เป็นได้