โดย Gina Lee
Investing.com – ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้น ในเช้าวันพฤหัสบดีในเอเชีย โดยอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินยูโรและเงินปอนด์สเตอร์ลิง เนื่องจาก นนโยบายจากธนาคารกลางสหรัฐฉบับล่าสุด เริ่มลดระดับสินทรัพย์ แต่ยังคงอัตราดอกเบี้ยให้ทรงตัว
ดัชนีดอลลาร์สหรัฐฯ ที่ได้จากการเทียบค่าเงินดอลลาร์กับสกุลเงินอื่น ๆ เพิ่มขึ้น 0.15% เป็น 94.060
ค่าเงินเยน ขยับขึ้น 0.20% เป็น 114.20 เยนต่อดอลลาร์
ดอลลาร์ออสเตรเลีย ขยับขึ้น 0.12% เป็น 0.7454 ในขณะที่ ดอลลาร์นิวซีแลนด์ ขยับลง 0.06% เป็น 0.7154
ค่าเงินหยวน ขยับลง 0.19% เป็น 6.3941 หยวนต่อดอลลาร์ และ ค่าเงินปอนด์ ขยับลง 0.18% เป็น 1.3659 ปอนด์ต่อดอลลาร์
เฟดส่งมอบการตัดสินใจด้านนดยบายในวันพุธ โดยประกาศว่าจะเริ่มลดสินทรัพย์ลงในเดือนพฤศจิกายน อย่างไรก็ตาม ประธานเฟด เจอโรม พาวเวลล์ กล่าวเสริมว่าธนาคารกลางจะ "อดทน" กับตารางเวลาการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
เงินปอนด์แข็งค่าขึ้น 0.51% ในวันพุธ หลังการตัดสินใจของเฟด โดยฟื้นตัวจากระดับต่ำสุดในรอบ 2 สัปดาห์ของวันอังคารที่ 1.3603 ดอลลาร์ เงินยูโรพุ่งขึ้นสู่ระดับ 1.161 ยูโรต่อดอลลาร์ พุ่งขึ้นในวันพุธเช่นกัน หลังจากเพิ่มขึ้น 0.29% ในวันนั้น
ขณะนี้ความสนใจอยู่ที่การขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟด โดยมีความกังวลว่าอัตราเงินเฟ้อที่สูงอาจอยู่นานกว่าที่เฟดคาดการณ์ไว้ในตอนแรก
“พาวเวลล์เน้นว่าการประชุมของเฟดครั้งนี้เป็นการผ่อนคลายเชิงปริมาณมากกว่าอัตราดอกเบี้ย แต่นี่จะเป็นการประชุมครั้งสุดท้ายเป็นการหาเหตุผลสนับสนุนให้คงอยู่ จากนี้ไป การประชุมเฟดในอนาคตจะกลับไปเน้นที่กลยุทธ์รับมือกับอัตราดอกเบี้ยของเฟด” พอล โอคอนเนอร์ หัวหน้ากลุ่มนักลงทุนของ Janus Henderson Investors กล่าวกับรอยเตอร์ส
ธนาคารกลางอังกฤษ จะส่งมอบการตัดสินใจด้านนโยบายในภายหลัง ซึ่งเป็นรายสุดท้ายในการตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายของธนาคารกลางหลายแห่ง
BOE อาจเป็นธนาคารกลางแห่งแรกที่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนับตั้งแต่เริ่มมีการระบาดของ COVID-19 อย่างไรก็ตาม มีความเห็นแตกแยกกันในหมู่นักลงทุนเกี่ยวกับการตัดสินใจของ BOE
ในเอเชียแปซิฟิก เงินดอลลาร์ออสเตรเลียฟื้นตัวจากการอ่อนค่าลง 1.2% ในวันอังคาร หลังจากที่ ธนาคารกลางออสเตรเลีย รักษาอัตราดอกเบี้ยให้คงที่หลังส่งมอบนโยบาย
ค่าเงินบาท อ่อนค่าลงในวันนี้ อยู่ที่ 33.415 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อย่างไรก็ตาม นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน ธนาคารกรุงไทย ประเมินว่า ต้องจับตาแนวโน้มการขึ้นดอกเบี้ยของเฟดอย่างใกล้ชิดต่อ เพราะเงินดอลลาร์กลับมาแข็งค่าราว 3-4% ในช่วง 6 เดือนก่อนการขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรก จากสถิติในอดีตของการขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรก 3 ครั้งที่ผ่านมา ซึ่งจังหวะการขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกของเฟด อาจส่งผลกระทบให้เงินบาทผันผวนในช่วงครึ่งหลังของปีหน้าได้ ซึ่งเป็นจังหวะเดียวกับที่ประเทศไทยก็ต้องลุ้นการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวจากนักท่องเที่ยวต่างชาติ แต่ เรามองว่า หากการท่องเที่ยวฟื้นตัวได้ดี การแข็งค่าของเงินดอลลาร์ในช่วงครึ่งหลังปีหน้า ก็อาจไม่ได้กดดันเงินบาทมากนัก และเงินบาทก็มีโอกาสแข็งค่าขึ้นได้บ้าง โดยเราประเมินว่า เงินบาทอาจแข็งค่าขึ้นแตะระดับ 31.50 บาทต่อดอลลาร์ ณ สิ้นปี 2023