โดย Gina Lee
Investing.com – หุ้นเอเชียแปซิฟิกส่วนใหญ่ร่วงลงในเช้าวันนี้ เนื่องจากนักลงทุนส่วนใหญ่กังวลเกี่ยวกับวิกฤตโควิดในภูมิภาค ทำให้ขาดความเชื่อมั่นในสินทรัพย์เสี่ยง
ดัชนี Nikkei 225 ของญี่ปุ่นลดลง 0.91% เมื่อเวลา 22:47 น. ET (2:47 น. GMT) ข้อมูลที่เผยแพร่ก่อนหน้านี้ระบุว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (Core CPI) เพิ่มขึ้น 0.1% ในเดือนกรกฎาคม ขณะที่ ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) หดตัว 0.1% ส่วน ดัชนีราคาผู้บริโภค ไม่รวมกลุ่มอาหารและพลังงาน เพิ่มขึ้น 0.2%
ดัชนี KOSPI ของเกาหลีใต้ขยับลง 0.14% โดยที่ ดัชนีราคาผู้บริโภค ของประเทศเติบโตดีเกินคาดที่ 2.6% ในเดือนกรกฎาคม โดยธนาคารแห่งประเทศเกาหลีได้ยังมีกำหนดเผยแพร่ รายงานการประชุมจากคณะกรรมการรักษาเสถียรภาพตลาด อีกด้วย
ในออสเตรเลีย ดัชนี ASX 200 ลดลง 0.26% การอนุมัติสิ่งปลูกสร้างในออสเตรเลีย หดตัว 6.7% ในเดือนมิถุนายน ขณะที่ การอนุมัติโครงการที่พักอาศัย ลดลง 11.8% ในเดือนเดียวกัน
ดัชนี Hang Seng ของฮ่องกงลดลง 0.88% ดัชนี Shanghai Composite ของจีนลดลง 0.30% ขณะที่ ดัชนี Shenzhen Component เพิ่มขึ้น 2.25%
ธนาคารแห่งประเทศออสเตรเลีย จะประกาศการตัดสินใจด้านนโยบายสำหรับเดือนสิงหาคมในช่วงท้ายวันนี้ โดยที่ ธนาคารแห่งประเทศอังกฤษ จะตามมาในวันพฤหัสบดีและ{{ecl- 597|| ธนาคารแห่งประเทศอินเดีย}} ในวันถัดไป
SET ไทย ซื้อขายอยู่ที่ 1,530.44 จุด บวก 5.33 จุด
การแพร่กระจายของเชื้อโควิดทั่วโลกยังคงเป็นปัญหาสำหรับนักลงทุน โดยจีนพบผู้ติดเชื้อแพร่กระจายไปยังเมืองต่าง ๆ ภายในประเทศและมีการนำมาตรการเข้มงวดกลับมาใช้ใหม่เพื่อควบคุมการแพร่ระบาด ขณะที่นักลงทุนยังคงติดตามตลาดหุ้นจีนและฮ่องกง เนื่องจากจีนยังคงเข้มงวดกฎระเบียบในภาคส่วนต่าง ๆ รวมถึงภาคเทคโนโลยีและการศึกษาเอกชน
ในสหรัฐอเมริกา ข้อมูลที่เผยแพร่เมื่อวันจันทร์ทำให้ความเชื่อมั่นของนักลงทุนลดลง โดย ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) อยู่ที่ 63.4 จุด ขณะที่ {{ecl-173| |PMI ภาคการผลิตของสถาบัน ISM}} อยู่ที่ 59.5 ซึ่งต่ำกว่าที่คาด
ขณะเดียวกัน การถกเถียงกันว่าเฟดจะเริ่มลดสินทรัพย์และขึ้นอัตราดอกเบี้ยเมื่อไร ยังคงดำเนินต่อไป ผู้ว่าการเฟด คริสโตเฟอร์ วอลเลอร์ กล่าวว่าเขาสามารถสนับสนุนการประกาศลดสินทรัพย์ภายในเดือนกันยายนนี้ หากข้อมูลการจ้างงานของสหรัฐเดือนสองเดือนถัดไปแสดงการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ขณะนี้นักลงทุนจึงรอดูรายงานการจ้างงานล่าสุดของสหรัฐ ซึ่งรวมถึง การจ้างงานนอกภาคเกษตร ซึ่งจะครบกำหนดในวันศุกร์นี้ เพื่อวัดการฟื้นตัวของตลาดแรงงาน แต่สำหรับบางคน มันเป็นเรื่องของการจัดลำดับความสำคัญ
“ฉันไม่คิดว่าตลาดกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์โควิดมากเท่ากับที่กังวลเรื่องผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้ออย่างไร ยิ่งโควิดแพร่กระจายไปทั่วโลกนานเท่าใด การหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทานก็จะยิ่งยาวนานขึ้น” ชาน่า ซิสเซล หัวหน้าฝ่ายการลงทุนของ Spotlight Asset Group กล่าวกับ Bloomberg