โดย Peter Nurse
Investing.com – ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ทรงตัวในการซื้อขายของตลาดยุโรปช่วงต้นวันพฤหัสบดี แต่ยังคงอยู่ใกล้ระดับสูงสุดในรอบ 2 ทศวรรษ มีความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัยเพิ่มขึ้นอันเนื่องมาจากความกังวลเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นและภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก
เมื่อเวลา 3:05 น. ET (07.05 GMT) ดัชนีดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งติดตามดอลลาร์เทียบกับกลุ่มของสกุลเงินอื่น ๆ อีก 6 สกุล ซื้อขายค่อนข้างทรงตัวที่ 104.873 ซึ่งอยู่ต่ำกว่าระดับสูงสุดในรอบ 20 ปีที่ผ่านมาที่ 105.79 เพียงเล็กน้อย
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ที่ร่วงลงได้ชะลอการทำกำไรของค่าเงินดอลลาร์ในวันพฤหัสบดี แต่ดอลลาร์ยังคงเป็นที่ต้องการในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย ในขณะที่ธนาคารกลางยังคงกล่าวว่ามีความจำเป็นที่ต้องจัดการกับ อัตราเงินเฟ้อที่ร้อนแรง แม้จะมีความเสี่ยงต่อความเสียหายที่เกิดจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วของการเติบโตทั่วโลก
เจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ กล่าวในฟอรั่มประชุมประจำปีของธนาคารกลางยุโรปในโปรตุเกสเมื่อวันพุธว่า การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่ 75 จุดพื้นฐาน เมื่อเร็ว ๆ นี้ของเฟด ซึ่งถือว่าเป็นการปรับขึ้นที่สูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 1994 นั้นมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการควบคุมอัตราเงินเฟ้อให้กลับมาที่ เป้าหมาย 2% แม้ว่า “จะมีความเป็นไปได้” ที่การกระทำนี้จะก่อให้เกิดการชะลอตัวทางเศรษฐกิจในวงกว้าง
นางคริสติน ลาการ์ด ประธาน ECB ยังเตือนด้วยว่าอัตราเงินเฟ้อในยูโรโซน "สูงเกินไป" และธนาคารกลางจะ "ดำเนินการมากเท่าที่จำเป็น" เพื่อลดอัตราเงินเฟ้อให้กลับสู่เป้าหมายที่ 2% ขณะที่แอนดรูว์ เบลีย์ ผู้ว่าการธนาคารกลางอังกฤษได้กล่าวว่าผู้กำหนดนโยบาย " มีทางเลือก” ของบทปฏิบัติที่เข้มงวดเพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อ โดยไม่ได้ตัดการพิจารณาการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 50 จุดพื้นฐานออกในการประชุมครั้งต่อไป
นักวิเคราะห์จาก ING ระบุในหมายเหตุว่า “ความเจ็บปวดในระยะสั้นจากการกระชับการเงินเชิงรุก (บางทีอาจเป็นภาวะเศรษฐกิจถดถอย) จะดีกว่ามากเมื่อเทียบกับความเจ็บปวดในระยะยาวของอัตราเงินเฟ้อ”
EUR/USD เพิ่มขึ้น 0.1% เป็น 1.0442 โดยสกุลเงินยูโรพยายามที่จะสร้างฐานรากหลังจากสูญเสียเกือบ 0.8% เมื่อเทียบกับดอลลาร์ในวันพุธ ซึ่งแน่นอนว่าลดลง 2.7% เมื่อเทียบเป็นรายเดือนและขาดทุนรายไตรมาสที่ 5.5 %
ตัวเลข ยอดค้าปลีกของเยอรมนี เพิ่มขึ้นในเดือนพฤษภาคม แม้จะมียอดขายลดลงเล็กน้อยในการค้าปลีกอาหาร โดยเพิ่มขึ้น 0.6% ในแง่จริงเมื่อเทียบกับเดือนก่อน และ {{ecl-740| |ลดลง 3.6%}} ต่อปี
GBP/USD เพิ่มขึ้น 0.2% เป็น 1.2148 แต่ค่าเงินปอนด์ยังคงอยู่ในช่วงที่ขาดทุนมากถึง 6 เดือนเมื่อเทียบกับดอลลาร์ และมากกว่า 10% หลังจากที่แอนดรูว์ เบลีย์ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศอังกฤษกล่าวว่าเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักรเริ่มที่จะชะลอตัว ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อคาดว่าจะยังคงไต่ระดับต่อไป ทำให้เกิดความกลัวว่าเศรษฐกิจจะซบเซา
ราคาบ้านในอังกฤษ เพิ่มขึ้นแบบช้า ๆ ในเดือนมิถุนายนเมื่อเทียบกับเดือนพฤษภาคม แต่ราคาเฉลี่ยของบ้านยังคงทำสถิติใหม่ ตามข้อมูลจากผู้ให้กู้จำนองทั่วประเทศ
USD/JPY ลดลง 0.2% เป็น 136.35 ร่วงลงจากระดับสูงสุดในรอบ 24 ปีที่ต่ำกว่า 137.00 ในชั่วข้ามคืน เนื่องจากช่องว่างด้านอัตราดอกเบี้ยที่กว้างขึ้นระหว่างเฟดและธนาคารกลางญี่ปุ่น ทำให้ส่งผลกระทบอย่างหนักต่อเงินเยน
AUD/USD ขยับขึ้นเป็น 0.6883 ขณะที่ USD/CNY ลดลง 0.1% เป็น 6.6975 ร่วงลงไม่มากเนื่องจากข้อมูลที่ที่แสดงตัวเลขของกิจกรรมโรงงานของจีนที่ได้ขยายตัวเพิ่มขึ้นในเดือนมิถุนายนเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ เพราะทางการยกเลิกการล็อกดาวน์ในเมืองใหญ่ ๆ รวมถึง เมืองเซี่ยงไฮ้