โดย Peter Nurse
Investing.com – ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนค่าลงในช่วงเช้าของวันศุกร์ที่ซื้อขายในยุโรป แต่ส่วนใหญ่ยังคงรอคอยข้อมูลอัตราเงินเฟ้อที่สำคัญของสหรัฐฯ และจากการที่ธนาคารกลางยุโรปชี้ไปที่การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในอนาคต
เมื่อเวลา 2:55 น. ET (0655 GMT) ดัชนีดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งติดตามค่าเงินดอลลาร์เทียบกับกลุ่มสกุลเงินอื่น ๆ 6 สกุล ซื้อขายลดลงเล็กน้อยที่ 103.190 หลังจากเพิ่มขึ้นในชั่วข้ามคืนที่ 0.7%
ความสนใจของนักลงทุนในวันศุกร์จะอยู่ที่การเปิดเผยตัวเลข ดัชนีราคาผู้บริโภค สำหรับเดือนพฤษภาคม เวลา 8:30 น. ET (1230 GMT) ซึ่งคาดว่าจะเพิ่มขึ้น 0.7% ในเดือนนี้และ 8.3% สำหรับรายปี ที่สิ้นสุดในเดือนพฤษภาคม
รายงานดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน CPI ซึ่งไม่รวมราคาอาหารและเชื้อเพลิงที่ผันผวน คาดว่าจะผ่อนคลายลงส่วนหนึ่ง โดยเพิ่มขึ้น 0.5% สำหรับตัวเลขรายเดือนและเพิ่มขึ้น 5.9% สำหรับรายปี เมื่อเทียบกับตัวเลขที่เพิ่มขึ้น 0.6% ในเดือนเมษายนและ 6.2% สำหรับรายปี ในครั้งก่อน
ซึ่งอาจช่วยให้ เฟด มีโอกาสชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วงปลายปี โดยธนาคารกลางสหรัฐฯ คาดว่าเฟดจะประกาศขึ้น อัตราดอกเบี้ย ในสัปดาห์หน้าเป็นครั้งที่สองในสามติดต่อกัน โดยปรับขึ้นอีกที่ 50 จุดพื้นฐาน
เจเน็ท เยลเลน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกล่างกับฝ่ายนิติบัญญัติของสหรัฐฯ เมื่อต้นสัปดาห์นี้ว่าอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มที่จะยังอยู่ในระดับสูง ซึ่งทำเนียบขาวได้เตรียมการไว้แล้วหากตัวเลขปรับสูงขึ้นอีก
EUR/USD เพิ่มขึ้น 0.2% เป็น 1.0631 ดีดตัวขึ้นหลังจากแตะระดับต่ำสุดก่อนหน้านี้นับตั้งแต่วันที่ 23 พฤษภาคม หลังจากร่วงลงเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ในวันพฤหัสบดีหลังจากการประชุม ECB ล่าสุด
ธนาคารกลางยืนยันเมื่อวันพฤหัสบดีว่าจะยุติโครงการซื้อพันธบัตรระยะยาวในช่วงต้นเดือนหน้า และกล่าวว่าจะ ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 25 จุดพื้นฐานในเดือนกรกฎาคม และอีกครั้งในเดือนกันยายนที่ตัวเลขดอกเบี้ยอาจเยอะขึ้น
ธนาคารดอยซ์ คาดว่า ECB จะขึ้นอัตราดอกเบี้ย 50 จุดพื้นฐานสองครั้งในปีนี้ หลังจากได้เริ่มต้นวงจรนโยบายกระชับการเงินที่เข้มงวดขึ้นโดยมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยหนึ่งในสี่ในเดือนกรกฎาคม
แต่ดูเหมือนว่าเงินยูโรจะเคลื่อนไหวแดนบวกแต่ก็เป็นในกรอบแคบ แม้หลังจากที่ ECB ให้คำมั่นว่าจะมีการขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกในรอบกว่าทศวรรษ แต่ก็เกิดขึ้นท่ามกลางความกังวลว่ามาตรการที่เข้มงวดเช่นนี้จะส่งผลกระทบต่อประเทศอย่างอิตาลี ซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิกยูโรโซน โดยอิตาลีเป็นประเทศที่มีภาระหนี้มากที่สุด
ไอเอ็นจีกล่าวว่า "เราเงินดอลลาร์ในช่วงฤดูร้อนนี้ เป็นเรื่องน่าเศร้าที่ยุโรปดันอยู่แนวหน้าที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากสงครามในยูเครน"
สกุลเงินอื่น ๆ USD/JPY ร่วงลง 0.4% เป็น 133.86 ซึ่งยังคงไม่ห่างจากระดับสูงสุดในรอบ 20 ปีที่ผ่านมามากนัก เนื่องจากธนาคารกลางญี่ปุ่นได้ย้ำคำมั่นที่จะรักษาอัตราดอกเบี้ยให้อยู่ในระดับต่ำ
GBP/USD ส่วนใหญ่ยังทรงตัวที่ 1.2491 ในขณะที่สกุลเงินที่อ่อนไหวต่อความเสี่ยงอย่าง AUD/USD เพิ่มขึ้น 0.3% เป็น 0.7121 และ USD/CNY ลดลง 0.1% เป็น 6.6840