Cyber Monday Deal: ลดสูงสุด 60% InvestingProรับส่วนลด

แนวโน้มเงินบาทอ่อนค่ายาวจากน้ำมัน-โควิด เปิด 32.90 บาท

เผยแพร่ 27/07/2564 14:17
© Reuters
EUR/THB
-
THB/USD
-

โดย วณิชชา สุมานัส

Investing.com - ค่าเงินบาทเช้านี้ เปิดตลาดแตะที่ระดับ 32.90 บาทต่อดอลลาร์ แข็งค่าขึ้นเล็กน้อย จากระดับปิดสัปดาห์ก่อนหน้าที่ 32.92 บาทต่อดอลลาร์ ผู้เชี่ยวชาญมองกรอบเงินบาทวันนี้ ว่าอาจจะอยู่ที่ระดับ 32.85-33.00 บาทต่อดอลลาร์ และกรอบค่าเงินบาทสัปดาห์นี้ ที่ระดับ 32.70-33.20 บาทต่อดอลลาร์ 

นายพูน พานิชพิบูลย์ นักวิเคราะห์ประจำห้องค้าเงิน ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า แนวโน้มเงินบาทอ่อนค่ามาจาก 2 ประเด็นหลักคือ เงินดอลลาร์ และ ปัญหาการระบาดของ COVID-19 ทั่วโลก โดยเฉพาะการระบาดในไทย โดยมีโอกาสอ่อนค่าลงจากความกังวลปัญหาการระบาดในสหรัฐฯ และแนวโน้มเฟดเดินหน้าใช้นโยบายการเงินผ่อนคลาย 

นายพูน ชี้ว่า เงินดอลลาร์พร้อมกลับมาแข็งค่าได้ หากเฟดส่งสัญญาณมั่นใจแนวโน้มการฟื้นตัวเศรษฐกิจและเตรียมลดการอัดฉีดสภาพคล่อง ส่วนในฝั่งเงินบาท ปัญหาการระบาด COVID-19 ที่เลวร้ายลงต่อเนื่อง ยังมีโอกาสกดดันให้เงินบาทอ่อนค่าต่อได้ถึงระดับ 33 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แต่มองว่าธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะเข้ามาช่วยลดความผันผวนของเงินบาท เพื่อให้ภาคธุรกิจสามารถปิดความเสี่ยงค่าเงินได้ทัน

ทิศทางค่าเงินบาทที่มีความผันผวนมากขึ้น จากความไม่แน่นอนของสถานการณ์การระบาดของ โควิด-19 ทั้งนี้ ผู้ประกอบการควรใช้เครื่องมือในการป้องกันความเสี่ยงที่หลากหลายมากขึ้น โดยเฉพาะ การใช้ Options เพราะหากค่าเงินบาทเคลื่อนไหวสวนทางกับสิ่งที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ ผู้ประกอบการเองก็ยังสามารถเลือกได้ว่าจะใช้สิทธิ์ของ Options หรือไม่ ทำให้ผู้ประกอบการมีความยืดหยุ่นในการบริหารความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนมากกว่าการจอง Forward เพียงอย่างเดียว

สำหรับสัปดาห์นี้ ควรจับตาผลการประชุม FOMC และ รายงานผลประกอบการบริษัทจดทะเบียน นอกจากนี้ ยังคงต้องติดตามการระบาดของ COVID-19 ทั่วโลกอย่างใกล้ชิด เพราะปัญหาการระบาดที่รุนแรงขึ้น อาจกดดันให้ตลาดกลับมาสู่ภาวะปิดรับความเสี่ยง (Risk-Off) โดยในส่วนของรายงานข้อมูลเศรษฐกิจที่น่าสนใจคือ ฝั่งสหรัฐฯยอดผู้ติดเชื้อ COVID-19 ในสหรัฐฯ ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว อาจกดดันความเชื่อมั่นผู้บริโภคในระยะสั้น โดย ตลาดคาดว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (Conference Board Consumer Confidence) ในเดือนกรกฎาคม จะปรับตัวลดลงสู่ระดับ 124 จุด จาก 127.3 จุด ในเดือนก่อนหน้า

อัตราถัวเฉลี่ยค่าเงินยูโรต่อบาท ณ สิ้นวันทำการวันศุกร์ (23 ก.ค. 64) อยู่ที่ระดับ 39.1686 บาทต่อยูโร เทียบกับ ณ สิ้นวันทำการวันพฤหัสบดี (22 ก.ค. 64) อยู่ที่ระดับ 39.1153 บาทต่อยูโร (อ่อนค่า 0.0533 บาทต่อยูโร )

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย