โดย Yasin Ebrahim
Investing.com – เงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่การถกเถียงเกี่ยวกับทิศทางของดอลลาร์ต่อจากนี้ยังคงร้อนแรงในหมู่นักลงทุน ในสัปดาห์ที่คึกคักซึ่งอาจให้เบาะแสใหม่ ๆ เกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อและนโยบายการเงินของเฟด
ดัชนีดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 0.15% เป็น 92.26 จุด
ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI)เดือนมิถุนายน คาดว่าจะบ่งชี้ถึงอัตราเงินเฟ้อขยายตัวที่ 0.4% ต่ำกว่า 0.7% ในเดือนพฤษภาคม
อย่างไรก็ตาม ภาวะเงินเฟ้อที่คาดว่าจะชะลอตัวในเดือนมิถุนายน ทำให้เกิดความคิดเห็นที่แตกต่างเกี่ยวกับทิศทางของค่าเงินดอลลาร์
บางคนแนะนำว่า การผ่อนคลายแรงกดดันด้านราคาจะบีบให้บรรดาเทรดเดอร์ลดการเดิมพันเกี่ยวกับนโยบายการเงินที่เข้มงวดของเฟด ในขณะที่คนอื่น ๆ เชื่อว่า เฟดอาจจะทำเซอไพรส์อีกครั้ง
“ข้อมูล CPI ในวันพรุ่งนี้จะบอกเราว่าภาวะเงินเฟ้อในเดือนพ.ค.เป็นระดับสูงสุดแล้วหรือไม่ ซึ่งอาจจำกัดการคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยของเฟดในตอนนี้” ING กล่าวในรายงาน “มันอาจทำให้ค่าเงินดอลลาร์ที่เริ่มชะลอตัวลงเมื่อปลายสัปดาห์ที่แล้ว มีแรงซื้อจากแนวทาง Reflation Trade น้อยลง”
แต่บางคนในวอลล์สตรีทได้เตือนว่า อย่าเดิมพันว่ากำลังใกล้ถึงจุดจบของ Reflation Trade และชี้ให้เห็นว่าความคาดหวังของนักลงทุนสำหรับนโยบายของเฟดที่จะผ่อนคลายต่อไปอีกนั้นมีมากเกินไป
"เราไม่เชื่อว่าจะสามารถไว้ใจนโยบายของเฟดได้เหมือนกับที่ตลาดคาดการณ์ เนื่องจาก FOMC ตั้งใจที่จะปรับให้อัตราเงินกองทุนของรัฐบาลเป็นไปตามการคาดการณ์ที่สูงขึ้นสำหรับอัตราเงินเฟ้อ เรายังคงแนะนำให้ซื้อดอลลาร์สวนทางสกุลเงินของประเทศในกลุ่ม G10 และตลาดเกิดใหม่”
ภาวะเงินเฟ้อที่ยืดเยื้อต้องได้รับแรงหนุนจากเศรษฐกิจที่กำลังเติบโต ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากตลาดแรงงานที่ปรับตัวดีขึ้น “ความคาดหวังต่อภาวะขึ้นอยู่กับตัวเลขการจ้างงานที่มากขึ้นและการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้น” จอร์จ ซิโปโลนี ผู้จัดการพอร์ตโฟลิโอของ Penn Mutual Asset Management กล่าวในการให้สัมภาษณ์กับ Investing.com
การแถลงการณ์ของประธานเฟด เจอโรม พาวเวลล์ ต่อรัฐสภาในวันพุธและวันพฤหัสบดีสามารถให้ข้อมูลเชิงลึกเพิ่มเติมเกี่ยวกับมุมมองของเฟดเกี่ยวกับนโยบายการเงินในช่วงเวลาที่ดูเหมือนว่าจะไม่มีเบาะแสใด ๆ เกี่ยวกับกำหนดเวลาในการลดการซื้อพันธบัตร
ค่าเงินบาท ราคาซื้อขายก่อนเปิดตลาดอยู่ที่ 32.670 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ