โดย Peter Nurse
Investing.com - เงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นในการซื้อขายช่วงต้นของตลาดยุโรป โดยได้แรงหนุนจากนักลงทุนที่เริ่มไม่ชอบความเสี่ยง ท่ามกลางความกังวลเรื่องการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกเนื่องจากจำนวนผู้ป่วยโควิดพุ่งขึ้นอีกครั้ง
เมื่อเวลา 2:55 น. ET (0755 GMT) ดัชนีดอลลาร์เพิ่มขึ้น 0.1% ที่ 92.505 ใกล้ระดับสูงสุดในรอบ 3 เดือนของวันพุธที่ 92.844
ค่าเงินเยน เพิ่มขึ้น 0.3% ที่ 110.06 ค่าเงินยูโร ลดลง 0.1% มาที่ 1.1827 ในขณะที่ ค่าเงินออสเตรเลีย ลดลง 0.1% มาที่ 0.7419 หลังจากลดลง 0.7% เมื่อวานนี้ โดยอยู่เหนือระดับต่ำสุดสำหรับปีนี้ที่ 0.7410
มีความกังวลเพิ่มมากขึ้นว่าไวรัสโควิดที่แพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว อาจขัดขวางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่กำลังอ่อนไหวอยู่แล้ว
ความกังวลเหล่านี้ส่งผลให้ ผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐอายุ 10 ปี ลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบเกือบห้าเดือนที่ 1.25% ช่วงปลายวันพฤหัสบดี ซึ่งกดดันค่าเงินดอลลาร์ แต่หลังจากนั้นก็ดีดตัวขึ้นที่ 1.34% และเคยสูงถึง 1.54% เมื่อสองสัปดาห์ก่อน
แมรี่ เดลี ประธานเฟดแห่งซานฟรานซิสโก ให้สัมภาษณ์กับ Financial Times ว่า “ความเสี่ยงที่ใหญ่ที่สุดประการหนึ่งต่อการเติบโตทั่วโลกของเราในอนาคต คือการที่เราประกาศชัยชนะในการต่อสู้กับโควิดก่อนเวลาอันควร”
“หากไม่เร่งอัตราการฉีดวัคซีนให้สูงขึ้นและแก้ปัญหาโควิดให้ได้อย่างแท้จริง นั่นจะเป็นอุปสรรคต่อการเติบโตของสหรัฐ” เดลีกล่าวเสริม
ญี่ปุ่นได้ประกาศสภาวะฉุกเฉินสำหรับโตเกียวแล้ว เนื่องจากมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้น นั่นหมายความว่า การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่กำลังจะมีขึ้นจะไม่มีผู้เข้าชม ขณะนี้เอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังประสบกับจำนวนผู้เสียชีวิตและผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้นเป็นประวัติการณ์ ในขณะที่การติดเชื้อยังเพิ่มขึ้นในอังกฤษและสหรัฐอเมริกาด้วย
“การระบาดครั้งใหม่ยังคงเป็นความเสี่ยงด้านลบที่ใหญ่ที่สุดต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนและการก้าวไปข้างหน้า” มาเธียส คอร์มันน์ เลขาธิการ OECD กล่าวเมื่อวันพฤหัสบดี
หลักฐานของลักษณะการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่เปราะบาง คือ ข้อมูลอัตราว่างงานของสหรัฐรายสัปดาห์ ซึ่งชี้ให้เห็นว่ามี ผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรก เพิ่มขึ้นอย่างไม่คาดคิดในสัปดาห์ที่แล้ว
ทางด้าน ค่าเงินปอนด์ ลดลง 0.1% มาที่ 1.3768 หลังจากที่เศรษฐกิจของอังกฤษขยายตัวน้อยกว่าที่คาดในเดือนพฤษภาคม โดยที่ประมาณการณ์ตัวเลข {{ecl -1792||GDP}} ขยายตัวที่ 0 8% ชะลอตัวลงจากการขยายตัว 2% เมื่อเดือนก่อน
ส่วน ค่าเงินหยวน ลดลง 0.1% มาที่ 6.4881 หลังจากที่ ดัชนีราคาผู้บริโภค ของจีนขยายตัวน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ 1.1% เมื่อเทียบปีต่อปี และหดตัว 0.4% เมื่อเทียบเดือนต่อเดือน ในขณะที่ ดัชนีราคาผู้ผลิต ขยายตัว 8.8% เมื่อเทียบปีต่อปี ซึ่งยังคงอยู่ในระดับสูงอย่างน่ากังวลใจในช่วงที่จีนกำลังพยายามหนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจหลังการระบาดของโควิด
ค่าเงินบาท อัตราแลกเปลี่ยนอยู่ที่ 32.530 บาท ต่อดอลลาร์สหรัฐ