InfoQuest - นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเย็นนี้อยู่ที่ 34.07 บาท/ดอลลลาร์ ปรับตัวแข็งค่าจากเปิด ตลาดเมื่อเช้าที่ระดับ 34.14 บาท/ดอลลาร์ เคลื่อนไหวตามสถานการณ์ราคาทองในตลาดโลก และทิศทางของเงินทุนระหว่างประเทศ (Flow) โดยช่วงนี้ตลาดยังไม่มีปัจจัยใหม่ที่สำคัญเข้ามา ระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 34.02 - 34.23 บาท/ดอลลาร์ "บาทปรับตัวแข็งค่าสวนทางกับค่าเงินในภูมิภาค เนื่องจากเคลื่อนไหวตามราคาทองและ Flow ช่วงสิ้นเดือน ปริมาณธุรกรรม เบาบาง" นักบริหารเงิน กล่าว นักบริหารเงินประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันจันทร์ไว้ที่ 34.00 - 34.25 บาท/ดอลลาร์ THAI BAHT SPOT RATE FIXING อยู่ที่ระดับ 34.0919 บาท/ดอลลาร์
* ปัจจัยสำคัญ
- เงินเยน อยู่ที่ระดับ 157.88 เยน/ดอลลาร์ จากเมื่อเช้าที่ระดับ 157.81 เยน/ดอลลาร์ - เงินยูโร อยู่ที่ระดับ 1.0414 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานที่ระดับ 1.0416 ดอลลาร์/ยูโร - ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เผยเศรษฐกิจไทยในเดือนพ.ย.67 ชะลอลงจากเดือนก่อน โดยการบริโภคภาคเอกชน ลดลง หลังจากที่เร่งไปในเดือน ต.ค.จากมาตรการเงินโอนภาครัฐ สอดคล้องกับกิจกรรมในภาคการค้า ด้านการลงทุนภาคเอกชน ปรับลด ลงจากทั้งหมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์ และหมวดก่อสร้าง อย่างไรก็ดี ภาคบริการที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวยังขยายตัวได้ และการส่ง ออกสินค้าเพิ่มขึ้นจากหมวดยานยนต์ และสินค้าเกษตรแปรรูป - กระทรวงการคลัง เผยดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาคเดือน ธ.ค.67 ยังขยายตัวดีต่อเนื่อง โดยเฉพาะในภาค ตะวันออก ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตามแนวโน้มการขยายตัวในภาคบริการและภาคเกษตร จากมาตรการส่งเสริมการท่อง เที่ยวที่มีต่อเนื่อง อุปสงค์สินค้าเกษตรที่เพิ่มขึ้น และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในภาพรวม ทั้งนี้ต้องติดตามความผันผวนของสภาพอากาศ เศรษฐกิจโลก และต้นทุนการผลิตที่อาจมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น - สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เผยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนพ.ย.67 อยู่ที่ 93.41 หดตัว 3.58% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการหดตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์ ทั้งการส่งออกและขายในประเทศ หนี้ครัวเรือนอยู่ในระดับสูง และกำลังซื้อผู้บริโภคลดลง ขณะที่มีการทะลักเข้ามาของสินค้าราคาถูก ส่งผลให้ช่วง 11 เดือนปีนี้ (ม.ค.-พ.ย.) ดัชนี MPI อยู่ที่ 96.25 หดตัวเฉลี่ย 1.78% - ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) เผยรายงานสรุปความคิดเห็นของกรรมการ BOJ บางส่วนมีมุมมองเชิงบวกเกี่ยวกับการเดิน หน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในอนาคตอันใกล้นี้ แม้ท้ายที่สุดแล้ว BOJ ได้ตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเมื่อวันที่ 18-19 ธ.ค. ที่ผ่าน มาก็ตาม - ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) พื้นฐานในกรุงโตเกียว เมืองหลวงของญี่ปุ่น ปรับตัวสูงขึ้นในเดือนธ.ค. ส่งผลให้ตลาดยังคง คาดการณ์ว่าธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) อาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็ว ๆ นี้ ข้อมูลเงินเฟ้อกรุงโตเกียวจะเป็นปัจจัยหนึ่งที่ BOJ จะพิจารณาอย่างละเอียดในการประชุมนโยบายครั้งหน้าในวันที่ 23-24 ม.ค. ซึ่งนักวิเคราะห์บางคนคาดว่าธนาคารฯ จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น ขณะที่ผู้ว่าการ BOJ ส่งสัญญาณพร้อมปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย อีกครั้ง หากเศรษฐกิจและเงินเฟ้อเคลื่อนไหวสอดคล้องกับการคาดการณ์ของคณะกรรมการ