🟢 ตอนนี้ตลาดกำลังทะยานขึ้น สมาชิกผู้ใช้บริการของเรากว่า 120K คน ต่างรู้ดีว่าควรทำอย่างไร คุณก็สามารถรู้ได้เช่นกันรับส่วนลด 40%

เงินบาทแข็งค่าขึ้นที่ 31.09 บาท/ดอลลาร์ ( 31 ส.ค.)แนะจับตาตัวเลขดุลบัญชีเดินสะพัด

เผยแพร่ 31/08/2563 08:42
© Reuters.
USD/THB
-
DXY
-

โดย Detchana.K

Investing.com  - เงินบาทเปิดเช้าวันนี้ที่ระดับ 31.09 บาทต่อดอลลาร์ แข็งค่าจากช่วงปิดสิ้นวันทำการก่อนที่ระดับ 31.16 บาทต่อดอลลาร์ กรอบเงินบาทระหว่างวัน 30.98-31.18 บาทต่อดอลลาร์ USD/THB

ดร.จิติพล พฤกษาเมธานันท์ ผู้อำนวยการอาวุโส บริษัทหลักทรัพย์ไทยพาณิชย์ จำกัด (SCBS)  ระบุว่า ในสัปดาห์นี้แนะนำจับตาตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐและทิศทางค่าเงินดอลลาร์ที่มีโอกาสอ่อนค่าต่อเนื่อง

โดยตัวเลขที่สำคัญเริ่มต้นที่การรายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตในสหรัฐ (ISM Manufacturing PMI) ในวันอังคารที่คาดว่าจะทรงตัวที่ระดับ 53.4จุด ขณะที่วันพฤหัสก็จะต่อด้วยการรายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการ (ISM Non-Manufacturing PMI) ที่มีโอกาสชะลอตัวลงจากเดือนก่อนที่ระดับ 58.1จุด มาที่ระดับ 56.4จุด หลังตัวเลขผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงานใหม่ (Initial Jobless Claims) ในช่วงหลายสัปดาห์ก่อนชี้ว่าการจ้างงานไม่ได้ฟื้นตัวดีมากจากเดือนก่อนหน้า

ส่วนในวันศุกร์ จะมีการรายงานตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตร (U.S. Non-farm Payrolls) ที่เชื่อว่าบริษัทในสหรัฐจะมีการจ้างงานเพิ่มเติมขึ้นได้อีก 1.4 ล้านตำแหน่งในเดือนที่ผ่านมา หนุนให้อัตราการว่างานปรับตัวลงมาที่ 10.0% อย่างไรก็ดีความเร่งของการฟื้นตัวดูจะช้าลงจากช่วงหลังวิกฤติ ชี้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐกำลังเข้าสู่ช่วงปรับโครงสร้าง

ส่วนในฝั่งตลาดเงิน สัปดาห์ก่อนดอลลาร์มีแนวโน้มปรับตัวลงชัดเจนหลังธนาคารกลางสหรัฐเปลี่ยนเป้าหมายนโยบายการเงินไปใช้เงินเฟ้อเฉลี่ย (Average Inflation Targeting) พร้อมกับที่นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นนายชินโซ อาเบะ แถลงลาออกทำให้เยนญี่ปุ่น (JPY) แข็งค่าไปด้วย

ในสัปดาห์นี้จึงต้องจับตาการเคลื่อนไหวของยูโร (EUR) และเยนญี่ปุ่นต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี มองว่าตลาดจะให้ความสนใจกับตัวเลขเศรษฐกิจต้นเดือนด้วย แม้แนวโน้มหลักยังคงเป็นการอ่อนค่าของดอลลาร์จากนโยบายการเงิน แต่ถ้าเห็นการฟื้นตัวที่ช้ามากกว่าคาด ก็มีความเป็นไปได้เช่นกันที่จะเห็นตลาดกลับไปปิดรับความเสี่ยง (Risk Off) หนุนให้ดอลลาร์แข็งค่ากลับได้

มองกรอบดัชนีดอลลาร์ US Dollar Index สัปดาห์นี้ 91.5-93.0จุด จากปัจจุบัน 92.3จุด

ฝั่งเงินบาท หลังจากที่ดอลลาร์อ่อนก็แข็งค่าตามทันที โดยในสัปดาห์นี้แนะนำจับตาตัวเลขดุลบัญชีเดินสะพัด (Current Account) ซึ่งทรงตัวมาตลอดสี่เดือนล่าสุด ถ้าเริ่มเห็นสัญญาณการกลับมาเกินดุลเกินพันล้านดอลลาร์บ้าง ก็เชื่อว่าจะเห็นเงินบาทมีทิศทางแข็งค่าต่อได้ด้วย เพราะเป็นสัญญาณว่าการส่งออกฟื้นตัวขึ้นจากระดับต่ำที่สุดของปีแล้ว ส่วนกรอบเงินบาทรายสัปดาห์ 30.90-31.40 บาทต่อดอลลาร์

 

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย