🚀 ProPicks AI ให้ผลตอบแทนถึง 34.9%อ่านเพิ่มเติม

ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 36.10 อ่อนค่าสุดรอบ 3 เดือน ดอลล์แข็ง หลังเงินเฟ้อสหรัฐฯ สูงกว่าคาด

เผยแพร่ 14/02/2567 16:33
© Reuters.  ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 36.10 อ่อนค่าสุดรอบ 3 เดือน ดอลล์แข็ง หลังเงินเฟ้อสหรัฐฯ สูงกว่าคาด
USD/JPY
-
USD/THB
-

InfoQuest - นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 36.10 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจากปิด ตลาดเย็นวานนี้ที่ระดับ 35.72 บาท/ดอลลาร์ เงินบาทเปิดเช้านี้อ่อนค่าเทียบท้ายตลาด เนื่องจากเมื่อคืนนี้สหรัฐฯ เปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ออกมาสูงกว่าคาด ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ เด้งขึ้นมา และดอลลาร์ปรับตัวแข็งค่าเมื่อเทียบกับทุกสกุลเงิน "เงินบาทเปิดที่ 36.10 บาท/ดอลลาร์ ถือเป็นระดับที่อ่อนค่าสุดในรอบ 3 เดือน" นักบริหารเงิน กล่าว สำหรับปัจจัยที่ต้องติดตามวันนี้ คือ Flow ทองคำ โดยเมื่อคืนนี้ทองคำหลุด 2,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ ไปแล้ว จึงอาจมี Flow ฝั่งนำเข้าทองคำได้ นอกจากนี้ ต้องจับตา Flow จากต่างชาติด้วย นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 36.00 - 36.20 บาท/ดอลลาร์ * ปัจจัยสำคัญ - เงินเยนอยู่ที่ 150.56 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 149.62 เยน/ดอลลาร์ - เงินยูโร 1.0709 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.0758 ดอลลาร์/ยูโร - อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของ ธปท.อยู่ที่ระดับ 35.802 บาท/ดอลลาร์ - ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย คาดการณ์เงินสะพัดในเดือน ก.พ.67 จะเข้าสู่ระบเศรษฐกิจ ประมาณ 80,000-90,000 ล้านบาท เนื่องจากมีหลายเทศกาลที่ผู้บริโภคจับจ่ายใช้สอย ทั้งใช้จ่ายของคนไทยจากช่วงตรุษจีน วาเลนไทน์ และมาฆบูชา ประมาณ 60,000 ล้านบาท รวมกับเงินที่นักท่องเที่ยวต่างชาติมาใช้จ่ายในไทยอีกประมาณ 20,000-30,000 ล้านบาท หาก เดือน มี.ค. ยังมีตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้ และเดือน เม.ย. เงินงบประมาณจะเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจตามแผนที่กำหนดไว้ รวมกับมีนักท่อง เที่ยวเข้ามาไทยมากขึ้น และราคาสินค้าเกษตรยังดีต่อเนื่อง จะทำให้เศรษฐกิจไทยปี 67 ยังเติบโตได้ตามเป้าหมาย - ครม. อนุมัติแผนบริหารหนี้สาธารณะพบการก่อหนี้ใหม่เพิ่มขึ้น 560,276 ล้านบาท มาจากการกู้เงินรองรับการใช้จ่ายของ ภาครัฐ และกู้เงินเพื่อบริหารสภาพคล่องเงินคงคลังในระหว่างที่ยังไม่มี พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2567 ยันไม่ละเมิดวินัยการ คลัง หนี้สาธารณะต่อจีดีพีอยู่ที่ 61.29% สัดส่วนหนี้รัฐบาลต่อประมาณการรายได้อยู่ที่ 33.06% - "เศรษฐา" เผยหลังประชุมบอร์ดดิจิทัลวอลเล็ต 15 ก.พ.นี้ มีความคืบหน้าให้แน่นอน "ภูมิธรรม" ยันโครงการนี้ ไม่ใช่ การแจกเงิน แต่มีเป้าหมายกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหญ่ วอนคนวิจารณ์ดูภาพรวมให้ครบ อย่ามโนไปเอง - บริหารสแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ด เผย จีนกำลังเผชิญกับภาวะขาดความเชื่อมั่น เนื่องจากเศรษฐกิจเข้าสู่ช่วงเปลี่ยนผ่านครั้ง ใหญ่ ผนวกกับความกังวลเรื่องวิกฤติภาคอสังหาริมทรัพย์ ที่เพิ่มขึ้นทุกขณะ ด้านเจพีมอร์แกนแนะ อย่าปฏิบัติ กับจีนเหมือนเป็นประเทศไม่น่า ลงทุน - กระทรวงแรงงานสหรัฐ เปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อจากการใช้จ่ายของผู้บริโภค เดือนม. ค.เมื่อวานนี้ (13 ก.พ.) ออกมาสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ทุกรายการ ไม่ว่าจะเป็นดัชนี CPI ทั่วไป หรือดัชนี CPI พื้นฐาน ไม่ว่าจะเทียบ เป็นรายปีหรือรายเดือน - นักลงทุนเลื่อนคาดการณ์การปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกในปีนี้ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เป็นเดือนมิ.ย. จากเดิมที่ คาดไว้ในเดือนพ.ค. หลังสหรัฐเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ที่สูงกว่าคาด ซึ่งจะเป็นปัจจัยหนุนให้เฟดตรึงอัตราดอกเบี้ยในระดับสูง ยาวนานกว่าที่คาดไว้ - สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงในวันอังคาร (13 ก.พ.) หลังสหรัฐเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ที่สูงกว่า คาด ซึ่งทำให้ตลาดวิตกกังวลว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะตรึงอัตราดอกเบี้ยในระดับสูงเป็นเวลานานกว่าที่คาดการณ์ไว้ - ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันอังคาร (13 ก.พ.) หลังสหรัฐเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ที่สูงกว่าคาด ซึ่งทำให้นักลงทุนคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะไม่ปรับลด อัตราดอกเบี้ยในเดือนพ.ค.ตามที่ตลาดคาดการณ์ไว้ - นักลงทุนจับตาข้อมูลเศรษฐกิจด้านอื่นๆ ของสหรัฐในสัปดาห์นี้ อาทิ จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ยอดค้า ปลีกเดือนม.ค., ราคานำเข้าและราคาส่งออกเดือนม.ค., ดัชนีภาคการผลิต (Empire State Manufacturing Index) เดือนก.พ. จากเฟดนิวยอร์ก, ดัชนีการผลิตเดือนก.พ.จากเฟดฟิลาเดลเฟีย, การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนม.ค., ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนม. ค. และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคขั้นต้นเดือนก.พ. จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน

กดอ่านข่าวต้นฉบับจาก InfoQuest

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย