รับส่วนลด 40%
🔥 กลยุทธ์การหุ้นคัดเลือกโดย AI ของเรา หุ้นเทคฯ ยักษ์ใหญ่ ทะยานขึ้น +7.1% ในเดือน พฤษภาคม เข้าเทรดขณะหุ้นกำลังมาแรงรับส่วนลด 40%

ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 37.02/08 ระหว่างวันอ่อนค่ารอบเกือบ 10 เดือนครึ่ง คาดกรอบพรุ่งนี้ 37.20-37.80

เผยแพร่ 04/10/2566 00:46
© Reuters.  ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 37.02/08 ระหว่างวันอ่อนค่ารอบเกือบ 10 เดือนครึ่ง คาดกรอบพรุ่งนี้ 37.20-37.80
EUR/USD
-
GBP/USD
-
USD/JPY
-
EUR/JPY
-
USD/THB
-

InfoQuest - นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ 37.02/08 บาท/ดอลลาร์ จากเปิดตลาดเมื่อ เช้าที่ระดับ 37.09 บาท/ดอลลาร์ โดยระหว่างวันเคลื่อนไหวในกรอบ 36.95 - 37.13 บาท/ดอลลาร์ เงินบาทเคลื่อนไหวทิศทางเดียวกับสกุลเงินในภูมิภาค ระหว่างวันยังไม่มีปัจจัยใหม่ ตลาดยังกังวลว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะยังคงดอกเบี้ยสูงเป็นเวลานาน ประกอบกับตัวเลขเศรษฐกิจจีนออกมาไม่ค่อยดี ขณะที่เศรษฐกิจไทยคาดว่าจะฟื้นตัวช้า และยังไม่ เห็นนโยบายทางการเงินการคลังที่คืบหน้า จึงยังไม่มีปัจจัยกดให้เงินบาทแข็งค่า "เงินบาทวันนี้อ่อนค่าไปถึง 37.13 บาท/ดอลลาร์ แต่ยังถือเป็นระดับที่อ่อนค่าสุดในรอบ 10 เดือนครึ่ง" นักบริหารเงิน กล่าว นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันพรุ่งนี้ไว้ที่ 37.20 - 37.80 บาท/ดอลลาร์

* ปัจจัยสำคัญ

- เงินเยนอยู่ที่ 149.75/150.00 เยน/ดอลลาร์ จากเมื่อเช้าที่ระดับ 149.84 เยน/ดอลลาร์ - เงินยูโรอยู่ที่ 1.0475/1.0500 ดอลลาร์/ยูโร จากเมื่อเช้าที่ระดับ 1.0474 ดอลลาร์/ยูโร - ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ 1,447.30 จุด ลดลง 22.16 จุด (-1.51%) มูลค่าซื้อขาย 60,393.44 ล้านบาท - สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 4,404.42 ลบ.(SET+MAI) - ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ช่วงที่ผ่านมาเงินบาทเคลื่อนไหวผันผวนมากขึ้น และอ่อนค่าผ่านระดับ 37 บาทต่อดอลลาร์ คิดเป็นอ่อนค่าลง 6.75% จากต้นปี สอดคล้องกับค่าเงินในภูมิภาค โดยการอ่อนค่าในช่วงหลังได้รับผลจากปัจจัยภายนอก เป็นหลัก โดยเฉพาะการแข็งค่าของเงินดอลลาร์ จากความเป็นไปได้ที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะคงดอกเบี้ยไว้นานกว่าที่คาด ประกอบกับแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ดีกว่าประเทศอื่นๆ โดยเปรียบเทียบ นอกจากนี้ ค่าเงินบาทยังมีแรงกดดันเพิ่มเติมจากราคาทองคำที่ ลดลงต่ำสุดในรอบ 7 เดือน และราคาน้ำมันเพิ่มขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบปี อย่างไรก็ดี เกาะติดค่าเงินบาทใกล้ชิดพร้อมเข้าดูแลหาก เคลื่อนไหวผันผวนผิดปกติ - นายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง กล่าวถึงสถานการณ์ค่าเงินบาทอ่อนค่าอย่างต่อเนื่องว่า เป็นเรื่องที่ต้องเฝ้าระวัง แต่คงจะ ไม่เข้าไปก้าวก่ายหรือแทรกแซง ต้องปล่อยให้เป็นไปตามกลไกของตลาด อย่างไรก็ตาม การที่ค่าเงินบาทอ่อนค่าก็ไม่ได้มีผลเสียทั้งหมด เพราะการส่งออกและการท่องเที่ยวได้รับอานิสงส์เชิงบวก ซึ่งการส่งออกมีส่วนใน GDP ของประเทศถึงกว่า 50% และการท่องเที่ยวอยู่ที่ 20% ของ GDP แต่ก็ต้องดูให้มีความเหมาะสม ซึ่ง ธปท. ดูแลและติดตามเรื่องนี้อยู่ - ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) กดเป้าส่งออกทั้งปี -1.5% ถึง -1% (ณ เดือนต.ค. 66) จากเดิมที่คาดว่าจะ -1% โดยมีปัจจัยเสี่ยงที่เป็นอุปสรรคสำคัญ ได้แก่ 1. การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกส่งผลต่อเศรษฐกิจของประเทศคู่ ค้าสำคัญ 2. ดัชนีภาคการผลิต (PMI) ทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ 3. ต้นทุนวัตถุดิบปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น และ 4. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทั่วโลก - ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติแต่งตั้งคณะกรรมการเติมเงินดิจิทัล วอลเล็ต ซึ่งเปรียบเสมือน ครม.ชุดย่อย โดยมี นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง เป็นประธาน เพื่อพิจารณาแนวนโยบาย กรอบวงเงิน ที่มางบประมาณ กลไกดำเนินการ ต่างๆ โดยคณะกรรมการชุดนี้จะประชุมนัดแรกภายในสัปดาห์นี้ เพื่อมอบนโยบาย - กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยยอดนักท่องเที่ยวสะสมตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 66 ที่ผ่านมา ทั้งสิ้น 20,051,535 คน สร้างรายได้จากการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวต่างชาติแล้ว 839,409 ล้านบาท โดยสัปดาห์ที่ผ่านมา ภายหลังมาตรการ VISA Free มีผลบังคับใช้ นักท่องเที่ยวจีนมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น 44,744 คน หรือเพิ่มขึ้น 72.49% (WoW) - สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) เผยดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบธุรกิจการท่องเที่ยวไตรมาส 3/66 อยู่ที่ระดับ 69 สะท้อนสถานการณ์ท่องเที่ยวที่ชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ไตรมาส 1/66 เป็นต้นมา เนื่องจากเป็นช่วงนอกฤดูกาลท่อง เที่ยวของทั้งคนไทยและต่างชาติ ประกอบกับประชาชนกังวลสภาพเศรษฐกิจไทยที่ยังไม่แน่นอน และหนี้ครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นจากวิกฤติโควิด- 19 ขณะเดียวกัน ยังกังวลค่าพลังงานที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ คาดไตรมาส 4/66 สถานการณ์ท่องเที่ยวจะดีขึ้น เนื่องจากเป็นฤดูกาลท่อง เที่ยวของคนไทยและต่างชาติ รวมทั้งมีวันหยุดยาวถึง 6 ช่วง และการจัดกิจกรรมในเทศกาลต่างๆ - ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาคลีฟแลนด์ กล่าวในงานเสวนาซึ่งจัดขึ้นในรัฐคลีฟแลนด์ในวันที่ 2 ต.ค. ว่า เฟดอาจจะยังไม่สามารถยุติการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย เนื่องจากแรงกดดันด้านเงินเฟ้อยังคงมีอยู่ในขณะนี้ - สกุลเงินปอนด์ของอังกฤษร่วงลงมากที่สุดในรอบ 1 ปีในเดือนก.ย.เมื่อเทียบกับสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ และบรรดานัก กลยุทธ์ต่างแทบไม่มีมุมมองเชิงบวกสำหรับช่วงที่เหลือของปีนี้ โดยคาดการณ์เพิ่มมากขึ้นว่าเงินปอนด์จะอ่อนค่าลงอีก

กดอ่านข่าวต้นฉบับจาก InfoQuest

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย