💎 ดูบริษัทต่าง ๆ ที่มีสุขภาพทางการเงินที่ดีที่สุดในตลาดปัจจุบันเริ่มต้นเลย

ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 34.68 แข็งค่าสอดคล้องภูมิภาค เกาะติดเงินเฟ้อสหรัฐคืนนี้-โหวตนายกฯพรุ่งนี้

เผยแพร่ 12/07/2566 16:24
© Reuters.  ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 34.68 แข็งค่าสอดคล้องภูมิภาค เกาะติดเงินเฟ้อสหรัฐคืนนี้-โหวตนายกฯพรุ่งนี้
DX
-

InfoQuest - นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ระดับ 34.68 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจาก ปิดตลาดเย็นวานนี้ที่ระดับ 34.85 บาท/ดอลลาร์ เงินบาทเช้านี้ปรับตัวแข็งค่าตามสกุลเงินในภูมิภาค หลังจากที่ดอลลาร์สหรัฐฯ ยังอ่อนค่าต่อเนื่อง เนื่องจากตลาดมีมุมมองว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) น่าจะใกล้สิ้นสุดวัฎจักรการปรับขึ้นดอกเบี้ยแล้ว ในขณะที่ปัจจัยในประเทศ ยังเป็นเรื่องการโหวตเลือกนายก รัฐมนตรี ที่ขณะนี้ยังไม่มีความแน่นอน ซึ่งเป็นปัจจัยที่จำกัดการแข็งค่าของเงินบาทอยู่ในขณะนี้ ส่วนปัจจัยต่างประเทศ คืนนี้ ตลาดรอดูตัวเลขเงินเฟ้อเดือนมิ.ย.ของสหรัฐฯ นักบริหารเงิน คาดว่า วันนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 34.60 - 34.90 บาท/ดอลลาร์ SPOT ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 34.83750 บาท/ดอลลาร์

* ปัจจัยสำคัญ

- เงินเยนอยู่ที่ระดับ 139.45 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานที่ระดับ 140.46/47 เยน/ดอลลาร์ - เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1026 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานที่ระดับ 1.1007/1009 ดอลลาร์/ยูโร - อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 34.895 บาท/ดอลลาร์ - นักวิเคราะห์ ระบุว่าค่าเงินบาทในระยะนี้มีโอกาสผันผวนสูง เนื่องจากนักลงทุนต่างจับตาการเมืองไทย ในประเด็น การโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี คนที่ 30 ของไทย ซึ่งหากมีอุบัติเหตุทางการเมือง อาจทำให้บาทอ่อนค่าจากความไม่เชื่อมั่นของนักลง ทุน - ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ห่วงการเมืองฉุดจีดีพีไทยเหลือ 2.0-2.5% หวั่นตั้งรัฐบาลยืดเยื้อ มีความรุนแรง ส่งผลลงทุนเอกชน โต 2% ชี้โจทย์ใหญ่ รัฐบาลใหม่เร่งแก้หนี้ครัวเรือนเรื้อรัง ห่วงเอลนีโญ่รุนแรงกระทบเกษตร 4.8 หมื่นล้าน สำนักงบฯ ชี้ยื้อเลือก นายกฯ ถึง ส.ค.กระทบงบประมาณปี 2567 ล่าช้า เผยงบกลางปี 2566 เหลือแค่ 1 หมื่นล้านบาท - ภาคธุรกิจวิตกโหวตนายกฯ 13 ก.ค.ยืดเยื้อ ห่วงกระทบทั้งระบบ ฉุดความเชื่อมั่นลงทุนไม่ขยับ งบปี'67 ล่าช้า ลามม็อบ ลงถนนป่วนเศรษฐกิจ - ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เปิดเผยถึงการจัดทำร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2567 ว่า ขณะนี้ยังไม่ได้ ปรับเปลี่ยนปฏิทินงบประมาณจากเดิมที่คาดว่าขั้นตอนการเลือกนายกรัฐมนตรีของสภาฯ จะแล้วเสร็จในเดือน ก.ค.และจะมีนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี (ครม.) ชุดใหม่ในช่วงเดือน ส.ค. ซึ่งสำนักงบประมาณจะเริ่มขั้นตอนการจัดทำงบประมาณปี 2567 ได้ภายในเดือน ส. ค. โดยเริ่มจากการเสนอปฏิทินงบประมาณให้ ครม.พิจารณาในช่วงสัปดาห์ที่ 2 ของเดือน ส.ค. จากนั้นเป็นกระบวนการจัดทำ โดยร่าง พ.ร.บ.รายจ่ายงบประมาณปี 2567 จะเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาฯ วาระที่ 1 ในเดือน ธ.ค.ปีนี้ และมีผลบังคับใช้ในเดือน มี.ค.ปี 2567 หรือล่าช้าไปกว่าปกติ 6 เดือน ซึ่งช่วงเวลานี้หน่วยงานราชการสามารถใช้งบฯ ไปพลางก่อนได้ตามหลักเกณฑ์ที่ ครม.เห็นชอบไว้ - บริษัท Fitch Ratings (Fitch) ได้คงอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทย (Sovereign Credit Rating) ที่ BBB+ และคงมุมมองความน่าเชื่อถือของประเทศไทย (Outlook) อยู่ในระดับมีเสถียรภาพ (Stable Outlook) แต่ให้ระวังการรักษา เสถียรภาพทางการคลังและความไม่แน่นอนทางการเมือง ซึ่งเป็นปัจจัยที่จะทำให้ Fitch ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของไทย - "วันนอร์" ปธ.รัฐสภา เผยเคาะเริ่มโหวตนายกฯ 5 โมงเย็น หลังเปิดให้ สส. 4 ชม.-สว. 2 ชม.อภิปราย-ซักถาม แคนดิเดตนายกฯ ย้ำขอดูโหวตรอบแรกก่อน อย่าไปคิดรอบอื่นยันสภามีหน้าที่หานายกฯให้ได้ ขณะที่ 8 พรรคร่วมฯถกตามนัด "ชลน่าน" ระบุ มติ 8 พรรคฯหนุน "พิธา" นั่งนายกฯ-พท.เสนอชื่อเอง - "ประยุทธ์" ประกาศวางมือทางการเมือง พร้อมลาออกจากสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติแล้ว ฝากสมาชิกดูแลประชาชน พร้อมปกป้องสถาบันหลักของชาติต่อไป "พีระพันธุ์" ระบุเหตุผลไขก๊อก เพราะไม่อยากถูกลากโยงตั้งรัฐบาลเสียงข้างน้อยจึงตัดปัญหาให้ สะเด็ดน้ำ - ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันอังคาร (11 ก. ค.) หลังจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐปรับตัวลง ขณะที่นักลงทุนจับตาการเปิดเผยตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐในวันนี้ - สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกในวันอังคาร (11 ก.ค.) เนื่องจากการอ่อนค่าของดอลลาร์และการร่วงลงของอัตราผล ตอบแทนพันธบัตรสหรัฐเป็นปัจจัยหนุนแรงซื้อทองคำ ขณะที่นักลงทุนจับตาการเปิดเผยตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐ เพื่อหาสัญญาณบ่งชี้ทิศทาง อัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) - กระทรวงแรงงานสหรัฐมีกำหนดเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อจากการใช้จ่ายของผู้บริโภค ประจำเดือนมิ.ย.ในวันนี้ ขณะที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า ดัชนี CPI เดือนมิ.ย.จะเพิ่มขึ้น 3.1% เมื่อเทียบรายปี ซึ่งชะลอตัวจากระดับ 4.0% ในเดือนพ.ค. - นักวิเคราะห์จากบริษัท FXTM กล่าวว่า หากดัชนี CPI เดือนมิ.ย.ของสหรัฐชะลอตัวลงก็จะเป็นปัจจัยสนับสนุนการคาด การณ์ที่ว่าเฟดใกล้จะยุติวงจรการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย และอาจจะช่วยหนุนราคาทองคำดีดตัวขึ้นเหนือระดับ 1,940 ดอลลาร์ หรืออาจจะ สูงถึงระดับ 1,960 ดอลลาร์ - ข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐในสัปดาห์นี้ ได้แก่ รายงานสรุปภาวะเศรษฐกิจ หรือ Beige Book จากธนาคารกลางสหรัฐ, จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนมิ.ย., ราคานำเข้าและส่งออกเดือนมิ.ย. และดัชนีความเชื่อ มั่นผู้บริโภคขั้นต้นเดือนก.ค.จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน

กดอ่านข่าวต้นฉบับจาก InfoQuest

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย