💎 ดูบริษัทต่าง ๆ ที่มีสุขภาพทางการเงินที่ดีที่สุดในตลาดปัจจุบันเริ่มต้นเลย

ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 34.47 อ่อนค่าต่อเนื่อง จากปัจจัยใน-นอกไร้ความชัดเจน เม็ดเงินไหลออก

เผยแพร่ 23/05/2566 16:30
© Reuters. ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 34.47 อ่อนค่าต่อเนื่อง จากปัจจัยใน-นอกไร้ความชัดเจน เม็ดเงินไหลออก

InfoQuest - นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 34.47 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวอ่อนค่าต่อ เนื่องจากปิดตลาดเย็นวานนี้ที่ระดับ 34.44/45 บาท/ดอลลาร์ เคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับภูมิภาคและตลาดโลก หลังดอลลาร์แข็งค่าจาก ความกังวลเกี่ยวกับกระบวนการพิจารณาขยายเพดานหนี้ของสหรัฐฯ ที่ยังไม่ได้ข้อสรุปเรียบร้อย ส่วนปัจจัยในประเทศมาจากความกังวลเกี่ยวกับนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลใหม่ที่ยังไม่มีความชัดเจน ส่งผลให้มีเงินทุนต่าง ประเทศ (Flow) ไหลออกต่อเนื่องประมาณวันละ 1 หมื่นล้านบาท "บาทอ่อนค่าต่อเนื่องจากเย็นวานนี้จากปัจจัยทั้งภายในและภายนอกประเทศ ทำให้มี Flow ไหลออกต่อเนื่องเมื่อวานต่างชาติ ขายพันธบัตร 8 พันล้านบาท และขายหุ้น 1 พันล้านบาท" นักบริหารเงิน กล่าว นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 34.30 - 34.60 บาท/ดอลลาร์ THAI BAHT FIX 3M (22 พ.ค.) อยู่ที่ระดับ 1.73359% ส่วน THAI BAHT FIX 6M อยู่ที่ระดับ 1.94814% SPOT ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 34.62750 บาท/ดอลลาร์

* ปัจจัยสำคัญ - เงินเยนอยู่ที่ระดับ 138.48 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 137.90/91 เยน/ดอลลาร์ - เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0816 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.0817/0821 ดอลลาร์/ยูโร - อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท. อยู่ที่ระดับ 34.455 บาท/ดอลลาร์ - "ธปท." กางผลงานไตรมาส 1/66 สินเชื่อ-กำไรแบงก์พาณิชย์โตแผ่ว จับตาหนี้จ่อตกชั้น ปูด 6.6 แสนล้านบาท ถกยกเครื่องโครงสร้างค่าฟี ระบุต้องเหมาะสม สะท้อนต้นทุน ด้านสภาพัฒน์ห่วงหนี้ครัวเรือนกระทบเศรษฐกิจ - รายงานข่าวจากกรุงไทย คอมพาส ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือไอเอ็มเอฟ ประเมินเศรษฐกิจไทยในอีก 5 ปีข้างหน้าจะขยายตัวเฉลี่ย 3.3% ต่ำกว่าคาดการณ์เดิมที่ 3.4% เติบโตต่ำกว่าค่าเฉลี่ยก่อนโควิดที่ 3.6% ซึ่งเศรษฐกิจมีแนวโน้มชะลอลงซ้ำเติมหลุมรายได้ของไทยเพิ่มสูงขึ้น หลังจากช่วงโควิดหลายประเทศเจอกับการเติบโตที่ช้าลงกลายเป็นแผล เป็นจากวิกฤติโควิด เช่น ภาวะเงินตึงตัว เงินเฟ้อที่ปรับตัวลดลงช้ากว่าคาด และความขัดแย้งด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่ลากยาว ทำให้ไทยเกิด หลุมรายได้สูงถึง 2.9 ล้านล้านบาทต่อปี คิดเป็น 12.6% ต่อจีดีพี - ภาคธุรกิจหวังจัดตั้งรัฐบาลราบรื่น เร่งมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ หวั่น "ล่าช้า" กระทบเบิกจ่ายงบประมาณใหม่ เกิด สุญญากาศช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ เสียโอกาสฟื้นตัว ฉุดมู้ดลงทุน การจับจ่าย พร้อมพิจารณานโยบาย ส่งผล "ต้นทุนพุ่ง" รอบคอบแนะ "ทยอย" ปรับค่าแรงขั้นต่ำค่อยเป็นค่อยไป เร่งวางยุทธศาสตร์ รับนักท่องเที่ยวเยือนไทยมหาศาล 80 ล้านคน ในอนาคต - "สมาคมตราสารหนี้ไทย" เผยหุ้นกู้เอกชนผิดนัดชำระดอกเบี้ยเพิ่ม "หมื่นล้าน" ส่งผลหุ้นกู้มีปัญหา แตะ 1.1 แสนล้าน ล่า สุด "ช ทวี" ผิดนัดชำระเงินต้น-ดอกเบี้ย 33.83 ล้าน "ผู้แทนถือหุ้นกู้" จ่อเรียกประชุมด่วนหาแนวทางแก้ไข จับตา 4 บริษัท อยู่ระหว่าง ปรับโครงสร้างหนี้ บล.ยูโอบีฯ ชี้ เป็นสัญญาณไม่ดี กดดัน บจ.ขนาดกลาง-เล็ก ขายหุ้นกู้ยาก - สศช.เผยหนี้ครัวเรือนเป็นระเบิดเวลาสำหรับไทย เป็นเรื่องท้าทายของทุกรัฐบาล จี้ทุกภาคส่วนเร่งแก้ไข ด้าน ธปท.ชี้ขึ้น ดอกเบี้ยพ่นพิษ สินเชื่อแบงก์ไตรมาสแรกชะลอ หนี้เอ็นพีแอล สินเชื่อบ้านพุ่ง ห่วงหนี้ครัวเรือนกลุ่มเปราะบาง จับตาสินเชื่อที่เริ่มขาดส่ง กว่า 6 แสนราย เร่งพยุงไม่ให้เป็นหนี้เสีย - ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันจันทร์ (22 พ.ค.) โดยได้แรงหนุนจากการคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย - สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลบในวันจันทร์ (22 พ.ค.) เนื่องจากการแข็งค่าของดอลลาร์และความกังวลเกี่ยวกับแนว โน้มอัตราดอกเบี้ยขาขึ้นเป็นปัจจัยกดดันตลาด ขณะที่นักลงทุนจับตาผลการเจรจาปรับเพิ่มเพดานหนี้ครั้งล่าสุดระหว่างประธานาธิบดีโจ ไบ เดน ผู้นำสหรัฐ และนายเควิน แมคคาร์ธี ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐ - ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาเซนต์หลุยส์กล่าวว่า เฟดยังคงมีความจำเป็นที่จะต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 0.50% ในปีนี้ - ประธานเฟดสาขามินเนอาโพลิสซึ่งกล่าวว่า หากเฟดพักการขึ้นดอกเบี้ยในเดือนหน้า ไม่ได้หมายความว่าเฟดได้ยุติวงจร การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย แต่หมายความว่าเฟดกำลังรอข้อมูลมากขึ้น และหากเงินเฟ้อยังไม่ชะลอตัวลง เขาจะสนับสนุนให้เฟดขึ้นอัตรา ดอกเบี้ยต่อไป - นักลงทุนลดน้ำหนักการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมนโยบายการเงิน ในเดือนมิ.ย. หลังนายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ส่งสัญญาณคงอัตราดอกเบี้ยในเดือนหน้า - ล่าสุด FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า นักลงทุนให้น้ำหนัก 27.9% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% สู่ ระดับ 5.25-5.50% ในการประชุมวันที่ 13-14 มิ.ย. หลังจากที่เมื่อสัปดาห์ที่แล้วให้น้ำหนัก 43.7% นอกจากนี้ นักลงทุนให้น้ำหนัก 72.1% ที่เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 5.00-5.25% ในการประชุมวันที่ 13-14 มิ.ย. - นักลงทุนจับตาข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐในสัปดาห์นี้ด้วย ซึ่งรวมถึงรายงานการประชุมประจำเดือนพ.ค.ของธนาคารกลาง สหรัฐ (เฟด), ตัวเลข GDP ไตรมาส 1/2566 (ประมาณการครั้งที่ 2) และดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) เดือนเม.ย. - นักลงทุนจับตาผลการเจรจารอบใหม่เกี่ยวกับการปรับเพิ่มเพดานหนี้ระหว่างปธน.ไบเดนและนายแมคคาร์ธี หลังจากการ เจรจาระหว่างคณะทำงานของพรรครีพับลิกันและเดโมแครตในสัปดาห์ที่แล้วไม่มีความคืบหน้า โดยขณะนี้เหลือเวลาอีกเพียง 10 วันก่อนที่จะ ถึงกำหนดเส้นตายของการผิดนัดชำระหนี้

กดอ่านข่าวต้นฉบับจาก InfoQuest

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย