Investing.com -- สกุลเงินเอเชียส่วนใหญ่ในวันศุกร์อ่อนค่าลง โดยได้รับแรงกดดันจากความไม่แน่นอนเกี่ยวกับนโยบายการเงินสหรัฐฯ ตามภาวะเศรษฐกิจที่ผันผวนในสัปดาห์นี้ สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 10 วัน ท่ามกลางการคาดการณ์การปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ที่ลดน้อยลง
ถือเป็นสัปดาห์ที่ยากลำบากสำหรับสินทรัพย์ที่ชอบความเสี่ยง สาเหตุที่เป็นเช่นนั้นเพราะสัญญาณเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ที่ไม่ได้ปรับตัวลดลงมากนัก และการเติบโตของเศรษฐกิจจีนที่ชะลอตัว
หยวนจีนเคลื่อนไหวอยู่ที่ระดับต่ำสุดในรอบ 2 เดือนหลังจากข้อมูลตัวเลขดุลการค้า และเงินเฟ้อของประเทศที่น่าผิดหวัง ข้อมูลตัวเลขเศรษฐกิจที่ประกาศในสัปดาห์นี้ชี้ให้เห็นถึงการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในเอเชียที่ชะลอตัว เศรษฐกิจจีนที่ได้ชื่อว่าใหญ่ที่สุดในภูมิภาค มีตัวเลขภาคการผลิตหดตัวอย่างน่าประหลาดใจ ทำให้เกิดคาดหวังที่ว่าปักกิ่งจะผ่อนคลายนโยบายการเงินมากขึ้น
เหตุการณ์นี้ทำให้เงินหยวนเทียบดอลลาร์สหรัฐยังคงวิ่งอยู่ใกล้ๆ กับระดับราคาประมาณ 7 ซึ่งเป็นด่านราคาทางจิตวิทยาที่มีความสำคัญสำหรับหน่วยงานกำกับดูแลการเงินและนักลงทุนของจีน
ความอ่อนแอของเศรษฐกิจจีนทำให้ความเชื่อมั่นต่อตลาดเอเชียลดลง สกุลเงินวอนเกาหลีใต้ลดลง 0.2% ในขณะที่ริงกิตมาเลเซียร่วงลง 0.3% แม้ข้อมูลเศรษฐกิจของมาเลเซียจะแสดงให้เห็นว่าเติบโตมากกว่าที่คาดไว้ใน ครึ่งแรก
ดอลลาร์ออสเตรเลียปรับตัวลดลง 0.1% แต่ยังคงได้รับแรงหนุนจากการคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพิ่มของธนาคารกลางออสเตรเลีย
เงินเยนญี่ปุ่นปรับตัวลดลง 0.1% แต่ในกราฟระดับสัปดาห์กลับสามารถปรับตัวขึ้นได้เนื่องจากความกังวลวิกฤตธนาคารของสหรัฐฯ และความไม่แน่นอนเกี่ยวกับดราม่าเพดานหนี้ที่ก่อให้เกิดความต้องการสินทรัพย์สำรองปลอดภัย
สำหรับอเมริกา ดอลลาร์สหรัฐทรงตัวในวันศุกร์หลังจากแข็งค่าขึ้นอย่างแข็งแกร่งในสัปดาห์นี้ ดัชนีดอลลาร์สหรัฐและดัชนีดอลลาร์ฟิวเจอร์สในสัปดาห์นี้เพิ่มประมาณ 0.8%
การเพิ่มขึ้นอย่างน่าประหลาดใจของตัวเลขจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกที่เพิ่มขึ้นในสหรัฐอเมริกา ทำให้นักลงทุนเห็นว่าตลาดแรงงานของอเมริกานั้นเริ่มลดความร้อนแรงลงบ้างแล้ว แต่ ตัวเลขเงินเฟ้อในเดือนเมษายนที่ไม่ได้ลดลงอย่างมีนัยสำคัญนั้นได้เพิ่มความเชื่อมั่นที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯจะคงดอกเบี้ยในอัตราที่สูงขึ้นเอาไว้ในปีนี้เป็นเวลานาน
แม้ว่าดัชนีราคาผู้บริโภคและผู้ผลิตในเดือนเมษายนจะลงเล็กน้อย แต่ยังคงสูงกว่ากรอบเป้าหมายของเฟด
ราคาเฟดฟันด์ฟิวเจอร์สยังแสดงให้เห็นว่าตลาดลงเริ่มได้ลดความคาดหวังที่มีต่อการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ ในปีนี้ลงแล้ว
แนวโน้มดังกล่าวสนับสนุนเงินดอลลาร์ให้แข็งค่ามากขึ้น และมีแนวโน้มที่จะกดดันสกุลเงินเอเชีย เนื่องจากช่องว่างระหว่างตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงสูงและความเสี่ยงต่ำยังคงแคบลง ธนาคารกลางเอเชียส่วนใหญ่ลดรอบการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ หนุนการแข็งค่าของสกุลเงินในภูมิภาคเล็กน้อย
ค่าเงินบาท อ่อนค่าขึ้นทดสอบแนวต้านอีกครั้งที่ 33.970 บาทต่อดอลลาร์