💎 ดูบริษัทต่าง ๆ ที่มีสุขภาพทางการเงินที่ดีที่สุดในตลาดปัจจุบันเริ่มต้นเลย

ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 34.46 อ่อนค่าตามภูมิภาค ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐหนุนดอลลาร์แข็งค่า

เผยแพร่ 18/04/2566 16:32
© Reuters.  ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 34.46 อ่อนค่าตามภูมิภาค ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐหนุนดอลลาร์แข็งค่า

InfoQuest - นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ระดับ 34.46 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจาก เย็นวานที่ปิดตลาดที่ระดับ 34.37 บาท/ดอลลาร์ เช้านี้เงินบาทอ่อนค่าตามสกุลเงินในภูมิภาค หลังจากที่เมื่อคืนตัวเลขดัชนีตลาดที่อยู่อาศัยเดือนเม.ย.จากสมาคมผู้สร้างบ้าน แห่งชาติ (NAHB) ออกมาดีกว่าที่ตลาดคาดไว้ และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐที่ดีดตัวขึ้นเมื่อคืนนี้ ทำให้ดอลลาร์แข็งค่าเมื่อเทียบกับเงิน สกุลอื่นๆ โดยวันนี้ นักลงทุนรอดูการประกาศตัวเลข GDP ไตรมาส 1 ของจีน และตัวเลขการเริ่มสร้างบ้านและการอนุญาตก่อสร้าง เดือนมี.ค.ของสหรัฐฯ คืนนี้ นักบริหารเงิน คาดว่า วันนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 3435-34.60 บาท/ดอลลาร์ THAI BAHT FIX 3M (17 เม.ย.) อยู่ที่ระดับ 1.76512% ส่วน THAI BAHT FIX 6M อยู่ที่ระดับ 1.94310% SPOT ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 34.47000 บาท/ดอลลาร์

* ปัจจัยสำคัญ

- เงินเยนอยู่ที่ระดับ 134.51 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานที่ระดับ 134.05 เยน/ดอลลาร์ - เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0932 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานที่ระดับ 1.0977 ดอลลาร์/ยูโร - อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของ ธปท.อยู่ที่ระดับ 34.342 บาท/ดอลลาร์ - "ธนาคารกรุงไทย" ลุยปล่อยสินเชื่อดิจิทัล ตั้งเป้าปีนี้แตะ "หมื่นล้าน" จากปัจจุบันปล่อยแล้ว 5 พันล้าน ผ่านแอป "กรุง ไทยเน็กซ์-เป๋าตัง" เจาะกลุ่มที่ยังเข้าไม่ถึงบริการทางเงิน "ธปท." เผย "แบงก์-นอนแบงก์" แห่ขอไลเซนส์คึกคัก อยู่ระหว่างพิจารณา เพิ่มอีก 3 ราย จากอนุมัติไปแล้ว 9 ราย - สธ.วาง 3 มาตรการสกัด โควิดระบาดหลังสงกรานต์ ระบุสายพันธุ์หลักในไทยเป็น "XBB" ส่วนสายพันธุ์ ย่อย "XBB.1.16" พบเพิ่มขึ้นทั่วโลก แนวโน้มเป็นตัวหลัก ยังไม่รุนแรง "อนุทิน" กำชับปลัด สธ.เกาะติด "คลัสเตอร์" ชวนประชาชนฉีด เข็มกระตุ้น มั่นใจยา-ทีมแพทย์พร้อม - องค์การอนามัยโลก (WHO) เปิดเผยว่า ไวรัสโอมิครอนสายพันธุ์ XBB.1.16 เป็นไวรัสที่ต้องจับตามอง หลังพบการแพร่ ระบาดใน 29 ประเทศ โดยอัตราผู้ติดเชื้อไวรัสดังกล่าวได้เพิ่มขึ้นอย่างมากในอินเดีย โดย WHO ระบุว่า ผลการศึกษาพบว่า ไวรัสสาย พันธุ์ XBB.1.16 มีอัตราการขยายตัวที่มากกว่าสายพันธุ์ XBB.1.5 แต่มีความสามารถในการหลบหลีกภูมิคุ้มกันเท่ากับสายพันธุ์ XBB.1.5 - กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เปิดเผยว่า จีนจะเป็นประเทศที่มีส่วนช่วยสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก มากที่สุดในช่วง 5 ปีข้างหน้า โดยเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าของสหรัฐ - สำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS) รายงานในวันนี้ว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ขยายตัว 4.5% ในไตร มาส 1/2566 เมื่อเทียบเป็นรายปี ซึ่งแข็งแกร่งกว่าที่นักวิเคราะห์ในโพลสำรวจของสำนักข่าวรอยเตอร์คาดไว้ว่าจะขยายตัว 4% หลังจาก ที่มีการขยายตัว 2.9% ในไตรมาส 4/2565 - ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาแอตแลนตาเปิดเผยว่า แบบจำลองคาดการณ์ GDPNow ล่าสุดแสดงให้เห็นว่า เศรษฐกิจ สหรัฐขยายตัว 2.5% ในไตรมาส 1/2566 เพิ่มขึ้นจากคาดการณ์ก่อนหน้านี้ที่ระดับ 2.2% - ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันจันทร์ (17 เม. ย.) โดยดอลลาร์ปรับตัวตามทิศทางอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐที่ดีดตัวขึ้นเมื่อคืนนี้ ท่ามกลางการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ - สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลบในวันจันทร์ (17 เม.ย.) เนื่องจากการแข็งค่าของดอลลาร์ และแนวโน้มการปรับขึ้น อัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่องของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เป็นปัจจัยกดดันตลาด - นักลงทุนเพิ่มน้ำหนักการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% ในการประชุมเดือน พ.ค. หลังการเปิดเผยรายงานการประชุมของเฟดและตัวเลขเงินเฟ้อเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ล่าสุด FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า นักลงทุนให้น้ำหนัก 88.1% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% สู่ ระดับ 5.00-5.25% ในการประชุมวันที่ 2-3 พ.ค. และให้น้ำหนักเพียง 11.9% ที่เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 4.75-5.00% - ข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญสหรัฐในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ตัวเลขการเริ่มสร้างบ้านและการอนุญาตก่อสร้างเดือนมี.ค., จำนวนผู้ขอรับ สวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ยอดขายบ้านมือสองเดือนมี.ค., ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตและภาคบริการขั้นต้นเดือน เม.ย.จากเอสแอนด์พี โกลบอล - นักลงทุนจับตาดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ที่จะมีการเปิดเผยในวันที่ 28 เม.ย. โดยดัชนีดัง กล่าวเป็นข้อมูลเงินเฟ้อสำคัญตัวสุดท้ายก่อนที่เฟดจะจัดการประชุมนโยบายการเงินในวันที่ 2-3 พ.ค. ทั้งนี้ ดัชนี PCE ถือเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อที่เฟดให้ความสำคัญ โดยสามารถตรวจจับการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมของผู้บริโภค และครอบคลุมราคาสินค้าและบริการในวงกว้างมากกว่าดัชนี CPI

กดอ่านข่าวต้นฉบับจาก InfoQuest

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย