มหกรรมลดราคา Black Friday เริ่มต้นขึ้นแล้ว ตอนนี้! ห้ามพลาดกับส่วนลดสูงสุดถึง 60% InvestingProรับส่วนลด

ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 33.65 อ่อนค่าสอดคล้องภูมิภาค นลท.เกาะติดเงินเฟ้อสหรัฐสัปดาห์หน้า

เผยแพร่ 10/02/2566 16:19
© Reuters.  ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 33.65 อ่อนค่าสอดคล้องภูมิภาค นลท.เกาะติดเงินเฟ้อสหรัฐสัปดาห์หน้า

InfoQuest - นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 33.65 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจากปิด ตลาดเย็นวานนี้ที่ระดับ 33.47/48 บาท/ดอลลาร์ ด้านสกลุเงินในภูมิภาคอ่อนค่าเช่นเดียวกับเงินบาท นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 33.50 - 33.75 บาท/ดอลลาร์ ภาพใหญ่ตลาด รอดูตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯ สัปดาห์หน้า คือ ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนม.ค. THAI BAHT FIX 3M (9 ก.พ.) อยู่ที่ระดับ 1.18028% ส่วน THAI BAHT FIX 6M อยู่ที่ระดับ 1.45999% SPOT ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 33.71000 บาท/ดอลลาร์

* ปัจจัยสำคัญ

- เงินเยนอยู่ที่ระดับ 131.75 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 130.96/99 เยน/ดอลลาร์ - เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0730 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.0756/0759 ดอลลาร์/ยูโร - อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของ ธปท.อยู่ที่ระดับ 33.531 บาท/ดอลลาร์ - "ศุภชัย" เตือนไทยรับมือ "โพลีไครซิส" ชี้โลกตื่นตัวความตึงเครียดจากปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ สงคราม เงินเฟ้อ และสภาพ ภูมิอากาศ พร้อมแนะเตรียมแผนรับมือ "พลังงาน-โลกร้อน" เตือนไทยต้องพยายามสู้บนเวทีโลก ไม่ขึ้นดอกเบี้ยแรงตามสหรัฐ แนะเร่งดึง การลงทุนให้ถึง 20% ของจีดีพี รักษาตำแหน่งผู้นำการผลิตอาหารโลก - "สมาคมโรงแรมไทย" แนะ นายกฯ คนใหม่เร่งเกียร์เศรษฐกิจไทย กำกับ "ภาคท่องเที่ยว" ยกเป็น "วาระแห่งชาติ" พุ่งเป้า ทัวริสต์ต่างชาติ 80 ล้านคนเทียบ "ฝรั่งเศส" ใน 5 ปีข้างหน้า "บำรุงราษฎร์" เผยตลาด "เมดิคัล ทัวริสต์ซึ่ม" ทั่วโลกสะพัด กว่า 53 ล้านดอลลาร์ ตลาด "เวลเนสส์" คาดโตพุ่ง 7 ล้านล้านล้านดอลลาร์ แนะดันทั้ง 2 เซ็กเมนต์ เคลื่อนเศรษฐกิจไทย "หอการค้า ไทย" เผยส่งออกอาหารไทยยังสดใส มีศักยภาพ ผลิตอาหารตอบโจทย์เทรนด์โลก - ประธานกรรมการสภาธุรกิจตลาดทุนไทย เปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุน ผลสำรวจ เดือน ม.ค.66 พบว่า ดัชนีความ เชื่อมั่นนักลงทุนในอีก 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ระดับ 160.07 เพิ่มขึ้น 31.5% จากเดือนก่อนเข้าสู่เกณฑ์ "ร้อนแรงอย่างมาก" นักลงทุนมอง ว่าการฟื้นตัวของภาคท่องเที่ยว เป็นปัจจัยหนุนความเชื่อมั่นต่อตลาดหุ้นไทยมากที่สุด ตามด้วยเงินทุนไหลเข้าและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจใน ประเทศ ส่วนปัจจัยที่ฉุดความเชื่อมั่นนักลงทุนมากที่สุด ได้แก่ ความขัดแย้งระหว่างประเทศ นโยบายการขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลาง สหรัฐฯ (FED) และการจัดเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะจากการขายหลักทรัพย์ - กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกเพิ่มขึ้น 13,000 ราย สู่ระดับ 196,000 รายใน สัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 190,000 ราย ส่วนจำนวนชาวอเมริกันที่ยังคงขอรับสวัสดิการว่างงานต่อเนื่อง เพิ่มขึ้น 38,000 ราย สู่ระดับ 1.688 ล้านราย - เจ้าหน้าที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) 4 คนได้ออกมาสนับสนุนให้เฟดเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย โดยหนึ่งในผู้ว่าการ เฟดกล่าวว่า ภารกิจของเฟดในการต่อสู้กับเงินเฟ้อยังไม่จบ ซึ่งทำให้เฟดจำเป็นต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไป เพื่อสร้างความเชื่อมั่นว่า แรงกดดันด้านเงินเฟ้อจะชะลอตัวลง - ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันพฤหัสบดี (9 ก. พ.) หลังจากสหรัฐเปิดเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานสูงกว่าคาด ซึ่งคาดว่าจะเป็นปัจจัยสนับสนุนให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ขณะที่นักลงทุนจับตาการเปิดเผยตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐในสัปดาห์หน้า - สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลบในวันพฤหัสบดี (9 ก.พ.) เนื่องจากนักลงทุนเทขายทำกำไรหลังจากสัญญาทองคำพุ่งขึ้น ทะลุระดับ 1,900 ดอลลาร์ในระหว่างวัน นอกจากนี้ ตลาดยังถูกกดดันจากการที่เจ้าหน้าที่หลายคนของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ออก มาสนับสนุนให้เฟดเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ - นักลงทุนจับตาการเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ในสัปดาห์หน้า รวมทั้งถ้อยแถลงของเจ้าหน้าที่เฟดเพื่อหาสัญญาณบ่งชี้ ทิศทางอัตราดอกเบี้ยของเฟด

กดอ่านข่าวต้นฉบับจาก InfoQuest

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย